ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรขึ้นอยู่กับลักษณะของอุปกรณ์ในวงจร และแรงเคลื่อนไฟฟ้า ความต้านทานของอุปกรณ์ต่างๆ สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นล้วนแต่มีผลต่อกระแสไฟฟ้าในวงจร
กฏของโอห์ม กล่าวว่ากระแสไฟฟ้าในวัตถุ ณ อุณหภูมิคงที่ เป็นสัดส่วนกับความต่างศักย์ไฟฟ้าคล่อมวัตถุนั้น อัตราส่วนระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กับกระแสไฟฟ้าคือความต้านทานของวัตถุ ทั้งนี้วัตถุนั้นจะต้องมีอุณหภูมิคงที่เมื่อใช้กฏของโอห์ม เพราะว่ากระแสไฟฟ้าจะทำให้วัตถุร้อน ซึ่งจะทำให้ความต้านทานเปลี่ยนไป กฏของโอห์มใช้ไม่ได้กับวัตถุบางชนิด เช่น สารกึ่งตัวนำ
ความต้านทาน (Resisance(R)) เป็นความสามารถของวัตถุในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าค่าของความต้านทาน ขึ้นอยู่กับ สภาพต้านทาน ของสารที่เป็นส่านประกอบของของวัตถุและรูปร่าง ของวัตถุ หน่วยของความต้านทานคือ โอห์ม เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ในวัตถุจะชนอะตอมและมอบพลังงานให้ทำให้วัตถุร้อน เป็นการใช้พลังงานจากแหล่งแรงเคลื่อนไฟฟ้า

สภาพต้านทาน (Resistivity) เป็นความสามารถของสารในการต้านกระแสไฟฟ้า ตัวนำที่ดีมีค่าสภาพต้านทานต่ำ ฉนวนมีสภาพต้านทานสูง สภาพต้านทานแปรผกผันกับสภาพนำของสาร และมีค่าเพิ่มตามอุณหภูมิ
ตัวต้านทาน (Resistor) เป็นอุปกรณ์ที่มีค่า ความต้านทาน ตามต้องการ ใช้สำหรับสร้าง ควาต่างศักย์ไฟฟ้าที่ต้องการ ตัวต้านทานมีค่าตั้งแต่น้อยกว่า 1 โอห์มไปจนถึงหลายๆล้านโอห์ม ตัวต้านทานที่พบเห็นมากที่สุดคือ ตัวต้านทานคาร์บอน ทำด้วยผงคาร์บอนอัดซึ่งรู้ค่าสภาพต้านทาน
สภาพนำไฟฟ้า (Conductivity) เป็นความสามารถของสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน สภาพนำไฟฟ้าแปรผกผันกับสภาพต้านทาน
ความต้านทานภายใน (Internal resistance) คือความต้านทานของเซลล์ไฟฟ้า หรือ แบตเตอรี่ ต่อกระแสไฟฟ้าที่ผ่าน เป็นความต้านทานภายในเซลล์เนื่องจากข้อต่อภายในและผลของสารเคมี (เช่น การเกิดโพราไรเซชั่น) ทำให้กระแสไฟฟ้าในวงจรมีค่าน้อยกว่าที่คาดหวัง
ตัวแบ่งศักย์ไฟฟ้า หรือ ตัวแบ่งโวลเตจ (Potential divider sinv Voltage divider) เป็นอุปกรณ์สำหรับสร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดที่มีความต่างศักย์สูง
กฏของเคอร์ชอฟฟ์ ประกอบด้วย 2 กฏ ซึ่งสรุปสภาพการไหลของกระแสไฟฟ้าขณะใดขณะหนึ่งกฏข้อแรกกล่าวว่า กระแสรวมที่ไหลเข้าไปยังข้อต่อหนึ่งมีค่าเท่ากับกระแสรวมที่ไหลออกจากข้อต่อนั้น
กฏข้อที่ 2 กล่าวว่าผลรวมของผลคูณระหว่างกระแสไฟฟ้า และความต้านทาน ของแต่ละส่วนในวงจรมีค่าเท่ากับแรงเคลื่อนไฟฟ้า ในวงจรนั้น
ตัวต้านทานแปลี่ยนค่าได้ (Variable resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ความต้่านทานเปลี่ยนได้โดย การเลื่อนจุดสัมผัส มีลักษณะเป็นขดลวดรอบแกนหรือแผ่นโค้ง ซึ่งมีจุดสัมผัสแตะอยู่ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้สามารถใช้เป็นตัวแบ่งศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า โพเทนชิออมิเตอร์
วีตสโตนบริดจ์ (Wheatstone bridge) เป็นวงจรที่ใช้วัด ความต้านทาน เมื่อเข็ม แกนแวนอมิเตอร์ชี้เลข 0 จะสามารถคำนวนความต้านทานที่ไม่รู้ค่าได้ จากตัวต้านทานที่รู้ค่าอีก 3 ตัว
มิเตอร์บริดจ์ เป็นวงจรวีตสโตนบริดจ์ ชนิดหนึ่งซึ่งแทนตัวต้านทานที่รู้ค่า 2 ตัวด้วยเส้นลวดความต้านทานสูงยาว 1 เมตร จุดแตะที่เส้นลวดนี้ต่อกับแกลแวนอมิเตอร์
Create by sudarat Keawmaneewan Classroom 5/2
Thaplaprachauthis School Province Uttradit
|