ไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ
1.1 ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลหรือขั้วของแหล่งจ่ายออกมาอย่างแน่นอน ไม่มีการสลับขั้วบวกลบแต่อย่างใด เช่นกระแสไฟฟ้าที่ออกมาจากถ่านไฟฉาย หรือแบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น
1.2 ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current) เป็นกระแสไฟฟ้าที่ได้จากเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า อย่างเช่นเครื่องปั่นไฟ เป็นต้น ไฟฟ้าประเภทนี้มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลอยู่ตลอดเวลา โดยขั้วหรือประจุทางไฟฟ้าจะสลับบวก-ลบ อยู่ตลอดเวลา
1.3 กระแสไฟฟ้า (Current) กระแสไฟฟ้าคือปริมาณของอิเล็กตรอนซึ่งเคลื่อนที่ผ่านจุดที่กำหนดให้ภายในช่วงเวลา 1 วินาที หน่วยวัดกระแสเป็นแอมแปร์ (Ampare) หรือย่อว่า A หนึ่งแอมแปร์มีค่าเท่ากับจำนวน 6,250,000,000,000,000,000 หรือ 6.25 X 10 16 อิเล็กตรอนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่งใน 1 วินาที
1.4 แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage) แรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือเขียนย่อว่า V เป็นความดัน (Pressure )หรือแรง (Force) แรงเคลื่อนไฟฟ้าบางครั้งอ้างอิงเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าตกคร่อม (Potential Voltage Drop)ซึ่งเป็นความแตกต่างของแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างปลายทั้งสองของตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ถ้าเราเปรียบเทียบกระแสไฟฟ้าเป็นปริมาณน้ำที่ไหลผ่านท่อ แรงเคลื่อนไฟฟ้าคือความดันของน้ำ ( Water Pressure)
1.5 กำลังไฟฟ้า (Power) กำลังไฟฟ้า เขียนย่อว่า P เป็นงานที่เกิดจากการกระทำของกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์(Watt) กำลังของไฟฟ้ากระแสตรงได้จาก แรงเคลื่อนไฟฟ้า X กระแสไฟฟ้า (V x 1 = P)
1.6 ความต้านทาน (Resistance) ความต้านทางไฟฟ้าเขียนย่อว่า R มีหน่วยเป็นโอห์ม ซึ่งความต้านทาน 1 โอห์ม ได้จากแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1 โวลท์ จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านค่าความต้านทาน 1 โอห์ม
1.7 กฏของโอห์ม (Ohm,s Law) จากคำจำกัดความข้างต้น เราจะได้สูตรที่เรียกว่า "กฏของโอห์ม" ดังนี้
V = I x R
หรือ I = V/R
หรือ R = V/I
P = V x I
หรือ P = I2 R
ไม่สะใจมีให้อ่านอีก
ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ไฟฟ้าสถิต เป็นไฟฟ้าที่ไม่มีการไหลหรือเคลื่อนที่เกิดขึ้นได้จากการขัดสีของวัตถุ ใน ทฤษฏีของอิเลคตรอนกล่าวว่า บรรดาวัตถุทั้งหลายประกอบขึ้นด้วยโปรตรอนและอิเลค ตรอนเท่าๆ กัน เช่น ผ้าขนสัตว์ต่างก็มีจำนวนอิเลคตรอน และโปรตรอนเท่ากันแท่งยาง
หรือแท่งอำพันต่างก็มีอิเลคตรอนและโปรตรอนเท่ากัน เมื่อนำของทั้งสองอย่างนี้มาถูกัน อิเลคตรอนจากผ้าขนสัตว์จะเกาะอยู่ที่แท่งอำพัน
2. ไฟฟ้ากระแส เป็นไฟฟ้าที่ไหลไปตามตัวนำ หมายถึงเมื่อเกิดเป็นกระแสขึ้นแล้วไม่
เกาะอยู่นิ่งเหมือนไฟฟ้าสถิต มันจะไหลเหมือนกระแสน้ำในท่อน้ประปาไฟฟ้ากระแสยัง
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2.1 ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นไฟฟ้าที่มีกระแสเดินทางเดียวหรือเป็นไฟฟ้าที่มีขั้วตายตัว ขั้วไหนเป็นขั้วลบ ก็จะเป็นขั้วลบอย่างนั้นตลอดไปอิเลคตรอนหรือกระแสก็อยู่ในทิศทาง เดียว คือ ออกจากขั้วลบไปสู่ขั้วบวก โดยตลอดไฟฟ้ากระแสตรงส่วนใหญ่แล้วเราได้จาก
การเกิดปฏิกริยาเคมี เช่น ได้กระแสตรงจากถ่านไฟฉาย และแบตเตอรี่กระแสที่เราได้จาก สองสิ่งนี้มีความดันต่ำ
2.1.1 ไฟฟ้ากระแสตรงได้จากแบตเตอรี่นั้นโดยการนำแผ่นโลหะสองแผ่น คือ แผ่นทอง แดงและแผ่นสังกะสีจุ่มลงในกรดกำมะถัน แผ่นทองแดงจะทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันทำ ห้เกิดอิเลคตรอน อิเลคตรอนจะวิ่งไปยังแผ่นสังกะสี แล้วไหลจากแผ่นสังกะสีไปตามสาย ที่ต่อให้ผ่านหลอดไฟฟ้ามายังแผ่นทองแดงอีก การที่แผ่นทองแดงปล่อยอิเลคตรอนให้กับ แผ่นสังกะสีนั้นทำให้แผ่นทองแดงกลายเป็นประจุบวก และแผ่นสังกะสีกลายเป็นประจุลบ
2.1.2 ไฟฟ้ากระแสที่ได้จากถ่านไฟฉายซึ่งมีการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีอย่างเดียวกันกับแบต เตอรี่ แต่ถูกปรับปรุงให้ดีและสะดวกขึ้น โดยการเปลี่ยนกรดกำมะถันเป็นสารเคมีเปียกไม่ เป็นของเหลว และใช้สังกะสีทนทองแดงทั้งนี้เพราะมีราคาถูก การทำงานของถ่านไฟฉาย
เช่นเดียวกันกับแบตเตอรี่ กล่าวคือ อิเลคตรอนจะวิ่งจากแท่งถ่านมายังสังกะสีที่ทับอยู่ภาย นอก จากนั้นอิเลคตรอนจะวิ่งออกจากสังกะสีผ่ายหลอดไฟฟ้ากลับเข้าทางแท่งถ่านตามเดิม
2.2 ไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ตามบ้านทั่วๆ ไป ซึ่งเราได้ไฟฟ้าชนิดนี้มา จากโรงไฟฟ้า ต้องใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ทำการหมุนไดนาโม จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ออกมาตามสาย ไฟฟ้าสลับเป็นไฟฟ้าที่มีขั้วไม่แน่นอน เพราะการไหลของกระแสสลับกลับ ไปมาอยู่ตลอดเวลา
ที่มา
http://board.dserver.org/w/wwwt/00000292.html