สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:42:40 pm » |
|
ที่มา http://www.mea.or.th/internet/understanding_emf_web/emf_thai/webpage_thai/page01_thai.htmสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึง เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มี ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบ วัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและ สนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF) หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ 1) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ สนามแม่เหล็กโลก คลื่นรังสีจากแสงอาทิตย์ คลื่นฟ้าผ่า คลื่นรังสีแกมมา เป็นต้น 2) เกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:45:35 pm » |
|
สนามเกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
แบบจงใจ คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จงใจ สร้างให้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ ประโยชน์โดยตรงจากคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นนี้ เช่น ให้สามารถส่งไปได้ในระยะ ไกลๆ ด้วยการส่งสัญญาณของระบบสื่อสาร สัญญาณเรดาร์ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นโทรทัศน์ และ คลื่นวิทยุ และการใช้คลื่นไมโครเวฟ ในการให้ความร้อน เป็นต้น
แบบไม่จงใจ คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์ โดยไม่ได้มี วัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ประโยชน์ โดยตรงจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เช่น ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (สายส่งไฟฟ้า) รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:48:35 pm » |
|
สนามแม่เหล็กไฟฟ้ายังสามารถแบ่ง ออกเป็น สนามแม่เหล็กไฟฟ้าสถิต ที่ไม่มีการเปลี่ยนตามเวลา (Static Field หรือ DC Field) ตัวอย่างเช่น สนามไฟฟ้าระหว่าง ก้อนเมฆกับพื้นโลก สนามแม่เหล็กจาก แม่เหล็กถาวร สนามแม่เหล็กโลก เป็นต้น
|
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:51:11 pm » |
|
ส่วนอีกประเภทคือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนตามเวลา (Dynamic Field หรือ AC Field) ตัวอย่างเช่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ (50 Hz) และ ระบบสื่อสาร เป็นต้น
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:52:12 pm » |
|
สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแถบคลื่นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Spectrum) ซึ่งแถบคลื่นความถี่นี้จะเป็นตัวบอกถึง ระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy หรือ Photon Energy) โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงจะมี ระดับของพลังงานสูง และ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำก็จะมี ระดับของพลังงานที่ต่ำ
แถบคลื่นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรียงลำดับความถี่ จากสูงไปสู่ต่ำ เป็นดังนี้ รังสีคอสมิก รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ แสงอาทิตย์ คลื่นความร้อน คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ และ สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า ดังแสดงในรูป
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:52:47 pm » |
|
อย่างไรก็ตาม สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าเป็น เพียงส่วนหนึ่งของแถบความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความ แตกต่างกันอย่างมากเมื่อเทียบกับรังสีแกมมาซึ่งมีความถี่อยู่ในย่าน การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดไอออน (Ionization Radiation) [1] และสามารถทำลายการยึดเหนี่ยวของโมเลกุลได้ นั่นหมายความว่ารังสีแกมมาและการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดไอออนสามารถ ทำลายส่วนต่างๆ ของดีเอ็นเอ (DNA) และการได้รับรังสีชนิดนี้สามารถนำไปสู่โรคมะเร็งได้
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีแถบคลื่นความถี่ที่ต่ำลงมา ระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าก็จะมีค่าลดลง ตัวอย่างเช่น คลื่นไมโครเวฟ ซึ่งมีพลังงานไม่เพียงพอที่จะทำลาย การยึดเหนี่ยวของโมเลกุลได้ อย่างไรก็ตามการได้รับการแผ่รังสีของคลื่นไมโครเวฟที่มีค่าสูง โดยตรงสามารถทำให้เกิดความร้อนได้เช่นเดียวกับการทำให้อาหารสุกโดยใช้ เตาไมโครเวฟ
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:53:31 pm » |
|
สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า มีความถี่อยู่บนแถบคลื่นความถี่ของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ต่ำมาก [2] สนามแม่เหล็กจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้านั้น มีระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อยมากๆ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำลายการยึดเหนี่ยว ของโมเลกุลได้
แต่อย่างไรก็ดี เซลล์ร่างกายคนเราสามารถตอบสนองกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มี พลังงานต่ำด้วย ในกรณีที่ขนาดของสนามแม่เหล็กไฟฟ้านั้นมีค่าสูง ซึ่งปฏิกิริยาเหล่านี้ จะเป็นปฏิกิริยาทางอ้อม (ผลกระทบทางกายภาพ) โดยยังไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบทางอ้อมนี้จะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:54:15 pm » |
|
อภิธานศัพท์
[1] Ionization Radiation คือ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการแตกตัวของอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่มีประจุบวกและลบ โดยขึ้นอยู่กับการได้หรือสูญเสียอิเล็กตรอน [2] ย่านความถี่ต่ำมาก (Extremely Low Frequency : ELF) มีความถี่อยู่ในช่วง 3 Hz ถึง 3,000 Hz (3 kHz) สำหรับประเทศไทยใช้ความถี่ ในการส่งกระแสไฟฟ้าที่ 50 Hz
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:56:13 pm » |
|
เส้นแรงไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้าและเส้นแรงไฟฟ้า ประจุไฟฟ้ามีทั้งประจุบวกและประจุลบ โดยเส้นแรงไฟฟ้าของประจุบวกจะพุ่งออก และของประจุลบจะพุ่งเข้าหา แสดงดังรูป ด้านบน ในที่ที่มีเส้นแรงไฟฟ้าเราเรียกว่ามี สนามไฟฟ้า ทิศทางของเส้นแรงไฟฟ้าคือทิศทางของ สนามไฟฟ้าที่จุดนั้นๆ
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:57:22 pm » |
|
เส้นแรงแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก เมื่อนำกระดาษแข็งวางบนแท่งแม่เหล็ก โรยเศษผงเหล็กละเอียดบนกระดาษแล้วค่อยๆ เคาะด้วยนิ้วเบาๆ ผงเหล็กจะเรียงตัวตามเส้น แรงแม่เหล็กจากขั้ว N ไปขั้ว S อย่างสวยงาม ดังรูปด้านบน โดยในที่ที่มีเส้นแรงแม่เหล็ก เราเรียกว่ามี สนามแม่เหล็ก
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:58:16 pm » |
|
เส้นแรงแม่เหล็กรอบตัวนำ รูปด้านบนแสดงเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น รอบตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ซึ่งมี ลักษณะเป็นรูปวงกลม โดยเส้นแรงแม่เหล็ก มีทิศทางไปในทิศของการขันสกรูเกลียวขวา เมื่อกระแสมีทิศทางพุ่งเข้าและจะไปในทิศ การขันสกรูเกลียวซ้ายเมื่อกระแสพุ่งออก
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:59:03 pm » |
|
สนามไฟฟ้าจากธรรมชาติ สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนโลกของเรานี้ เป็นสนามไฟฟ้าสถิตที่ไม่มีการเปลี่ยนตามเวลา หรือ มีค่า เกือบคงที่ (Static Field หรือ DC Field) ซึ่งเกิดจากการถ่ายเท และรวมตัวกันของประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆ และสนามไฟฟ้า บนโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า สนามไฟฟ้าจากธรรมชาติบริเวณใกล้พื้นโลก ขณะปกติจะมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 200 โวลต์ต่อเมตร (200 V/m) และสนามไฟฟ้าจากธรรมชาตินี้อาจมีค่าสูงถึง 50,000 V/m ในช่วงเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #16 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:00:11 pm » |
|
สนามแม่เหล็กจากธรรมชาติ สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนโลก หรือ สนามแม่เหล็กโลก เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในแกน ของโลก ซึ่งเป็นสนามแม่เหล็กสถิตมีค่าค่อนข้างคงที่ และ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (DC Field) เราใช้ประโยชน์จาก สนามแม่เหล็กโลกในการระบุ ทิศเหนือ/ทิศใต้ โดยเฉลี่ย สนามแม่เหล็กโลกมีค่าประมาณ 500 มิลลิเกาส์ (500 mG)
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #17 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:02:38 pm » |
|
สนามไฟฟ้า
1) เกิดจากประจุไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้า) โดยไม่จำเป็นต้องมีกระแสไหล โคมไฟที่เสียบปลั๊กแล้วแต่ยังไม่ได้เปิด สวิตช์ จะมีแรงดันไฟฟ้าปรากฏที่สายไฟฟ้า และทำให้มีสนามไฟฟ้าเกิดขึ้น
2) หน่วยที่ใช้วัด คือ โวลต์ต่อเมตร (Volts per meter: V/m) หรือ กิโลโวลต์ต่อ เมตร (kilovolts per meter: kV/m)
1 kV = 1,000 V
3) การลดทอนสนามไฟฟ้า ทำได้ง่าย โดยใช้ วัสดุตัวนำที่มีการต่อลงดิน บังหรือกั้นไว้ เช่น รั้วเหล็ก อาคาร หรือ ต้นไม้ เป็นต้น
4) ระดับของสนามไฟฟ้าขึ้นอยู่กับขนาด ของแรงดันไฟฟ้า และจะมีค่าลดลงเมื่อระยะ ห่างจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #18 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:05:52 pm » |
|
สนามแม่เหล็ก
1) เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำ เช่น สายไฟฟ้า
โคมไฟที่เสียบปลั๊กและมีการเปิดสวิตช์ แล้วนั้น จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในสายไฟฟ้า และทำให้มีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นด้วย
2) หน่วยที่ใช้วัด คือ เกาส์ (Gauss: G) หรือ เทสลา (Tesla: T) 1 มิลลิเกาส์ (mG) = 0.1 ไมโครเทสลา (mT) มิลลิ = 1/1,000 (1 ในพันส่วน) ไมโคร = 1/1,000,000 (1 ในล้านส่วน)
3) การลดทอนสนามแม่เหล็ก โดยใช้วัสดุ ทั่วไปทำได้ยาก ต้องใช้วัสดุพิเศษที่มี คุณสมบัติดูดซับสนามแม่เหล็กได้ดี เช่น แผ่นเหล็กพิเศษที่ใช้ทำแกนของหม้อแปลง ไฟฟ้า เป็นต้น
4) ระดับของสนามแม่เหล็กขึ้นอยู่กับขนาด ของกระแสไฟฟ้า และจะมีค่าลดลงเมื่อระยะ ห่างจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #19 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:08:11 pm » |
|
ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงปัจจุบันจ่ายด้วยระบบแรงดันไฟฟ้า ขนาดตั้งแต่ 12,000 โวลต์ 24,000 โวลต์ 69,000 โวลต์ และ 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่ และมีการจ่ายด้วยระบบ 230,000 โวลต์ อยู่บ้าง การเรียกระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้า- แรงสูงมักจะเรียกเป็นหน่วยของพันโวลต์ว่า เควี (kV) หรือ กิโลโวลต์ (kilovolts) เช่น 12,000 โวลต์ จะเรียกว่า 12 เควี หรือ 12 กิโลโวลต์ เป็นต้น ขนาดของสนามแม่เหล็กนั้นไม่สามารถคาดเดาได้จากแรงดัน ของระบบไฟฟ้า กล่าวคือ ไม่เสมอไปที่สายส่งไฟฟ้าระบบแรงดัน 69 เควี จะสร้างสนามแม่เหล็กที่มีขนาดสูงกว่าระบบแรงดันต่ำ 220 โวลต์ นั่น เป็นเพราะกระแสที่ไหลในสายไฟฟ้าเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็ก ไม่ใช่แรงดันไฟฟ้า ขนาดของสนามแม่เหล็กจะแปรผันโดยตรงกับขนาด กระแสไฟฟ้า นั่นหมายถึงระดับของสนามแม่เหล็กจะมีค่าเพิ่มขึ้นตาม ค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้า
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #20 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:09:55 pm » |
|
โดยธรรมชาติในร่างกายของคนเราจะมีกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการดำรงชีวิตและ เป็นส่วนที่สำคัญ ร่างกายจะถูกสั่งงานด้วยการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นประสาท ทั้งหลายเพื่อให้ร่างกายทำงานอย่างปกติ ปฏิกริยาทางชีวเคมีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ กระบวนการทางไฟฟ้าตั้งแต่กระบวนการย่อยอาหารจนถึงการทำงานของสมอง ผลกระทบของการสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กจากภายนอกต่อร่างกาย โดยหลักๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับ ค่าความถ ี่และ ขนาด ของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ค่าความถี่เรียกง่ายๆ คือ จำนวนรอบการแกว่งของสัญญาณ หรือ จำนวนรอบต่อวินาที โดยที่ ณ ค่าความถี่ต่ำ (50 Hz) ซึ่งเป็นของระบบส่งจ่ายกระแสไฟฟ้านั้น สนามไฟฟ้าและ สนามแม่เหล็กจะผ่านร่างกายไป ในขณะที่ ระดับความถี่วิทยุ สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก บางส่วนจะถูกดูดกลืนผ่านเข้าสู่ร่างกายของคนเราซึ่งตามธรรมชาตินั้นทุกคนก็ได้รับ ผลกระทบดังกล่าวจากการสัมผัสแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กตามที่กล่าวในข้างต้น
|
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #23 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:13:19 pm » |
|
ในทางทฤษฎีจะพบว่าเมื่อเรายืนอยู่ใต้สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มีการติดตั้งตามมาตรฐาน แล้ว สนามไฟฟ้าจะผ่านร่างกายโดยจะมีประจุไฟฟ้ากระจายสะสมบนผิวของร่างกายและ ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงสู่พื้นดิน ในขณะที่ สนามแม่เหล็กจะผ่านร่างกาย และจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลวนภายในร่างกายตามปกติเหมือนที่ได้รับจาก แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #24 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:14:34 pm » |
|
ผลกระทบหรืออันตรายจากสนามไฟฟ้าและ สนามแม่เหล็กที่มีต่อคนและสัตว์ เป็นคำถามที่มีการกล่าวถึง อยู่เสมอๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีบ้านเรือนหรือที่ทำงานอยู่ใกล้กับ สายส่งไฟฟ้าแรงสูง จะมีความวิตกกังวลถึงอันตรายที่อาจจะ ขึ้นจากสิ่งที่มองไม่เห็น ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาวิจัย กันทั่วโลก แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ว่ามีหรือไม่มีอันตราย แต่ประการใด เพราะไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลที่ยืนยันหรือ พิสูจน์ได้ชัดเจน
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #25 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:16:20 pm » |
|
ผลกระทบของสนามแม่เหล็กมักจะเกิดขึ้นกับ อุปกรณ์ที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็ก โดยเฉพาะ กับอุปกรณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อสนามแม่เหล็ก ระดับของ สนามแม่เหล็กที่มีผลกระทบจะขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ ตัวอย่างเช่น จอคอมพิวเตอร์ชนิดหลอดภาพ CRT เมื่อได้รับ สนามแม่เหล็กจากภายนอกเกินกว่า 10 mG ขึ้นไป อาจจะ ทำให้ภาพบนจอสั่นพลิ้วหรือ บัตรที่มีการบันทึกข้อมูลลงบนแถบแม่เหล็ก เช่น บัตร เอทีเอ็ม เมื่อได้รับสนามแม่เหล็กเกินกว่า 100,000 mG จะทำให้ข้อมูล บนแถบแม่เหล็กมีผลกระทบจนบัตรใช้งานไม่ได้
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #27 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:18:22 pm » |
|
เส้นที่เป็นคลื่นและภาพที่สั่นพลิ้วบนจอคอมพิวเตอร์นั้นเป็นอาการที่สนามแม่เหล็ก ของหลอดภาพถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กภายนอก
สนามแม่เหล็กสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือ สายไฟฟ้า ดังนั้นสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากเครื่องใช้ ไฟฟ้า และการส่งจ่ายไฟฟ้า รวมถึงระบบไฟฟ้า ภายในอาคารล้วนเป็นแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก ที่สามารถทำให้เกิดอาการสั่นพลิ้วของภาพบนจอ คอมพิวเตอร์ชนิดหลอดภาพ CRT ได้ทั้งสิ้น
โดยทั่วไปสนามแม่เหล็กจะต้องมีค่ามากกว่า 10 mG จึงจะทำให้เกิดการสั่นพลิ้ว ของภาพบนจอคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพ โดยจอภาพขนาดใหญ่ (วัดเส้นทแยงมุมของจอภาพหน่วยเป็นนิ้ว) จะมีความอ่อนไหวต่อสนามแม่เหล็กมากกว่า จอภาพขนาดเล็ก นั่นหมายถึงจอภาพขนาดใหญ่จะถูกรบกวนได้ง่ายกว่า
|
|
|
|
|
สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
|
 |
« ตอบ #29 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 11:21:06 pm » |
|
ก่อนอื่นต้องพยายามหาแหล่งกำเนิดหรือตัวสร้างสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดการสั่นพลิ้ว โดยการปิดไฟแสงสว่างและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ทีละอย่างและให้สังเกตอาการสั่นพลิ้ว ที่เปลี่ยนไป ในกรณีที่เป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กเมื่อปิดแล้วอาการสั่นพลิ้วจะลดลง เมื่อหาแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดการสั่นพลิ้วได้แล้ว วิธีการแก้ไขอย่างแรก คือ ให้พยายามย้ายจอคอมพิวเตอร์ หรือ แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กอย่างใดอย่างหนึ่งให้ห่าง จากกันจนกว่าอาการสั่นพลิ้วจะหมดไป ซึ่งในบางกรณีสามารถแก้ไขอาการสั่นพลิ้วได้ โดยง่ายด้วยการเปลี่ยนทิศทางการวางจอภาพ (หมุนจอภาพ)
|
|
|
|
|