สิงหาคม 13, 2022, 07:50:53 am
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว
:
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
ปฏิทิน
สมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
RmutPhysics.com
>
หมวดหมู่ทั่วไป
>
อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
>
ไตรแอก triac
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: ไตรแอก triac (อ่าน 11784 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
ไตรแอก triac
«
เมื่อ:
ตุลาคม 21, 2009, 02:37:02 pm »
โพสโดย ผู้ดูแลระบบ นายสุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก
ไตรแอก triac
โครงสร้างสถาปัตย์และสัญลักษณ์ของไตรแอก
ไตรแอกเป็น ชิ้นส่วน อิเล็คทรอนิกส์ สารกึ่งตัวนำที่มีขั้วต่อ 3 ขั้ว แต่ละขั้วมีชื่อเรียกว่า A2 (แอโนด 2) , A1 (แอโนด1) และ G (เกต) ไตรแอก (Triac) จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือน กับสวิตช์ไฟฟ้าสำหรับกระแสสลับ แต่มีข้อดีกว่าสวิตช์ธรรมดา คือการเปิด – ปิดวงจรของไตรแอกเร็วกว่าสวิตช์ธรรมดาหลายเท่า จึงทำให้สามารถควบคุมกำลังงานได้ ซึ่งมีรูปแบบโครงสร้างดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงสถาปัตย์ สัญลักษณ์ และวงจรเปรียบเทียบระหว่างTriacกับSCR.gif
(2.11 KB, 443x236 - ดู 11207 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
Re: ไตรแอก triac
«
ตอบ #1 เมื่อ:
ตุลาคม 21, 2009, 02:38:19 pm »
คุณสมบัติของไตรแอก
เรามาดูคุณสมบัติของไตรแอกกัน มีคุณสมบัติคล้ายกับ SCR ตรงที่เมื่อนำกระแสแล้วก็จะนำกระแสตลอดไปเช่นกัน แต่ไตรแอกนั้นมีข้อแตกต่างตรงที่สามารถนำกระแสได้ 2 ทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นการไหลของกระแสจาก A1 มายัง A2 หรือกระแสไหลจากไหลจาก A2 มายัง A1 ดังนั้นจึงนิยมใช้ไตรแอกในงานควบคุมกำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้งานทั้งไซเกิลบวกและลบ (ไฟสลับ)
จากคุณสมบัติที่กล่าวมาในเรื่องของการนำกระแสนั้น เราจึงสามารถแบ่งการทำงานของไทรแอก ออกเป็น 4 แบบหรือ 4 ควอทเดรนท์ ( Quadrant ) ดังแสดงในรูปที่ 2
รูปที่ 2 โชว์การทำงานของไตรแอกทั้ง 4 ควอทเดรนท์.gif
(2.32 KB, 408x342 - ดู 9763 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
Re: ไตรแอก triac
«
ตอบ #2 เมื่อ:
ตุลาคม 21, 2009, 02:39:32 pm »
ดูจากรูปกราฟแสดงลักษณะสมบัติของไตรแอก เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของกระแสที่ไหลระหว่าง A2- A1 และแรงดันที่ตกคร่อมทั้งบวกและลบ ในขณะให้แรงดันคร่อม A2- A1 มีค่าเป็นบวกเทียบกับ A1 และถ้ายังไม่มีการจุดชนวน ( Trigger ) แล้ว จะมีค่าแรงดันระหว่าง A2- A1 ค่าๆหนึ่งที่ทำให้มันนำกระแสเองได้ แรงดันนี้คือแรงดันพัง เหมือนกับ SCR แต่ถ้าให้แรงดัน A2- A1 นี้มีค่าน้อยกว่าแรงดันพังทลาย แล้วการทำการจุดชนวน ที่ขาเกต ( G ) ซึ่งกระแสเกตจะมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ไตรแอกจะนำกระแสทันที กราฟความสัมพันธ์และข้อจำกัดต่างๆ จะเหมือนกับ SCR ในทำนองเดียวกันถ้าให้แรงดันที่ A1 มีค่าเป็นบวกเมื่อเทียบกับ A2 ส่วนของกราฟคือแกน X ทางด้านลบจะมีลักษณะคล้ายกันกับด้านบวก ถ้าเพิ่มแรงดันมากขึ้นจนถึงค่าแรงดันพังทลายก็จะทำให้ไตรแอกนำกระแสเองได้ และถ้าหากว่าไม่มีการจำกัดกระแสในตัวไตรแอกแล้ว ไตรแอกจะเกิดการเสียหายได้
โดยในขณะที่ไตรแอกนำกระแส ถ้าลดค่ากระแสแอโนดลงจนถึงค่ากระแสต่ำสุดที่ยังคงทำให้ไทรแอกนำกระแสได้ ค่ากระแสต่ำสุดนี้ เรียกว่า “โฮลดิ้ง” ( IH :Holding Current ) ก็จะทำให้ไตรแอกหยุดนำกระแส
เนื่องจากไตรแอก สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ทั้งสองทาง จึงเหมาะกับการนำไปใช้กับไฟสลับมากกว่าเอสซีอาร์ (SCR) และสำหรับกระแสไฟสลับ (เป็นคลื่นรูปไซน์ )จะมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งช่วงกระแสตัดกับเส้นศูนย์ของกราฟ ) ที่กระแสตกต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง ดังนั้นจึงทำให้ไตรแอกหยุดนำกระแสเองและจะรอการจุดชนวนใหม่อีกครั้ง และถ้าหากครึ่งลบของสัญญาณไฟสลับเข้ามาก็จะนำกระแสทางด้านลบอีกเช่นเคย และจะหยุดนำกระแสเมื่อค่ากระแสลดลงต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง
รูปที่ 3 ลักษณะกราฟแสดงสมบัติของไตรแอก.gif
(1.9 KB, 432x291 - ดู 9233 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
Re: ไตรแอก triac
«
ตอบ #3 เมื่อ:
ตุลาคม 21, 2009, 02:40:26 pm »
วิธีในการตรวจสอบและการหาขาของไตรแอกด้วยโอห์มมิเตอร์
โดยให้เราพิจารณาจากโครงสร้างพร้อมกับตารางค่าความต้านทานประกอบและปฏิบัติดังนี้
อันดับแรก ทำการสมมุติขาของไตรแอก เป็นขา A, B และ C หรือขาที่ 1, 2 และ 3 ดังแสดงในรูปที่ 4
รูปที่ 4 บอกสมมุติตำแหน่งขา.jpg
(2.65 KB, 77x184 - ดู 8672 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
Re: ไตรแอก triac
«
ตอบ #4 เมื่อ:
ตุลาคม 21, 2009, 02:42:21 pm »
อันดับสอง นำสายวัดของโอห์มมิเตอร์ทำการวัดที่ขาของไตรแอกเป็นคู่ๆ ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 โชว์ค่าความต้านทานต่างๆ ของไตรแอก.jpg
(23.46 KB, 841x247 - ดู 8718 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
Re: ไตรแอก triac
«
ตอบ #5 เมื่อ:
ตุลาคม 21, 2009, 02:43:00 pm »
สรุปผลจากตารางแสดงค่าความต้านทาน พอสรุปได้ดังนี้
1. การวัดไตรแอกทั้งหมด 6 ครั้ง จำนวน 3 คู่ เราสามารถอ่านค่าความต้านทานได้ 2 ครั้งหรือที่เรียกว่า “ วัด 6 ครั้ง เข็มขึ้น 2 ครั้ง ”
2. ขั้วขาที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าความต้านทานทั้ง 2 ครั้ง ดังกล่าวจะเป็นขาแอโนด 2 หรือ ขา A2
3. คู่ขาที่ 2 ในการวัดนั้นจะมีค่าความต้านทานที่ใกล้เคียงกันหรือเท่าเทียมกัน เราไม่สามารถบอกได้ว่า ขาใดเป็นขา A1 หรือขา G ดังนั้นเราจึงต้องทำการตรวจสอบในลำดับขั้นต่อไป
4. ให้สมมุติว่าขาใดขาหนึ่งเป็นขาเกต (G) แล้วทำการจุดชนวนโดยใช้ไฟจากขาแอโนด 2 (A2) เข็มมิเตอร์จะชี้ที่ค่าความต้านทานประมาณ 15 โอห์ม ต่อจากนั้นให้สลับขาที่เหลือเป็นขาเกต แล้วทำการจุดชนวนโดยใช้ไฟจากขาแอโนด 2 เข็มมิเตอร์จะชี้ที่ค่าความต้านทานประมาณ 20 โอห์ม จากการวัดจะสังเกตได้ว่าเมื่อทำการจุดชนวนที่ขาเกตได้ค่าความต้านทานต่ำกว่าการจุดชนวนที่ขาแอโนด 1 (A1)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
Re: ไตรแอก triac
«
ตอบ #6 เมื่อ:
ตุลาคม 21, 2009, 02:44:09 pm »
ที่มาของข้อมูล
http://www.english.thaiio.com/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%81-triac/
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
ฟิสิกส์ 1
-----------------------------
=> การวัด
=> เวกเตอร์
=> การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ
=> การเคลื่อนที่บนระนาบ
=> กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
=> การประยุกต์กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
=> งานและพลังงาน
=> การดลและโมเมนตัม
=> การหมุน
=> สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง
=> การเคลื่อนที่แบบคาบ
=> ความยืดหยุ่น
=> กลศาสตร์ของไหล
=> ปริมาณความร้อน และ กลไกการถ่ายโอนความร้อน
=> กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก
=> คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
=> การสั่นและคลื่น
=> เสียง
-----------------------------
ฟิสิกส์ 2
-----------------------------
=> ไฟฟ้าสถิต
=> สนามไฟฟ้า
=> ความกว้างของสายฟ้า
=> ศักย์ไฟฟ้า
=> ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน
=> กระแสไฟฟ้า
=> สนามแม่เหล็ก
=> การเหนี่ยวนำ
=> ไฟฟ้ากระแสสลับ
=> ทรานซิสเตอร์
=> สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ
=> แสงและการมองเห็น
=> ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
=> กลศาสตร์ควอนตัม
=> โครงสร้างของอะตอม
=> นิวเคลียร์
-----------------------------
วัสดูศาสตร์ (Material science)
-----------------------------
=> ความหมายของวัสดุศาสตร์
=> โครงสร้างอะตอมและพันธะเคมี
=> การจัตตัวของอะตอมและโครงสร้างผลึก
=> การแข็งตัวของโลหะ ความไม่สมบูรณ์ของผลึก
=> คุณสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุ
=> สมบัติเชิงกลของโลหะ
=> วัสดุพอลิเมอร์
=> เฟสไดอะแกรม
=> โลหะ
=> วัสดุเซรามิก
=> การกัดกร่อน
=> เรืองอื่นๆทางวัสดุศาสตร์
-----------------------------
หมวดหมู่ทั่วไป
-----------------------------
=> คลังข้อสอบฟิสิกส์
=> อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
=> เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
=> สาระเกี่ยวกับระบบโทรคมนาคม
=> ไฟฟ้าน่ารู้
=> สมาชิก แนะนำตัวที่นี่ครับ
=> ดาราศาสตร์
=> ธรรมะดีๆๆ สอนใจ
=> คณิตศาสตร์ E-BOOK
=> แคลคูลัส สำหรับวิศวกร ตัวอย่างโจทย์และข้อสอบเก่าๆ
=> คลายเครียด
=> สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ
=> สาระเกี่ยวกับพลังงาน และเชื้อเพลิง
=> สาระน่ารู้เรื่องน้ำดื่ม และกระบวนการ RO
=> ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่าน
=> อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
=> เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับสเต็มเซลล์
=> แนะนำสมาชิก
=> แหล่งความรู้ทั่วไป
กำลังโหลด...