แสดงกระทู้
|
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 52
|
39
|
หมวดหมู่ทั่วไป / เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ / Re: เครื่องกำเนิดสัญญาณและความถี่
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 11:44:37 pm
|
ประโยชน์การใช้งาน
ประโยชน์ใช้งานของเครื่องกำเนิดสัญญาณมีมากมายหลายประการด้วยกัน กล่าวโดยสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1.ใช้เป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณมาตรฐาน เพื่อป้อนไปใช้งาน
2. ใช้เป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณอ้างอิง เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
3. ใช้เพื่อการทดสอบและปรับแต่งเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น เครื่องรับวิทยุ เครื่องขยายเสียง เครื่องรับส่งวิทยุ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4.ใช้ในการตรวจซ่อมอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
5. ใช้เป็นอุปกรณ์ร่วมในการทำงานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
6. ใช้ในการตรวจซ่อมอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
|
|
|
40
|
หมวดหมู่ทั่วไป / เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ / Re: เครื่องกำเนิดสัญญาณและความถี่
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 11:44:04 pm
|
เครื่องกำเนิดความถี่วิทยุ
เป็นเครื่องที่ผลิตสัญญาณหรือผลิตความถี่วิทยุหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาร์ เอฟซิกแนลให้เอาท์พุต30K - 300 MHz วงจรภาคที่หนึ่ง เป็นวงจรเปรยบเทียบแรงดันและกำเนิดสัญญาณรูปคลืนจัตุรัส วงจรภาคที่ 2 เป็นวงจรอินทิเกรต ทำหน้าที่กำเนิดสํญญาณทางเอาท์พุต
แผนที่บล็อกของฟังก์ชันเจเนอเลเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วยวงจรอินติเกรทที่เป็นตัวป้อนสัญญาณสามเหลี่ยมให้กับวงจรจุดชนวนของชมิตต์และตัวแปลงผันคลื่นไซน์
|
|
|
41
|
หมวดหมู่ทั่วไป / เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ / Re: เครื่องกำเนิดสัญญาณและความถี่
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 11:42:49 pm
|
เครื่องกำเนิดความถี่เสียง
เป็นเครื่องที่ทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์ในย่านความถี่เสียง มีย่านอยู่ในช่วง 20Hz-20KHzเครื่องมือชนิดนี้จะผลิตสัญญาณ เป็นรูปเคลื่นซายน์ และสี่เหลียม เราสามารถเปลียนค่าคสามถี่และขนาดของแอมปลิจูลทางเอาต์พุตของสัญญาณของเครื่องกำเนิด ความถี่ประมาณ 25 Vmax พิสัยย่านการวัดในช่วง 20 Hz-20KHz วงจร ออสซิลเลเตอร์ มีอยู่ 2 แบบ
วงจรออสซิลเลเตอร์แบบวีนบริดจ์ เพราะว่ามันเสถียรภาพของรูปคลื่นเอาท์พุตและความถี่ใช้งานคงที่รูปแบบที่ใช้งานจริง
|
|
|
44
|
หมวดหมู่ทั่วไป / เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ / Re: การใช้มัลติมิเตอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 11:37:38 pm
|
การวัดความต้านทาน
โอห์มมิเตอร์ คือ มิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาไว้วัดค่าความต้านทาน ของตัวต้านทาน (R) โดยอ่านค่าออกมาเป็นค่าโอห์ม โดยมีย่านการวัดทั้งหมด 5 ย่าน คือ x1, x10, x100, x1k และ x10k อ่านค่าความต้านทานได้ตั้งแต่ 2 กิโลโอห์ม ถึง 20 เมกกะโอห์ม
ลำดับขั้นตอนการใช้โอห์มมิเตอร์
1. ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ที่ย่านโอห์ม 2. ใช้สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) และสายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ (-COM) 3 . ปรับซีเล็กเตอร์สวิตช์ตั้งย่านวัดให้ถูกต้อง 4. ก่อนการนำโอห์มมิเตอร์ไปใช้วัดทุกครั้ง และทุกย่าน จะต้องทำการปรับ 0 โอห์มเสมอ 5. ถ้าจะนำโอห์มมิเตอร์ไปวัดค่าความต้านทานในวงจรต้องแน่ใจว่าปิด (OFF) สวิตช์ไฟ ทุกครั้ง
|
|
|
46
|
หมวดหมู่ทั่วไป / เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ / Re: การใช้มัลติมิเตอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 11:35:48 pm
|
การวัดกระแสไฟตรง
ดีซีแอมมิเตอร์ หรือดีซีมิลลิแอมมิเตอร์ คือมิเตอร์วัดกระแสไฟตรง (DC CURRENT) เพื่อจะทราบจำนวนกระแสที่ไหลผ่านวงจรว่ามีค่าเท่าไร การใช้ดีซีแอมมิเตอร์ หรือดีซีมิลลิแอมมิเตอร์ วัดกระแสไฟตรงในวงจร จะต้องตัดไฟแหล่งจ่ายออกจากวงจร และนำดีซีแอมมิเตอร์ หรือดีซีมิลลิแอมมิเตอร์ ต่ออันดับกับวงจร และแหล่งจ่ายไฟ ขั้วของดีซีแอมมิเตอร์ จะต้องต่อให้ถูกต้องมิเช่นนั้นเข็มมิเตอร์จะตีกลับ อาจทำให้มิเตอร์เสียได้ เอซีโวลต์มิเตอร์ มีทั้งหมด 4 ย่าน คือ 50uA, 2.5mA, 25mA และ 0.25 mA มี 3 สเกล แต่นำมาใช้กับการวัดกระแสจะใช้ 2 สเกล คือ 0~50, 0~250 อ่านขีดสเกลที่อยู่ใต้กระจกเงา
ลำดับขั้นการใช้ดีซีมิลลิแอมป์มิเตอร์
1. การต่อดีซีมิลลิแอมมิเตอร์วัดกระแสในวงจร จะต้องต่ออันดับกับโหลดในวงจร 2. ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ในย่าน DCmA 3. ปรับสวิตช์ตั้งย่านการวัดให้ถูกต้อง ถ้าหากไม่ทราบกระแสที่จะทำการวัด ให้ตั้งย่านวัดที่ตำแหน่งสูงสุด (0.25A) ไว้ก่อน แล้วปรับลดย่านให้ต่ำลงทีละย่านจนกว่าเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าที่อ่านได้ง่ายและถูกต้อง 4. ก่อนต่อมิเตอร์วัดกระแสไฟสูงๆ ควรจะปิด (OFF) สวิตช์ไฟของวงจรที่จะวัดเสียก่อน 5. เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อยควรปิด (OFF) สวิตช์ไฟ ของวงจร ที่ทำการวัดเสียก่อนจึงปลดสายวัดของมิเตอร์ออกจากวงจร
|
|
|
48
|
หมวดหมู่ทั่วไป / เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ / Re: การใช้มัลติมิเตอร์
|
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 11:33:48 pm
|
การใช้มัลติมิเตอร์
การวัดแรงดันไฟสลับ เอซีโวลต์มิเตอร์ คือมิเตอร์วัดแรงดันไฟสลับ (AC VOLTAGE) หลักการใช้มิเตอร์ชนิดนี้ จะเหมือนกับดีซีโวลต์มิเตอร์ คือในการใช้งานจะต้องนำไปวัดคร่อมขนานกับโหลดที่ต้องการวัดแรงดันนั้น จะมีส่วนที่แตกต่างจากดีซีโวลต์มิเตอร์ คือในการใช้มิเตอร์วัดคร่อมแรงดันหรือแหล่งจ่ายไฟไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้วมิเตอร์ เพราะแรงดันไฟสลับจะมีขั้วสลับไปสลับมาตลอดเวลา เอซีโวลต์มิเตอร์ มีทั้งหมด 5 ย่าน คือ 0~2.5V, 0~10V, 0~50V, 0~250V และ0~1,000V มี 4 สเกล คือ 0~2.5,0~10, 0~50, 0~250 อ่านขีดสเกลที่อยู่ใต้กระจกเงา
ลำดับขั้นการใช้เอซีโวลต์มิเตอร์
1. ต่อเอซีโวลต์ในขณะวัดค่าแรงดันคร่อมขนานกับโหลด 2. ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ในย่าน ACV 3. ปรับสวิตช์ตั้งย่านการวัดให้ถูกต้อง หากไม่ทราบค่าที่จะวัดว่าเท่าไร ให้ตั้งย่านวัดที่ตำแหน่งสูงสุด (1,000V) ไว้ก่อน แล้วจึงปรับลดย่านให้ต่ำลงทีละย่าน จนกว่าเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าที่อ่านได้ง่ายและถูกต้อง 4. ก่อนต่อมิเตอร์วัดแรงดันไฟสูงๆ ควรจะปิดสวิตช์ไฟ (OFF) ของวงจรที่จะวัดเสียก่อน 5. อย่าจับสายวัดหรือมิเตอร์ขณะวัดแรงดันไฟสูง เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อยควรปิด (OFF) สวิตช์ไฟ ของวงจร ที่ทำการวัดเสียก่อนจึงปลดสายวัดของมิเตอร์ออกจากวงจร
|
|
|
|