ความร้อนยวดยิ่ง (superheat) |
|
|

ซูเปอร์ฮีท(superheat)
ในสภาวะซูเปอร์ฮีท น้ำจะไม่เดือด แม้อุณหภูมิจะถึงจุดเดือด 100 0 c หรือ 212 0 F แล้วก็ตาม แต่การจะทำให้น้ำเดือดได้จะต้องทำให้มีฟองอากาศเกิดขึ้น การกระตุ้นให้เกิดฟองขึ้นภายในของเหลว เราเรียกว่า ปฏิกิริยานิวคลีเอชั่น (nucleation) ถ้าไม่มีการนิวคลีเอชั่น น้ำจะไม่มีการเดือดแม้จะร้อนเท่าไรก็ตาม
นิวคลีเอชั่นจะเกิดขึ้นภายในภาชนะที่ใช้บรรจุของเหลวนั้น ยิ่งผิวขรุขระโอกาสจะเกิดก็ยิ่งมีมาก ดังนั้นภาชนะบรรจุที่ผิวเรียบจึงไม่ค่อยจะเกิดการนิวคลีเอชั่น ดังเช่น ภาชนะที่ทำจากแก้วเมื่อบรรจุน้ำและนำไปใส่ไว้ในเตาไมโครเวฟ แม้จะร้อนกว่า 100 องศาแล้วก็ตามน้ำก็ยังไม่เดือด ไม่มีการระเหยเกิดขึ้น แต่ถ้าร้อนมากเลยถึงจุดหนึ่งก็เดือดได้
ในสภาวะซุปเปอร์ฮีท มีอันตรายมาก เพราะว่าน้ำพร้อมจะเดือดตลอดเวลา เพียงไปกระตุ้นให้เกิดนิวคลีเอชั่นเท่านั้น เช่นเมื่อคุณเอาน้ำที่อยู่ในสภาวะซุปเปอร์ฮีทออกจาไมโครเวฟ และใช้ช้อนส้อมใส่ลงไปในถ้วย มันจะเกิดฟองขึ้นทันทีทันใด และทำให้น้ำระเบิดขึ้น
ภาพต่อเนื่องของการโยนช้อนลงไป โดยมีเวลาแตกต่างกัน 1/30 วินาที ถ้าคุณต้องการดูภาพเคลื่อนไหว ให้ดูได้จากโปรแกรม real player โดยดูจากการทดลอง (คุณภาพพอใช้ได้ 749 KB) (คุณภาพดี 5.5 MB) หลังจากการทดลองที่ 13 คุณจะเห็นการระเบิดที่รุนแรง ซึ่งถ้าคุณจะทดลองเองให้ระมัดระวังให้มาก และไม่ควรใช้น้ำปริมาณมากๆ
   
|