กรกฎาคม 01, 2022, 03:06:35 pm
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว
:
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
ปฏิทิน
สมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
RmutPhysics.com
>
หมวดหมู่ทั่วไป
>
สาระเกี่ยวกับพลังงาน และเชื้อเพลิง
>
น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel)
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel) (อ่าน 6994 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel)
«
เมื่อ:
กรกฎาคม 13, 2009, 01:15:31 pm »
น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel)
น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel) คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่นเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน ซึ่งเป็นน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันใส หรือ Distillate Fuel มีช่วงจุดเดือดประมาณ 180-370 องศาเซลเซียส น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นเครื่องยนต์แรงอัดสูง (High Compression) และจุดระเบิดเอง (Self Ignition Engine) ซึ่งการจุดระเบิดของเชื้อเพลิงเกิดขึ้นจากความร้อนจากแรงอัดสูงของอากาศในกระบอกสูบโดยไม่ต้องใช้หัวเทียน ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. น้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบหมุนเร็วที่ใช้กับยานยนต์ (Automotive Diesel Oil หรือ Gas Oil)
เช่น รถยนต์, รถบรรทุก, เรือประมง, เรือโดยสาร, รถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรกลหนักทุกชนิดที่มีรอบหมุนเร็วเกิน 1,000 รอบต่อนาที เครื่องยนต์ประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้น้ำมันที่มีค่าซีเทนสูงและมีการะเหยเร็ว มิฉะนั้นเครื่องยนต์จะเดินไม่สะดวก น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทนี้เรียกว่า น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (HSD; High Speed Diesel Oil) แต่ในตลาดเป็นที่รู้จักกันในชื่อของน้ำมันโซล่า ถ้าใช้กับเรือเดินสมุทรมักเรียกว่า Marine Gas Oil
2. น้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบหมุนปานกลางหรือหมุนช้า (Industrial Diesel Oil)
เช่น เครื่องยนต์ดีเซลขับส่งกำลัง ติดตั้งอยู่กับที่ตามโรงงานต่างๆ ซึ่งมีรอบการทำงานต่ำ ประมาณ 500-1,000 รอบต่อนาที เครื่องยนต์ประเภทนี้ไม่ต้องการน้ำมันดีเซลที่มีค่าซีเทนสูงมากนัก และการระเหยอาจช้ากว่าได้ น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทนี้เรียกว่า น้ำมันดีเซลหมุนช้า (LSD; Low Speed Diesel Oil) ซึ่งในตลาดเป็นที่รู้จักกันว่า น้ำมันขี้โล้ ถ้าใช้กับเรือเดินสมุทรมักเรียกว่า Marine Diesel Oil) เป็นน้ำมันผสมระหว่างน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (Distillate Fuel) และน้ำมันเตา (Fuel Oil, FO หรือ Heavy Fuel Oil, HFO) ในอัตราส่วนที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของหระทรวงพาณิชย์
diesel1.jpg
(5.67 KB, 125x199 - ดู 4069 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
Re: น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel)
«
ตอบ #1 เมื่อ:
กรกฎาคม 13, 2009, 01:16:33 pm »
น้ำมันดีเซล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
น้ำมันดีเซล (อังกฤษ: Diesel fuel) คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน (เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน) ซึ่งเป็นน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันใส มีจุดเดือดอยู่ที่ประมาณ 180-370 องศาเซลเซียส เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ที่มีแรงอัดสูง (High Compression) และ สามารถจุดระเบิดได้เอง การจุดระเบิดของเชื้อเพลิงชนิดนี้เกิดขึ้นมาจากความร้อนของแรงอัดสูงของอากาศในกระบอกสูบ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้หัวเทียน
ชนิดของน้ำมันดีเซล
น้ำมันดีเซลที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ :
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (Automotive Diesel Oil หรือ Gas Oil; ในท้องตลาดเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "น้ำมันโซล่า" ถ้าใช้กับเรือเดินสมุทรมักจะเรียกว่า Marine Gas Oil) สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบหมุนเร็วที่ใช้กับยานยนต์ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก เรือประมง รถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรกลหนักทุกชนิดที่มีรอบหมุนมากกว่า 1,000 รอบต่อนาที เครื่องยนต์ประเภทนี้จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำมันที่มีค่าซีเทนสูงและมีการระเหยเร็ว มิฉะนั้นแล้วเครื่องยนต์จะเคลื่อนที่ไม่สะดวก
น้ำมันดีเซลหมุนช้า (LSD; Low Speed Diesel Oil; ในท้องตลาดเป็นที่รู้จักกันว่า "น้ำมันขี้โล้" ถ้าใช้กับเรือเดินสมุทรมักจะเรียกว่า Marine Diesel Oil) สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบหมุนปานกลางหรือรอบหมุนช้า (Industrial Diesel Oil) เช่น เครื่องยนต์ดีเซลขับส่งกำลัง ติดตั้งอยู่กับที่ตามโรงงานต่างๆ ซึ่งมีรอบการทำงานต่ำ ประมาณ 500 - 1,000 รอบต่อนาที เครื่องยนต์ประเภทนี้ไม่ต้องการน้ำมันดีเซลที่มีค่าซีเทนสูงมากนัก และการระเหยอาจเป็นไปช้ากว่าได้ น้ำมันดีเซลหมุนช้าเป็นน้ำมันผสมระหว่างน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (Distillate Fuel) และน้ำมันเตา (Fuel Oil, FO หรือ Heavy Fuel Oil, HFO) ในอัตราส่วนที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของกระทรวงพาณิชย์
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1545
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี
Re: น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel)
«
ตอบ #2 เมื่อ:
กรกฎาคม 13, 2009, 01:17:58 pm »
น้ำมันดีเซลมีสูตรโครงสร้างทางเคมี
น้ำมันดีเซลเป็นพวกไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรงเป็นหลักครับ
มีหลาย ๆ ตัวปนกันไปหมด ในการคุมคุณภาพเขาดูที่
อุณหภูมิการกลั่นของน้ำมัน ไม่ได้แยกดูองค์ประกอบแต่ละตัว
เว้นแต่ตัวทีเป็นปัญหาอาจต้องมีการวิเคราะห์แยกออกมา
เช่นพวก aromatic ต่าง ๆ และกำมะถัน
ช่วงของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดีเซลหมุนช้า และน้ำมันเตา(ชนิดเบา) จะคร่อม ๆ กันอยู่ครับ
ศัพท์เรียกในวงการน้ำมันบางทีก็ทำให้สับสนได้ครับ
ขนาดคนอยู่โรงกลั่นเองยังเล่าให้ฟังว่าบางทีก็คุยกันคนละภาษา
อย่างเช่นน้ำมันเบนซินที่เราเรียกัน เวลากลั่นได้ครั้งแรก
บางที่ก็เรียกว่า gasoline บางที่เรียกรวมว่าเป็น naphtha
(แถมยังแยกเป็น light กับ heavy naphtha อีก)
โดยส่วนตัวผมถ้าพูดระหว่างน้ำมันดิบกับปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน
ขึ้นมาลอย ๆ ผมจะคิดว่าเป็นตัวเดียวกัน
แต่ในบางครั้งอาจมีการแยกใช้เพื่อความหมายต่างออกไป เช่น
ปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน อาจหมายความถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบก็ได้
ในขณะที่น้ำมันดิบเป็นน้ำมันที่ยังไม่ผ่านกระบวนการกลั่น
...อย่างเช่นน้ำมันเบนซินที่เราเรียกกัน เวลากลั่นได้ครั้งแรก
บางที่ก็เรียกว่า gasoline บางที่เรียกรวมว่าเป็น
naphtha (แถมยังแยกเป็น light กับ heavy naphtha อีก)
ไม่ถูกทีเดียว จะชี้แจงอย่างนี้ค่ะ น้ำมันตัวที่เบาที่สุดคือ naphtha ซึ่งแบ่งได้เป็น
light naphtha
heavy naphtha
gasoline
kerosene
gas oil
diesel
furnace oil
asphalt
naphtha ก็คล้ายๆน้ำมันเบนซีน (gasoline) นั่นเอง แต่จุดเดือดต่ำกว่า ในขบวนการกลั่นตัวไหนเบา
ตัวนั้นจะออกมาก่อน แต่ไม่ต้องแปลกใจหากว่าคุณเอา naphtha เติมรถเก๋งโตโยต้า ที่วิ่งตามถนน
แล้วเครื่องติด วิ่งได้ตามปกติ เพราะ naphtha ก็คือเบนซีนเบาๆนั่นเอง
ไอ้เจ้า light naphtha/heavy naphtha เขาเอาไปเป็น feedstocks ป้อนโรงงานปิโตรเคมี
หรือโรงโอเลฟินส์ (ซึ่งโรงนี้ก็แบ่งได้เป็น gas-fired และ naphtha-fired plant)
**gas oil and diesel บางทีก็คร่อมกัน
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
ฟิสิกส์ 1
-----------------------------
=> การวัด
=> เวกเตอร์
=> การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ
=> การเคลื่อนที่บนระนาบ
=> กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
=> การประยุกต์กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
=> งานและพลังงาน
=> การดลและโมเมนตัม
=> การหมุน
=> สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง
=> การเคลื่อนที่แบบคาบ
=> ความยืดหยุ่น
=> กลศาสตร์ของไหล
=> ปริมาณความร้อน และ กลไกการถ่ายโอนความร้อน
=> กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก
=> คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
=> การสั่นและคลื่น
=> เสียง
-----------------------------
ฟิสิกส์ 2
-----------------------------
=> ไฟฟ้าสถิต
=> สนามไฟฟ้า
=> ความกว้างของสายฟ้า
=> ศักย์ไฟฟ้า
=> ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน
=> กระแสไฟฟ้า
=> สนามแม่เหล็ก
=> การเหนี่ยวนำ
=> ไฟฟ้ากระแสสลับ
=> ทรานซิสเตอร์
=> สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ
=> แสงและการมองเห็น
=> ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
=> กลศาสตร์ควอนตัม
=> โครงสร้างของอะตอม
=> นิวเคลียร์
-----------------------------
วัสดูศาสตร์ (Material science)
-----------------------------
=> ความหมายของวัสดุศาสตร์
=> โครงสร้างอะตอมและพันธะเคมี
=> การจัตตัวของอะตอมและโครงสร้างผลึก
=> การแข็งตัวของโลหะ ความไม่สมบูรณ์ของผลึก
=> คุณสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุ
=> สมบัติเชิงกลของโลหะ
=> วัสดุพอลิเมอร์
=> เฟสไดอะแกรม
=> โลหะ
=> วัสดุเซรามิก
=> การกัดกร่อน
=> เรืองอื่นๆทางวัสดุศาสตร์
-----------------------------
หมวดหมู่ทั่วไป
-----------------------------
=> คลังข้อสอบฟิสิกส์
=> อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
=> เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
=> สาระเกี่ยวกับระบบโทรคมนาคม
=> ไฟฟ้าน่ารู้
=> สมาชิก แนะนำตัวที่นี่ครับ
=> ดาราศาสตร์
=> ธรรมะดีๆๆ สอนใจ
=> คณิตศาสตร์ E-BOOK
=> แคลคูลัส สำหรับวิศวกร ตัวอย่างโจทย์และข้อสอบเก่าๆ
=> คลายเครียด
=> สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ
=> สาระเกี่ยวกับพลังงาน และเชื้อเพลิง
=> สาระน่ารู้เรื่องน้ำดื่ม และกระบวนการ RO
=> ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่าน
=> อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
=> เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับสเต็มเซลล์
=> แนะนำสมาชิก
=> แหล่งความรู้ทั่วไป
กำลังโหลด...