เครดิต เว็ป atcloud
http://atcloud.com/stories/74043อะไรคือปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue moon)
เรา รู้ๆ กันอยู่แล้วว่าพระจันทร์นั้นมีข้างขึ้น-ข้างแรม (The Moon’s Phases) ข้างขึ้นก็คือพระจันทร์จากมืดสุดจะค่อยๆ สว่างขึ้นจนเต็มดวงที่สุดในวันขึ้น 15 ค่ำ และจะค่อยๆ เว้าแหว่งมืดลงในข้างแรม จนดับมืดสุดในวันแรม 15 ค่ำ
ดัง นั้นในแต่ละเดือน เราจะเห็นพระจันทร์เต็มดวงเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นเอง (เลยทำให้มนูษย์หมาป่า มีเวลาได้แปลงร่างออกมาเดินเพ่นพ่านได้เดือนละหน

ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น-ข้างแรมนั้นเกิดจากพระจันทร์หมุนโคจรรอบโลก เนื่องจากพระจันทร์นั้นไม่มีแสงในตัวเอง การที่เราเห็นแสงจันทร์นั้นเพราะพระจันทร์สะท้อนแสงของพระอาทิตย์มาเข้าตา ของเรา ดังนั้นในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่กลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เราจึงมองไม่เห็นแสงสะท้อนนั้น ทำให้เห็นเป็นเดือนดับ และเมื่อดวงจันทร์โคจรไปอยู่ด้านหลังของโลก จะได้รับแสงสะท้อนจากพระอาทิตย์เต็มๆ ดวง เลยทำให้เห็นเป็นจันทร์เพ็ญพระจันทร์เต็มดวงนั่นเอง
อาจจะงงๆ ว่ามันเหมือนกับการเกิดสุริยคราสและจันทรคราสนะ ไปหาอ่านเพิ่มเติมกันเอาเองละกัน เรื่องข้างขึ้นข้างแรม

ที นี้การที่พระจันทร์หมุนโคจรรอบโลก 1 รอบที่เรานับเป็น 1 เดือนนั้น ที่จริงแล้วพระจันทร์ใช้เวลาประมาณ 29.53 วันต่อรอบ ดังนั้นเมื่อเราใช้ปฏิทินแบบสุริยคติ ที่เดือนหนึ่งมี 30-31 วัน จึงเกิดการเหลื่อมของเวลาขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ สองปีครึ่งเราก็จะพบกับเดือนที่มีจันทร์เพ็ญ 2 ครั้งคือช่วงต้นเดือนกับช่วงปลายเดือน เราเรียกจันทร์เพ็ญครั้งที่ 2 ในรอบเดือนนั้นว่า “ปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน” (Blue moon) นั่นเอง
และ รู้ไหมว่าในทุกๆ 19 ปี จะมีปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน 2 ครั้งซ้อนใน 1 ปี ครั้งที่ผ่านมาคือ ค.ศ.1999 (พ.ศ.2542) รอบต่อไปก็คือปี ค.ศ.2018 (พ.ศ.2561) รอไปอีก 9 ปีแน่ะ ^^'
แถมอีกนิดว่าทุกๆ 20 ปี ปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน จะตรงกับวันส่งท้ายปีเก่า (New Year’s Eve) ซึ่งตรงกับปีนี้พอดี
