ไอคิว IQ เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก
อีคิว EQ ถึงแม้จะเป็นศักยภาพทางสมองเหมือนกันแต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาให้ดีขึ้นได้
ปัจจุบัน การวัดไอคิวมักใช้แบบทดสอบของเวคสเล่อร์ ที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปีค.ศ.1930 โดยอาศัย
งานวิจัยของนักวิชาการและนักการทหาร เป็นกลุ่มข้อทดสอบทั้งหมด 11 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ภาษาโต้
ตอบ 6 กลุ่ม ไม่ต้องใช้ภาษาโต้ตอบ 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไป เป็นคำถามเพื่อตรวจวัดความสนใจความรู้รอบตัว
2. ความคิด ความเข้าใจ
3. การคิดคำนวณ
4. ความคิดที่เป็นนามธรรม โดยให้หาความเหมือน
5. ความจำระยะสั้น โดยใช้การจำจากตัวเลข
6. ภาษาในส่วนของการใช้คำ
7. การต่อภาพในส่วนที่ขาดหายไป
8. การจับคู่โครงสร้าง โดยดูจากรูปร่างหรือลวดลาย
9. การเรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ
10. การต่อภาพเป็นรูป ด้วยการต่อจิ๊กซอร์
11. การหาความสัมพันธ์ของตัวเลขและสัญลักษณ์
การจัดค่าระดับไอคิว
- ฉลาดมาก (very superior) 130 ขึ้นไป
- ฉลาด (superior) 120-129 (5 5 5 ไม่อยากคุยว่าผม อยู่ในระดับนี้น่ะ ได้ 123)
- สูงกว่าปกติ (bright normal) 110-119
- ปกติ (normal) 90-109
- ต่ำกว่าปกติ (dull normal) 80-89
- คาบเส้น (borderline) 70-79
- ปัญญาอ่อน (mental retardation) ต่ำกว่า 70
แบบทดสอบ IQ Online
http://www.kanid.com/iqtest.php เนื่องจาก IQ สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงมีผู้ให้ความสำคัญกับ IQ มาโดยตลอด เด็กที่เรียน เก่งจะมีแต่คนชื่นชม พ่อแม่ครูอาจารย์รักใคร่ ต่างจากเด็กที่เรียนปานกลางหรือเด็กที่เรียนแย่มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่า ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านี้อาจจะมีความสามารถทางด้านอื่น เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพียงแต่ไม่มีความถนัดเชิงวิชาการเท่านั้นเอง
มาในช่วงหลังๆ ความเชื่อมั่นใน IQ เริ่มสั่นคลอนเมื่อมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการวัด และความสำคัญของ IQ จนในที่สุดเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาจึงยอมรับกันว่า แท้จริงแล้วในความเป็นจริงชีวิตต้องการทักษะและความสามารถในด้านอื่นๆ อีกมากมาย ที่นอกเหลือไปจากการจำเก่ง การคิดเลขเก่ง หรือการเรียนเก่งซึ่งความสามารถเหล่านั้นอาจจะช่วยให้คน ๆ หนึ่งได้เรียน ได้ทำงานในสถานที่ดี ๆ แต่คงไม่สามารถเป็นหลักประกันถึงชีวิตที่มีความสุขได้
สำหรับในตอนนี้เราๆ คงได้ยินคำว่า "EQ" กันมากขึ้นแล้วนะ และในปัจจุบันนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า EQ หรือวุฒิภาวะทางอารมณ์นั้นมีความสำคัญกว่า IQ เพราะคนที่มี EQ สูง จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆและใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุขมากกว่าคนมี IQ สูงแต่ EQต่ำ
ส่วนการวัด EQ เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีแบบมาตรฐานที่แน่นอน เป็นเพียงการประเมินเพื่อให้ผู้วัดมองเห็นความบกพร่องของความสามารถทางด้านอารมณ์ ที่ต้องพัฒนาแก้ไข กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยประเมินจากความสามารถด้านหลัก 3 ด้านคือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ 9 ด้าน
ดี
1. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
2. เห็นใจผู้อื่น
3. รับผิดชอบ
เก่ง
4. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
5. การตัดสินใจแก้ปัญหา
6. มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
สุข
7. ภูมิใจในตนเอง
8. พอใจในชีวิต
9. มีความสุขสงบ
ไปวัด EQ กับกรมสุขภาพจิตกันเถอะ
http://www.watpon.com/test/emotional.htm เครดิต
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=11e3679b1c07267b&hl=th&table=%2Fguru%2Fuser%3Fuserid%3D04593461304520277592%26tab%3Dwtmtoa%26hl%3Dth