หน้า 1 จาก 4 1. การหักเหของแสงและการเกิดสีรุ้ง
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางซึ่งเปลี่ยนชนิดไป แสงจะเกิดการหักเหขึ้น ตามกฎของเสนลล์ ( Snell's Law) ค่าดัชนีการหักเหของแสงจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่แสงนั้นผ่านเข้าไป ซึ่งจะทำให้มุมการหักเหของแสงนั้นไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างในรูปที่ 1 เป็นการเปรียบเทียบมุมการหักเหของแสงในแก้ว และในอากาศซึ่งจะเห็นได้ว่าแก้วสามารถหักเหแสงได้มากกว่าน้ำ ซึ่งค่าดัชนีการหักเหของแก้วก็จะมากกว่าน้ำตามไปด้วย

รูปที่ 1 ลักษณะการหักเหของแสงที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางผ่านแก้ว และน้ำ [1]
ยิ่งไปกว่านั้น แสงซึ่งมีช่วงความยาวคลื่นต่างกัน จะมีมุมของการหักเหที่ต่างกัน ตัวอย่างซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือปริซึม ( Prism) เมื่อแสงสีขาวเดินทางผ่านแท่งปริซึม แสงที่ออกมาจากปริซึมจะมีสีที่ต่างกันออกไปดังแสดงในรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสงสีขาวซึ่งส่องผ่านปริซึมจะถูกแยกสีออกมาได้หลายสี [1]
และเมื่อทำการในช่วงแสงซึ่งตาเราสามารถเห็นได้ (แดงไปจนถึงน้ำเงิน) ดัชนีการหักเหของแสงซึ่งมีช่วงความยาวคลื่นต่างกันในวัสดุต่างชนิดกันจะมีค่าซึ่งแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีการหักเหของแสงในวัสดุต่างชนิดกัน และในช่วงความยาวคลื่นของแสงที่ต่างกัน [1]
วัสดุ
|
แดง
( 656.3 นาโนเมตร)
|
เหลือง
( 589.3 นาโนเมตร)
|
น้ำเงิน
( 486.1 นาโนเมตร)
|
แก้ว คราวน์
|
1.515
|
1.517
|
1.524
|
แก้ว ฟลินท์
|
1.622
|
1.627
|
1.639
|
น้ำ
|
1.331
|
1.333
|
1.337
|
คาร์บอน ไดซัลไฟด์
|
1.618
|
1.628
|
1.652
|
|
<< หน้าแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 ถัดไป > สุดท้าย >> |