หน้า 4 จาก 10
สัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์
ในช่วงศตวรรษที่ 19 แม็กซเวลซ์ ได้ค้นพบทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า
สมการของแม็กซ์เวลซ์ทั้ง 4 สมการบอกเราว่า
- เคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นการสั่นของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
- ความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีค่าคงที่ ในสุญญากาศ มีค่าเท่ากับ
การค้นพบของแม็กซเวลซ์สร้างความสงสัยให้กับนักฟิสิกส์สมัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่ว่า …คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้อย่างไร? เพราะตามความเข้าใจของนักฟิสิกส์สมัยนั้น คลื่นทุกชนิดต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ แต่เนื่องจากนิยามของสุญญากาศ (Vacuum) คือบริเวณที่ไม่มีอะไรเลย ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วอะไรเป็นตัวกลางให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ตัวกลางอะไรที่สั่น)
Maxwell เสนอว่าตัวกลางที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่คือ อีเทอร์ (Aether)
- อวกาศไม่ได้เป็นที่ว่าง ที่บรรจุเต็มด้วยอีเทอร์
- เคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่โดยมีการสั่นของตัวกลางคือ อีเทอร์
นักฟิสิกส์หลายต่อหลายคนพยายามทดลองหา อีเทอร์ …. แต่ไม่มีใครพบ
นิสิตอ่านประวัติการทดลองได้ในหนังสือฟิสิกส์ 2 เช่น การทดลองของ Michelson ที่พยายามใช้ Interferometer วัดการเคลื่อนที่ของโลกผ่านอีเทอร์
Michelson คาดว่าจะเห็นการแทรกสอด และ จะวัดอัตราเร็วของโลกที่เคลื่อนผ่านอีเทอร์ แต่ …เขาไม่พบปรากฏการณ์ดังกล่าว มีอีกหลายการทดลองที่พยายามแก้ข้อผิดพลาดของ Michelson แต่ก็ไม่มีใครตรวจพบอีเทอร์
จวบจนกระทั่งไอน์สไตน์ได้เสนอแนวคิดใหม่ในปี ค.ศ. 1905
-ไม่มีอีเทอร์
- อัตราเร็วแสงในสุญญากาศมีค่าคงที่สำหรับทุกๆผู้สังเกต
นับจากนั้นทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษก็ถือกำเนิดขึ้น …
สัจพจน์ (Postulates) ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
1. กฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์เหมือนกันในทุกๆกรอบอ้างอิงเฉื่อย (สัมพัทธภาพแบบกาลิเลโอ)
2. อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศมีค่าคงที่สำหรับทุกๆผู้สังเกต ( )
กรอบอ้างอิงเฉื่อย (Inertial reference frame)
• ผู้สังเกตไม่จำเป็นต้องอยู่นิ่ง อาจจะเคลื่อนที่ก็ได้ เราเรียกผู้สังเกตที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ว่า อยู่ในกรอบอ้างอิงเฉื่อย
• ในสัมพัทธภาพพิเศษส่วนใหญ่เราจะพิจารณาผู้สังเกตในกรอบอ้างเฉื่อย
• ความเร่ง = แรงโน้มถ่วง เป็นเนื้อหาของ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
รอเรียนในชั้นปี 4 …มีสอนในภาควิชาฟิสิกส์ หรือ มาคุยกับผมนอกชั่วโมงเรียน …
การคงที่ของอัตราเร็วแสงกับความสมบูรณ์ของเวลา
ในตอนที่ผ่านมาผมได้กล่าวไว้ว่า กลศาสตร์แบบนิวตัน และสัมพัทธภาพแบบกาลิเลโอนั้น เวลาถือว่าเป็นสิ่งสมบูรณ์ คือสำหรับทุกๆผู้สังเกตเวลาจะเดินไปด้วยอัตราเร็วที่เท่ากัน หนึ่งวินาทีของผู้สังเกตคนหนึ่งก็จะมีช่วงเวลาที่ยาวนานเท่ากับหนึ่งวินาทีของผู้สังเกตคนอื่นๆ แต่ในตอนนี้เราจะแสดงให้เห็นว่า ผลจากสัจพจน์ของสัมพัทธภาพพิเศษจะทำให้เวลาไม่ใช่สิ่งสมบูรณ์อีกต่อไป
พิจารณาผู้สังเกต และ ที่อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆโดยใช้ coordinates และ ตามลำดับ
สมมุติว่ากรอบอ้างอิง อยู่นิ่ง และผู้สังเกตในกรอบนี้ตรวจพบว่ามีหลอดไฟดวงหนึ่งวางอยู่ที่ตำแหน่ง , และ และมีเครื่องตรวจวัดแสงวางอยู่ที่พิกัด ถ้าหลอดไฟดังกล่าวกระพริบแสงออกมาชั่วขณะหนึ่ง คลื่นแสงที่ออกมามีหน้าคลื่นเป็นผิวของทรงกลม ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเท่ากับ (ดูจากด้านซ้ายของภาพข้างบน) ให้คลื่นแสงนี้ถูกปล่อยออกจากหลอดไฟเวลา และเคลื่อนที่มากระทบกับเครื่องวัดแสงเมื่อเวลา วินาที
สำหรับผู้สังเกต ระยะทางที่แสงเคลื่อนที่ได้ในช่วงเวลา คือ
ขนาดของระยะทาง (ลูกศรสีดำ) ในกรอบอ้างอิงนี้มีจะค่าเท่ากับ
หรือจัดรูปใหม่ได้เป็น
สมมุติให้ผู้สังเกต ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ในทิศทาง เทียบกับ เห็นหลอดไฟวางอยู่ที่ตำแหน่ง , และ และเครื่องตรวจวัดแสงวางอยู่ที่ตำแหน่ง เพื่อความสะดวกสมมุติให้เขาเห็นคลื่นแสงถูกปล่อยออกจากหลอดไฟเวลา และเคลื่อนที่มากระทบกับเครื่องวัดแสงเมื่อเวลา วินาที (รูปขวามือของภาพข้างบน)
เราจะได้ว่าผู้สังเกตในกรอบ จะวัดระยะทางที่แสงวิ่งได้ในช่วงเวลา ได้เป็น 
ระยะทางที่แสงเคลือนที่วัดโดยผู้สังเกตในกรอบอ้างอิงนี้ (ลูกศรสีดำ) มีค่าเท่ากับ
หรือ
จากการแปลงแบบกาลิเลโอ (Galilian transformation) เราพบว่า
, ,
ซึ่งถ้านำไปแทนค่าในสมการ (2) แล้วนำด้านซ้ายของสมการ (1) และ (2) เปรียบเทียบกันเราจะพบว่า
ซึ่งเราจะสรุปได้ว่า และถ้ากำหนดว่าอัตราเร็วของแสงในทั้งสองกรอบอ้างอิงมีค่าเท่ากันเราจะได้ว่า 
นั่นคือผู้สังเกตทั้งสองเห็นเหตุการณ์เดียวกันที่เวลาต่างกัน (เหตุการณ์ที่แสงเคลื่อนที่ถึงเครื่องวัด) หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เวลาไม่ใช่สิ่งสมบูรณ์ อีกต่อไป
เพื่อความสอดคล้องกันของผู้สังเกตทั้งสองคน จาก (1) และ (2) เราจะได้ว่า
ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเรากำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างพิกัดในกรอบอ้างอิงทั้งสองเป็นไปตาม
|