สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:00:03 am » |
|
ลิงค์ข้อมูล http://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/labphysics2/meter/1DC%20voltmeter.htmlบทนำ คาร์สันวาล์มิเตอร์นอกจากสามารถดัดแปลงเป็นดีซีแอมมิเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถดัดแปลงให้เป็นดีซีโวลต์มิ เตอร์ได้เช่นเดียวกัน โดยอาศัยคุณสมบัติการจ่ายกระแสไฟตรงให้ไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่ของดาร์สันวาล์มิเตอร์ เหมือนกัน ปริมาณ ของแรงดันไฟตรงที่ป้อนให้ดาร์สันวาล์มิเตอร์มีผลต่อกระแสไฟตรงที่เกิดขึ้นมาแรงดันไฟตรง ป้อนเข้ามา น้อยกระแสไฟ ตรงเกิดขึ้นน้อย แรงดันไฟตรงป้อนเข้ามามากกระแสไฟตรง เกิดขึ้นมาก นั้นคือแรงดัน จะมีผลโดยตรงต่อกระแส ดังนั้นสามารถ ทำดาร์สันวาล์มิเตอร์หรือแอมมิเตอร์มาดัดแปลงวงจรเป็นโวลต์มิเตอร์ได้ และปรับเปลี่ยนสเกลหน้าปัดให้เป็นสเกลโวลต์พร้อมใล่ตัวเลขและหน่วยให้ถูกต้อง ก็จะได้โวลต์มิเตอร์ตามต้องการ ลักษณะหน้าปัดและสเกล ของดีซีโวลต์มิเตอร์ การดัดแปลงดาร์สันวาล์มิเตอร์ให้เป็นโวลต์มิเตอร์ ทำได้โดยเติมส่วนประกอบของอุปกรณ์เข้าไปในวงจร มิเตอร์ให้เหมาะสมพร้อมกับปรับเปลี่ยนสเกลของมิเตอร์ให้ถูกต้อง ก็สามารถสร้างดีซีโวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟ ตรงได้สามารถสร้าง โวลต์มิเตอร์ ได้หลายย่านโวลต์มิเตอร์วัดแรงดันเป็นมิลลิโวลต์เรียก มิลลิโวลต์มิเตอร์ (Millivoltmeter) โวลต์มิเตอร์ วัด แรงดันเป็นโวลต์ เรียก โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) และโวลต์มิเตอร์ วัด แรงดันเป็นกิโลโวลต์เรียก กิโลโวลต์มิเตอร์ (Kilovoltmeter) ดีซีโวลต์มิเตอร์ คือมิเตอร์วัดแรงดันไฟตรง (DC voltage) ในการใช้ดีซีโวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟตรง จะ ต้องต่อดีซี โวลต์มิเตอร์วัดคร่อมขนานกับโหลดที่ต้องการวัดแรงดัน ขั้วของดีซีโวลต์มิเตอร์ที่จะต่อวัดคร่อมโหลด ต้องมีขั้วเหมือนแรง ดันที่ตกคร่อมโหลด โดยใช้หลักการวัดดังนี้ ใกล้บวกใส่บวก ใกล้ลบใส่ลบ คือโหลดขาใด รับแรงดันใกล้ขั้วบวก (+) ของ แหล่งจ่าย ก็ใช้ขั้วบวก (+) ของดีซีโวลต์มิเตอร์วัด โหลดขาใดรับแรงดันใกล้ขั้วลบ (-) ของแหล่งจ่าย ก็ใช้ขั้วลบ (-) ของ ดีซีโวลต์มิเตอร์วัด การบ่ายเบนของเครื่องวัด PMMC จะขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสที่ไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่กระแสที่ขดลวด จะเป็นสัดส่วน โดยตรงกับแรงดันที่ตกคร่อมขดลวด ดังนั้นสเกลแรงดันเครื่องวัด PMMC สามารถปรับแต่ง ได้ เนื่องจากความ ต้านทานขดลวดมีขนาดเล็กและแรงดันตกคร่อมขดลวดก็มีไม่มาก จึงสามารถใช้วัดแรงดันได้ ค่า ต่ำ ๆ แต่ ถ้าต้อง การ ขยายย่านวัดแรงดันให้สูงขึ้นก็ทำได้โดยการต่อความต้านทานอนุกรมเข้ากับเครื่องวัด PMMC เราเรียกความต้าน ทาน ที่ต่อเพิ่มเข้าไปนี้ว่า ความต้านทานตัวคูณ
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:00:33 am » |
|
โครงสร้างโวลต์มิเตอร์
โวลต์มิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้าหรือแรงดันตกคร่อม) ระหว่าง จุดสองจุด ในวงจร ความจริงแล้วโวลต์มิเตอร์ก็คือแอมมิเตอร์นั่นเอง เพราะขณะวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร หรือแหล่ง จ่ายแรงดันจะต้องมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมิเตอร์จึงทำให้เข็มมิเตอร์บ่ายเบนไป และการที่กระแสไฟฟ้าจะไหล ผ่าน เข้าโวลต์มิเตอร์ได้ ท็ต้องมี แรงดันไฟฟ้าป้อนเข้ามา นั่นเองกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและ กัน กระแสไฟฟ้าไหลได้มากน้อยถ้า จ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้ามาน้อย กระแสไฟฟ้าไหลน้อย เข็มชี้บ่ายเบนไปน้อยถ้าจ่าย แรงดันไฟฟ้าเข้ามามาก กระแสไฟฟ้าไหลมาก เข็มชี้บ่ายเบนไปมาก การวัด แรงดันไฟฟ้าด้วยโวลต์มิเตอร์แสดง ดังรูป
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:01:00 am » |
|
การที่สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้ก็อาศัยปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมิเตอร์กระแสไฟฟ้าที่ไหล ผ่านมิเตอร์ก็ขึ้น อยู่กับปริมาณของแรงดันที่จ่ายเข้ามา ดังนั้นการวัดปริมาณของแรงดันไฟฟ้าก็คือ การวัดปริมาณ ของกระแสไฟฟ้านั้นเอง เพียงแต่เปลี่ยนสเกลหน้าปัดของมิเตอร์ให้แสดงค่าออกมา เป็นค่าปริมาณ ของแรงดัน ไฟฟ้าเท่านั้น และปรับค่าให้ถูกต้อง กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าโวลต์มิเตอร์จะมีขีดจำกัดขึ้นอยู่กับค่าการทนกระแสได้ของโวลต์มิเตอร์ตัว นั้น ดังนั้นเมื่อนำโวลต์มิเตอร์ไปวัดแรงดันไฟฟ้าค่ามาก ๆ ย่อมส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าโวลต์มิเตอร์มาก ตามไปด้วย ซึ่งถ้ามากเกินกว่า ที่โวลต์มิเตอร์ทนได้ ก็ไม่สามารถนำโวลต์มิเตอร์ไปวัดแรงดันไฟฟ้าค่านั้นได้ การดัดแปลงให้ดาร์สันวาล์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ หรือโวลต์มิเตอร์เดิมสามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้สูงมากขึ้น ทำได้ โดยใช้ตัวต้านทานที่เหมาะสมมาต่ออันดับหรืออนุกรมกับมิเตอร์ เดิมเพื่อจำกัดจำนวนกระแสที่ไหลผ่านเข้า โวลต์มิเตอร์ไม่ให้เกินกว่าค่ากระแสไฟฟ้าเดิมที่มิเตอร์เดิมทนได้ทำให้ สามารถนำโวลต์มิเตอร์ไปวัดค่าแรงดัน ไฟฟ้าได้สูงมากขึ้นตามต้องการ ตัวต้านทานที่นำมาต่ออันดับกับดาร์สันวาล์มิเตอร์ แอมมิเตอร์หรือโวลต์มิเตอร์ เดิมเพื่อให้โวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าได้มากขึ้นเรียกว่าตัวต้านทานอันดับ(Series Resistor) หรือตัวต้านทาน ทวีคูณ (Multiplies Resistor) ลักษณะการต่อตัวต้านทานอันดับเข้ากับดาร์สันวาล์มิเตอร์ แสดงดังรูป
จากรูป เป็นการต่อตัวต้านทานอันดับเข้ากับดาร์สันวาล์มิเตอร์ ทำให้ดาร์สันวาล์มิเตอร์กลายเป็น มิลลิโวลต์มิเตอร์ หรือ โวลต์มิเตอร์หรือกิโลโวลต์มิเตอร์ การจะทำเป็นมิเตอร์วัดแรงดันย่านใดหรือขนาด ใดนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของความต้านทาน อันดับที่นำมาต่อ ว่ามีค่าความต้านทานมากน้อยเท่าไรความต้าน ทานอันดับมีค่าน้อยจะวัดแรงดันได้ต่ำ อาจเป็นมิลลิโวลต์หรือ โวลต์ ถ้าความต้านทานอันดับมีค่ามากจะวัด แรงดันได้สูงขึ้น อาจเป็นกิโลโวลต์หรือตัวต้านทานทวีคูณที่ใช้ต่อ อันดับกับ ดาร์สันวาล์มิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ เพื่อเพิ่มการวัดแรงดันได้มากขึ้น แสดงดังรูป
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:01:52 am » |
|
ตัวต้านทานอันดับตามรูปที่ 4 เป็นตัวต้านทานที่ใช้ต่อเพิ่มภาย นอกโวลต์มิเตอร์ช่วยเพิ่มค่าการวัดแรงดันได้สูงขึ้นเป็นกิโลโวลต์มิเตอร์ ตามรูปสามารถวัดแรงดันได้สูงสุด 2 ค่าคือ 1.5kV และ 3kV ตัวต้าน ทานอันดับมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับการเลือกมาใช้งานร่วมกับโวลต์มิเตอร์ ต้องเลือกให้เหมาะสมทั้งตัวต้านทานอันดับและโวลต์มิเตอร์ จึงจะทำให้ การวัดค่ามีความถูกต้อง เลือกให้เหมาะสมทั้งตัวต้านทานอันดับและ โวลต์มิเตอร์ จึงจะทำให้การวัดค่ามีความถูกต้องลักษณะ การต่อตัวต้าน ทานอันดับภายนอก โวลต์มิเตอร์ แสดงดังรูป
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:02:28 am » |
|
จากรูป เป็นการต่อตัวต้านทานอันดับเพิ่มภายนอกโวลต์มิเตอร์ เพื่อเพิ่มย่านการวัดค่าแรงดันของ โวลต์มิเตอร์ ให้วัดค่าแรงดันได้สูงขึ้นตามต้องการตามรูปต่อตัวต้านทานอันดับย่าน 3kV เข้ากับ ดีซีโวลต์มิเตอร์ย่าน 3V ขั้วบวก ส่วนขั้วลบ ดีซีโวลต์มิเตอร์ต่อกับขั้วลบแหล่งจ่ายแรงดันสามารถทำให ้ดีซีโวลต์มิเตอร์ตัวนี้วัด แรงดัน ได้สูงสุดถึง 3 กิโลโวลต์หรืออาจย้ายขั้ว ต่อวัดของตัวต้านทานอันดับจากจุด 3kVมาที่จุด 1.5kV ได้ ดีซีโวลต์มิเตอร์ ตัวนี้ จะสามารถวัดแรงดันได้สูงสุด 1.5 กิโลโวลต์ ส่วนจุดต่อกราวด์ ใช้ต่อลงกราวด์ร่วมกับจุดกราวด์ของ วงจรที่นำ ดีซีโวลต์มิเตอร์ไปต่อวัด
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:03:01 am » |
|
การคำนวณของโวลต์มิเตอร์
ตัวต้านทานอันดับ เป็นตัวต้านทานต่ออันดับกับดาร์สันวาล์มิเตอร์ หรือโวลต์มิเตอร์เดิมเพื่อช่วยลด ปริมาณกระแส ไฟตรง ที่จะไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่ไม่ให้เกินกว่าค่ากระแสที่ขดลวดเคลื่อนที่เดิมทนได้ ตัวต้านทานอันดับที่ต่อเพิ่มนี้จะมีค่าความต้านทานสูง อาจเป็นกิโลโอห์ม หรือเมกะโอห์ม ค่าความต้านทาน ใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าปริมาณแรงดันที่ป้อนเข้ามา ต้องการวัด แรงดันต่ำ ใช้ความต้านทานต่ำต้องการ วัดแรงดันสูงใช้ค่าความต้านทานสูง ค่าความต้านทานอันดับต้องการใช้ค่าเท่าไร สามารถ หาได้โดยใช้วิธี การคำนวณวงจร
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:04:34 am » |
|
การวัดและการต่อดีซีโวลต์มิเตอร์
ซีโวลต์มิเตอร์สร้างขึ้นมาเพื่อวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของแหล่งจ่ายแรงดัน หรือวัดค่าแรงดันไฟฟ้าตก คร่อม ระหว่างจุดสองจุดในวงจร การวัดแรงดันไฟฟ้าด้วยโวลต์มิเตอร์ เหมือนกับการวัดความดันของน้ำในท่อส่ง น้ำด้วยเกจ วัดความดัน(Pressure Gage) โดยต้องต่อท่อเพิ่มจากท่อเดิมไปยังเกจวัดในทำนองเดียวกัน กับการ วัดแรงดันไฟฟ้า ใน วงจร ต้องใช้โวลต์มิเตอร์ไปจากคร่อมวงจรในตำแหน่งที่ต้องการวัด (ต่อขนานกับจุดวัด) เสมอ ลักษณะการต่อแสดงดังรูป
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:04:50 am » |
|
1. จากรูปเป็นการต่อดีซีโวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟตรง ดีซีโวลต์มิเตอร์ต้องต่อแบบขนานกับวงจรไฟฟ้าหรือ ตกคร่อมแหล่งจ่ายแรงดันไฟตรง การต่อดีซีโวลต์มิเตอร์แรงดันไฟตรงในวงจร ต้องคำนึงถึงขั้วของ โวลต์มิเตอร์ ที่จะวัดคร่อมวงจรด้วย โดยขั้วของดีซีโวลต์มิเตอร์ต้องตรงกับขั้วของแหล่งจ่ายแรงดัน หรือตรงกับขั้วของ แรงดัน ที่เกิดตกคร่อมวงจร การต่อขั้วดีซีโวลต์มิเตอร์วัดค่าแรงดันใช้หลักการต่อดังนี้ ใกล้บวกต่อบวก ใกล้ลบต่อลบ หมายถึงการจะต่อโวลต์มิเตอร์คร่อมวงจร ขั้วบวกของโวลต์มิเตอร์ต้องต่อคร่อมจุดวัดที่ต่อใกล้บวกแหล่งจ่ายและ ขั้วลบของโวลต์มิเตอร์ต้องต่อคร่อมจุดวัดที่ต่อใกล้ขั้วลบแหล่งจ่าย การต่อผิดขั้วจะทำให้เข็มชี้ของดีซี โวลต์มิเตอร์ บ่ายเบนกลับทาง วัดแรงดันไฟตรงไม่ได้ และยังอาจทำให้ดีซีโวลต์มิเตอร์ชำรุดเสียหายได้ด้วย หน้าปัดสเกลของโวลต์มิเตอร์ ถูกสร้างขึ้นให้สามารถบอกค่าปริมาณแรงดันไฟฟ้าได้โดยตรงทั้งปริมาณ แรงดันไฟฟ้าจำนวนน้อย ๆ ไปจนถึงปริมาณแรงดันไฟฟ้าจำนวนมาก ๆ สเกลจะถูกสร้างให้บอกค่าปริมาณ แรงดัน ไฟฟ้าแตกต่างกัน เพื่อความสะดวกในการเลือกโวลต์มิเตอร์มาใช้งานได้เหมาะสมกับค่าปริมาณแรงดัน ไฟฟ้าที่ ทำการวัด และสามารถอ่านค่าได้ละเอียดถูกต้อง
|
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:05:56 am » |
|
ตารางแสดงค่าการอ่านสเกลของดีซีโวลต์มิเดอร์
ลำดับขั้นการปฏิบัติ
1. ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ในย่าน DCV มีทั้งหมด 7 ย่าน คือ 0.1V ,0.5V, 2.5V, 10V, 50V, 250V, และ 1,000V 2. ใช้สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) และสายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ 3. สเกลที่ใช้ในการอ่านค่าใช้สเกล DCV,A ซึ่งจะมี 3 สเกล อ่านขีดสเกลที่อยู่ใต้อกระจกเงา การอ่านค่าแรงดันที่ถูกต้องจะต้องใช้หลักการอ่าน 4. ปรับซีเล็กเตอร์สวิตซ์ตั้งย่านการวัดให้ถูกต้อง ถ้าหากไม่ทราบแรงดันไฟตรง ที่จะทำการวัด ว่าเป็นเท่า ไร ให้ตั้งย่านวัดไฟตรงที่ตำแหน่งสูงสุด ไว้ก่อนและทำการปรับลดย่านให้ต่ำลงที ละย่าน จนกว่าเข็มเดิมมิเตอร์จะชี้ค่าที่อ่าน ได้ง่าย ๆ และถูกต้อง 5. การวัดแรงดันไฟตรงในวงจร ให้นำสายวัดขั้วลบ สีดำจับที่ขั้วลบของแหล่งจ่าย นำสายวัดขั้ว บวก สีแดงของ มิเตอร์ไปวัดแรงดันตามจุดต่าง ๆ ใส่ขั้วแรงดันที่วัดได้ที่ปลายทั้งสองข้าง ไม่ว่าจะ เป็นตัวต้านทานวงจรกำเนิดความถี่ วงจรทรานซิสเตอร์และอื่น ๆ โดยแรงดันที่วัด ได้จะมีค่าเป็นบวกเสมอ 6. ในตำแหน่งที่วัดด้วยดีซีโวลต์มิเตอร์ไม่ขึ้น แต่ขณะแตะสายวัดขั้วบวกเข้าไปหรือขณะดังสาย วัดขั้วบวกออก มาเข็มมิเตอร์จะกระดิกนิดหนึ่งเสมอแสดงว่าจุดวัดนั้นไม่มีแรงดันไฟตรง แต่ มีแรงดันไฟสลับ
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:06:52 am » |
|
การเลือกโวลต์มิเตอร์ที่เหมาะสมในการวัดแรงดัน
การต่อโวลต์มิเตอร์เพื่อวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร ต้องระมัดระวังในเรื่องขนาดปริมาณแรงดันไฟฟ้าของวงจร ที่ตำแหน่งทำการวัดกับขนาดค่าการทนแรงดันไฟฟ้าได้ของโวลต์มิเตอร์โวลต์มิเตอร์ที่นำมาต่อวัดแรงดันในวงจรต้อง ทนแรงดันได้มากกว่าแรงดันไฟฟ้าที่ตำแหน่งทำการวัดเสมอ เพราะมิเช่นนั้นโวลต์มิเตอร์อาจชำรุดเสียหายได้หากไม่ ทราบค่าแรงดันไฟฟ้าที่ตำแหน่งทำการวัด ควรใช้โวลต์มิเตอร์ทนแรงดันได้สูง ๆ มาต่อวัดก่อน ถ้าอ่านค่าไม่ได้ เพราะ เข็มชี้ขึ้นน้อยหรือไม่ขึ้นจึงค่อย ๆ ลดขนาดการทนแรงดันได้ของโวลต์มิเตอร์ลงจนอยู่ในย่านการบ่ายเบนของเข็มชี้ที่ พอเหมาะลักษณะการต่อโวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า และการบ่ายเบนของเข็มชี้แสดงดังรูป
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:07:22 am » |
|
ขณะวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจรด้วยโวลต์มิเตอร์เข็มชี้ของโวลต์มิเตอร์จะแสดงค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้ออกมา ด้วยการบ่ยเบนชี้ค่าแรงดันค่านั้น การใช้โวลต์มิเตอร์หรือย่านวัดของโวลต์มิเตอร์ต้องถูกต้องพอเหมาะ เข็มชี้ชี้แสดง ค่าออกมาบนสเกล ควรอยู่ในย่านประมาณกลาง ๆ สเกล ไม่ควรต่ำหรือสูงเกินไป เพราะอ่านค่าได้ลำบาก ไม่ละเอียด หรืออาจมีผลต่อการชำรุดเสียหายเองโวลต์มิเตอร์ได้ การแสดงค่าของโวลต์มิเตอร์ลักษณะต่าง ๆ
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:07:39 am » |
|
การใช้ดีซีโวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟสูง
ลำดับขั้นในการปฏิบัติ 1. นำโพรบไฟสูง (HIGH VOLTAGE PROVE) หรือ HV โพรบมาต่อร่วมกับดีซีโวลต์มิเตอร์ 2. ตั้งย่านวัดที่หน้าปัดของมิเตอร์ที่ย่าน 1000 VDC จะมีวงเล็บ HV PROVE อยู่ ซึ่งเป็นย่านใช้ วัดแรงดันไฟสูง 3. โพรบไฟสูง HV PROVE ดังกล่าวสร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดแรงดันไฟสูงในโทรทัศน์ TV ซึ่งออก แบบไว้วัดแรงดันไฟสูงได้ถึง 25KV 4. สเกลที่หน้าปัดมิเตอร์ใช้สเกล 0~250 ของสเกล DCV,A ค่าที่อ่านได้จากสเกลให้คูณด้วย 0.1 และอ่านหน่วยแรงดันไฟตรงที่ได้เป็นกิโลโวลต์ 5. การใช้โพรบไฟสูง ให้ใช้เฉพาะวัดแรงดันขั้วแรงดันแอโนดของหลอดภาพโทรทัศน์ วัดแรงดันไฟ สูงของโฟกัส และวัดแรงดันในวงจรที่มีอิมพิแดนซ์สูงเท่านั้น 6. การวัดแรงดันไฟสูงให้ใช้สายคีบ หนีบเข้ากับกราวด์หรือแท่นเครื่องโทรทัศน์ และใช้ปลายเข็มวัด ของโพรบไฟสูง วัดแรงดันไฟสูงสุดจุดต่าง ๆ ในวงจรโทรทัศน์
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:08:11 am » |
|
รูปการใช้โพรบไฟสูงต่อร่วมกับดีซีโวลต์มิเตอร์
ข้อควรระวัง แรงดันไฟสูงในโทรทัศน์ จะมีแรงดันเป็นหมื่นโวลต์ขึ้นไป ดังนั้นในการใช้โพรบไฟสูงวัดแรงดันไฟสูง ต้องระมัดระวังในการใช้งานด้วย เพราะอาจเกิดอันตรายจากไฟสูงที่กระโดดเข้าหาตัวผู้วัด การวัดควรจะ จับด้ามของโพรบไฟสูงเท่านั้น ห้ามจับเข้าใกล้ปลายเข็มวัดของโพรบ
การสร้างโพรบไฟสูง (HV PROVE) ใช้เอง ความยุ่งยากในการวัดแรงดันไฟสูง ก็อยู่ที่การหาโพรบไฟสูงมาใช้งาน การจะซื้อที่เข้าสร้างขายก็มีราคา แพงไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปดังนั้นควรสร้างขึ้นมาใช้เอง จะเห็นได้ว่าโพรบไฟสูงที่นำมาต่อเพิ่มในวงจร ความจริงแล้วก็คือตัวต้านทาน 480 เมกะโอห์ม ต่อลด แรงดันและกระแสที่จะผ่านเข้าดีซีโวลต์มิเตอร์ ทำให้มีกระแสและแรงดันที่พอเหมาะกับย่านวัดของดีซีโวลต์ที่ตั้งไว้
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:08:53 am » |
|
การสร้างโพรบไฟสูงใช้เองทำได้โดยหาตัวต้านทานมาต่อันดับกัน ให้มีค่าความต้านทานรวมกันได้ 480 เมกะโอห์ม เช่น อาจใช้ตัวต้านทานมีค่าความต้านทาน 48 เมกะโอห์ม มาต่ออันดับกัน 10 ตัว (48 เมกะโอห์ม * 10 = 480 เมกะโอห์ม)แต่ละตัวของตัวต้านทาน ให้ใช้ค่าทนกำลังไฟฟ้าตัวละ 1/4 วัตต์ ก็พอ หรือใช้ตัวต้านทาน ที่มีค่าความต้านทาน 10 เมกะโอห์ม ต่ออันดับกัน 48 ตัว ก็จะเท่ากับ 480 เมกะโอห์ม แต่ละตัวของตัวต้านทาน ให้ใช้ค่าทนกำลังไฟฟ้าตัวละ 1/4 วัตต์ก็พอ
การต่อตัวต้านทานให้ใช้การบัดกรี โดยตัดขาตัวต้านทานให้สั้นที่สุดที่จะบัดกรีได้และบัดกรีให้ชิดกัน เพื่อจะทำให้ขนาดของโพรบสั้นลง และนำไปบรรจุในท่อ PVC ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้วตอนปลายด้านไฟ สูงหาโลหะแหลมต่อกับตัวต้านทานและลนไฟท่อ PVC บีบให้ติดกับโลหะแหลม และปิดรูท่อ PVC ดกแต่งให้สวย งามในท่อ พีวีซีอาจจะใช้เรซินเทหล่อปิดตัวต้านทาน และจัดให้ตัวต้านทานอยู่กึ่งกลางหรืออาจใช้ฉนวนตัวเป็นวงกลม ยืดตัวต้านทานให้อยู่กึ่งกลางหรืออาจใช้ฉนวนตัวเป็นวงกลม ยืดตัวต้านทานอยู่กึ่งกลางเป็นช่วง ๆ ก็ได้ปลายอีกด้าน ที่เหลือของท่อ พีวีซี อาจใช้ฝาปิดท่อพีวีซีไว้ ต่อสายจากตัวต้านทานตัวแรกของโพรบ ไปเข้าขั้วบวกของดีซีโวลต์มิเตอร์ ก็จะได้โพรบไฟสูงตามต้องการ
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:09:51 am » |
|
การใช้ดีซีโวลต์มิเตอร์แบบมีค่าศูนย์โวลต์อยู่ที่กลางสเกล ( DC NULL )
ดีซีโวลต์มิเตอร์แบบศูนย์โวลต์อยู่ที่กลางสเกล จะถูกเรียกว่านัลมิเตอร์ ( null meter ) หรือเรียกอีกชื่อ หนึ่งว่ากัลวานอมิเตอร์นั่นเองเป็นดีซีโวลต์มิเตอร์ที่สามารถวัดแรงดันไฟตรงได้ ไม่ว่าจะเอาแรงดันขั้วบวกหรือ ขั้วลบจ่ายเข้าสายวัดของมิเตอร์ขั้วไหนก็ตาม มิเตอร์ก็สามารถแสดงผลการวัดออกมาได้ เพราะมิเตอร์สามารถ แสดงผลออกมาได้ทั้งไฟบวก และไฟลบ
ลำดับขั้นการปฏิบัติ
1. ตั้งย่านวัดของนัลมิเตอร์ที่ตำแหน่ง DCV (NULL) ซึ่งจะมี 2 ย่านคือ 5V และ 25 V เลือกใช้ที่ย่าน ใดย่านหนึ่ง 2. ใช้สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก และสายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ 3. สเกลที่ใช้ในการอ่านค่าใช้สเกล DCV(NULL) มี 2 ย่านคือ 5V และ 25 V 4. เมื่อปรับซีเล็กเตอร์สวิตซ์ตั้งย่านการวัดที่ถูกต้องแล้วจะทำให้เข็มของมิเตอร์ เคลื่อนที่ไปชี้กลางสเกล ตรงตำแหน่ง 0 ของสเกล DCV(NULL) 5. ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่เคลื่อนที่ไปชี้ที่ตำแหน่ง 0 กลางสเกล พอดีแต่ชี้อย฿่ที่บริเวณนั้น ต้องทำการปรับให้ เข็มชี้ที่ตำแหน่ง 0 กลางสเกลพอดี ให้ปรับปุ่มปรับหมายเลข 6 คือปุ่ม 0 โอห์มนั้นเอง 6. นำมิเตอร์ไปวัดแรงดันไฟตรงได้แล้ว ค่าที่เข็มมิเตอร์ชี้สามารถอ่านออกมาได้โดยตรง ค่าที่อ่านได้คือ ค่าแรงดันของวงจรที่วัดได้ 7. หลังจากให้นัลมิเตอร์เรียบร้อย แล้วให้ปรับซีเล็กเตอร์สวิตซ์ไปที่ตำแหน่งย่านวัดอื่น ๆ หรือปรับซีเล็ก เตอร์สวิตซ์ไปที่ตำแหน่ง OFF เมื่อเลิกใช้มิเตอร์
ข้อควรระวัง 1. การใช้นัลมิเตอร์นั้น จะมีกระแสไหลผ่านมิเตอร์ตลอดเวลาดังนั้นเมื่อเลิกใช้นัลมิเตอร์เมื่อไร ให้ปรับ ซีเล็กเตอร์สวิตซ์ไปที่ตำแหน่งการวัดที่อื่น ๆ ทันที ไม่เช่นนี้อาจทำให้แบตเตอรี่ภายในของมิเตอร์ไฟหมดได้ ง่ายหรือถ่านหมดนั้นเอง 2. เมื่อใช้นัลมิเตอร์ทุกครั้ง ต้องปรับแต่งที่ 0 โอห์ม เพื่อให้เข็มมิเตอร์ชี้ตำแหน่ง 0 กลางสเกล พอดีทุก ครั้ง ถ้าการปรับปุ่ม 0โอห์ม จนสุดแล้ว เข็มมิเตอร์ยังไม่สามารถชี้ตำแหน่ง 0 กลางสเกล พอดี ต้องเปลี่ยนแบต เตอรี่ 9 V ในมิเตอร์ใหม่ ,
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:10:54 am » |
|
การเกิดโหลดดิ้งของดีซีโวลต์มิเตอร์
โวลต์มิเตอร์ขณะวัดค่าแรงดัน โวลต์มิเตอร์ต้องต่อคร่อมขนานกับจุดวัดเสมอ ดังนั้นจุดวัดแรงดันที่นำโวลต์ มิเตอร์ไปต่อวัดค่า ถ้าโหลด ของวงจรต่อขนานกับแหล่งจ่ายแรงดันโวลต์มิเตอร์ที่วัดแรงดันที่ภาระ และโวลต์มิเตอร์ที่วัด แรงดันที่แหล่งจ่ายแรงดัน จะวัดค่าแรงดันได้เท่ากัน ทั้งนี้เพราะภาระที่ต่อขนานกับแหล่งจ่ายนั้นค่าแรงดัน ตกคร่อมใน วงจรขนานมีค่าเท่ากันตลอด การวัดแรงดันที่ต่อภาระและไม่ต่อภาระแสดงดังรูป
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:11:17 am » |
|
ค่าแรงดันที่อ่านได้จากการชี้ค่าของเข็มชี้บนสเกลจะถูกต้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้อ่าน ว่าอ่านค่าได้ละเอียด มากน้อยเท่าไร ในกรณีที่เข็มชี้ตรงตำแหน่งขีดบนสเกล การอ่านค่าสามารถอ่านได้โดยง่าย โอกาสเกิดความผิด พลาดน้อย แต่ถ้ากรณีที่เข็มชี้ชี้ไม่ตรงตำแหน่งขีดบนสเกล ชี้ในส่วนช่องว่างของขีด การอ่านค่ามีโอกาสผิดพลาดได้ ง่าย เพราะต้องใช้การแบ่งส่วน และใช้การประมาณค่าดังนั้นการฝึกหัดอ่นค่าบ่อย ๆ จะช่วยให้เกิดความชำนาญ และ ช่วยลดความผิดพลาดลงได้ การอ่านค่าในตำแหน่งที่ไม่ตรงขีด ต้องใช้วิธีแบ่งเฉลี่ยค่าออกมาเป็นส่วนย่อย ๆ ลงทีละ ส่วนเป็นลำดับซึ่งจะช่วยให้การอ่านค่าถูกต้องมากขึ้น ลักษณะการแบ่งค่าสเกลย่อยแสดงได้ดังรูป
จากรูป แสดงตำแหน่งเข็มชี้ชี้ค่าส่วนย่อยของสเกล ขีดที่แบ่งครึ่งของเลข 4 และเลข 6 บนสเกลคือ เลข 5 เข็มชี้ชี้ค่าระหว่างเลข 4 และเลข 5 เมื่อแบ่งครึ่งเลข 4 และเลข 5 จะได้เ ลข 4.5 เข็มชี้ชี้ค่าต่ำกว่าค่า 4.5 เล็กน้อย จึงอ่านค่าออกมาได้ประมาณ 4.4 โวลต์
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 10:12:23 am » |
|
บทสรุป
การดัดแปลงดาร์สันวาล์มิเตอร์ให้เป็นโวลต์มิเตอร์ ทำได้โดยการเพิ่มตัวต้านทานอันดับต่ออันดับร่วมกับ ดาร์สันวาล์มิเตอร์ หรือต้องการดัดแปลงให้โวลต์มิเตอร์ วัดแรงดันได้สูงขึ้น ก็ทำได้เช่นเดียวกัน สามารถสร้างให้วัด แรงดันได้หลายค่า ทั้งเป็นมิลลิโวลต์มิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และกิโลโวลต์มิเตอร์ ตัวต้านทานอันดับทำหน้าที่จำกัด จำนวนกระแสที่ไหลผ่านเข้าโวลต์มิเตอร์ไม่เกินกว่าค่ากระแสเดิมที่มิเตอร์ทนได้ การปรับเปลี่ยนค่าความต้านทาน ของตัวต้านทานอันดับทำให้โวลต์มิเตอร์สามารถวัดปริมาณแรงดันได้เปลี่ยนไป โดยการคำนวณค่าต่าง ๆ ของโวลต์มิเตอร์
การต่อโวลต์มิเตอร์วัดค่าแรงดันไฟฟ้าในวงจร โวลต์มิเตอร์ต้องต่อขนานกับวงจรไฟฟ้าเสมอ การวัดแรงดัน ไฟ ตรงนั้นขณะต่อโวลต์มิเตอร์คร่อมจุดวัดต้องคำนึงถึงขั้วโวลต์มิเตอร์ และขั้วแรงดันที่ตกคร่อมจุดนั้น การต่อวัดขั้ว ต้องตรงกันโดยใช้หลักดังนี้ ใกล้บวกต่อบวก ใกล้ลบต่อลบ ขนาดของโวลต์มิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาใช้งานมีหลายขนาด การเลือกโวลต์มิเตอร์มาใช้งานต้องเลือกย่านวัดค่า ให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสที่ทำการวัดเพื่อให้เข็มชี้ชี้ค่าในย่านที่เหมาะสมไม่ต่ำกว่าไปหรือสูงเกินไป เพราะอาจ ทำให้โวลต์มิเตอร์ชำรุดเสียหายได้ การฝึกฝนอ่านค่าแรงดันบ่อย ๆ และละเอียดรอบคอบ ย่อมจะช่วยให้สามารถอ่านค่าได้ถูกต้อง และรวดเร็ว โวลต์มิเตอร์ที่มีย่านวัดและสเกลหลายค่า การวัดค่าการอ่านทำได้ในวิธีเดียวกัน
|
|
|
|
|