ทฤษฎีไร้ระเบียบ พลิกมุมมองต่อโลกธรรมชาติสู่กระแสวิทยาศาสตร์ใหม่ |
|
|
หน้า 203 จาก 206
หน้า 203
คำอธิบายภาพ
หน้า ๑๐
แสดงภาพให้เห็นถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงสองลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงแบบปกติหรือคาดการณ์ได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงจากทารกไปเป็นเด็ก และโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ จนกระทั่งถึงวัยชรา
อีกลักษณะของการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเถ้าหรือเน่าเปื่อย จนไม่อาจจะคาดเดาลักษณะที่จะเปลี่ยนไปได้
หน้า ๒๔
แสดงภาพของเรขาคณิตเสี้ยวส่วน และความไร้ระเบียบในธรรมชาติใกล้ตัวเรานั่นคือ เกล็ดหิมะ จะมีลักษณะของเรขาคณิตเสี้ยวส่วน ส่วนเส้นแสดงความดันบนแผนที่สภาพภูมิอากาศ จะไม่สามารถคาดเดาลักษณะในเวลาต่อมาได้ เพราะความไม่แน่นอนเพียงเล็กน้อยในสภาพอากาศปัจจุบัน จะส่งผลให้เกิดความแตกต่างของลักษณะของเส้นเหล่านี้ได้อย่างมากมาย
หน้า ๒๖
แสดงภาพให้เห็นถึงเส้นกราฟสองเส้น ลักษณะคล้ายคลื่นที่เริ่มต้นที่จุดล่างซ้ายขึ้นไปยังด้านบนขวามือ กราฟทั้งสองมีความแตกต่าง ณ จุดเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเส้นกราฟดำเนินต่อไปยังด้านบนขวา จะเห็นความแตกต่างที่มากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมีลักษณะตรงข้ามกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว ในสภาพนี้เรียกว่า สภาพไร้ระเบียบ หรือ chaos
หน้า ๕๙
แสดงลักษณะกึ่งคาบของการเคลื่อนไหว ภาพประกอบไปด้วยเส้นโค้งแสดงการเคลื่อนไหวสามเส้น เส้นด้านใน เส้นระหว่างกลาง และเส้นด้านนอก เส้นระหว่างกลางจะเป็นเส้นแสดงการเคลื่อนไหวแบบมีคาบ กล่าวคือ มีการเคลื่อนที่แบบคาบรอบซ้ำรอยเดิมในขณะที่เส้นด้านในและเส้นด้านนอกจะไม่ซ้ำรอยเดิม แต่มีเส้นทางที่ใกล้เคียงกับเส้นที่มีคาบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีลักษณะการเคลื่อนที่เกือบซ้ำรอยเดิม ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบกึ่งคาบ
|