การทำและการวัดประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ |
|
|
คลิกดูวีดีโอค่ะ
หลักการทำงาน
หลักการทำงานส่วนประกอบของเซลล์
การทำและการวัดประสิทธิภาพของเซลล์
วิวัฒนาการของ organic photovoltaics และตัวตรวจจับแสง (photodetectors) เริ่มขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 ด้วยการค้นพบของ dispersed heterojunction ที่ซึ่งสารที่รับและให้อิเล็กตรอนอยู่รวมกัน ถ้าระดับการผสมใกล้เคียงกับระยะของการแพร่ของ exiton (1-10 nm) ไม่ว่าแสงสร้าง exiton ขึ้นที่ไหนก็ตาม ส่วนใหญ่มันจะแพร่ไปที่บริเวณรอยต่อระหว่างเฟสและแตกตัว แต่ถ้าเป็นระยะต่อเนื่อง ตัวที่พาแต่ละประจุเดินทางไปที่ผิวสัมผัสและส่งกระแสยังวงจรข้างนอก(Nelson J., Materialstoday, 2002.) ขณะนี้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงนับว่าเป็นเครื่องมือที่น่านำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดที่สร้างมาจากวัสดุจำพวกคอมโพสิตอินทรีย์-อนินทรีย์ ภายในเซลล์จำลองการสังเคราะห์แสงของพืช สร้างขึ้นมาได้ง่ายจากวัตถุดิบราคาถูกและมีประสิทธิภาพมากกว่า 10% (Gratzel M., J. of Sol-Gel Sci. and Tech., 2001. and Cass M. J., J. Phys. Chem. B, 2003.)
หลักการทำงาน
ในเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง ประกอบด้วยสาร 4 อย่าง
-
สีอินทรีย์ ทำหน้าที่เป็นตัวดูดกลืนแสง
-
ฟิล์มของผลึกระดับนาโนของโลหะออกไซด์ (MO) ทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายเทอิเล็กตรอน
-
สารของเหลวหรือของแข็งที่ทำหน้าที่ส่งผ่านโดยใช้ hole (HTM)
-
ขั้วอิเล็กโทรดด้านหน้าและหลัง
คลิกอ่านต่อครับ
|