ซึ่งสามารถเขียนแผนภาพของสเปคตรัมของอะตอมไฮโดรเจนได้ดังนี้ | ||||
| ||||
ผลของทฤษฎีอะตอมของบอร์สามารถคำนวณหาระดับพลังงานของอะตอม และอธิบายการเกิดสเปกตรัมของไฮโดรเจนได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถทำนายความยาวคลื่นของสเปกตรัมที่ยังไม่ค้นพบซึ่งต่อมาค้นพบภายหลังได้อย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่าแบบจำลองนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยไม่สามารถใช้กับอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้ และไม่สามารถอธิบายสเปกตรัมของอะตอมที่อยู่ในสนามแม่เหล็กได้ | ||||
ดังนั้นได้มีผู้พยายามค้นหาทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อที่จะอธิบายโครงสร้างอะตอมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดวิชากลศาสตร์ขึ้น 2 รูปแบบด้วยกันคือ รูปที่เป็นกลศาสตร์ควันตัม (wave mechanics) ของชโรดิงเจอร์ และรูปที่เป็นกลศาสตร์เมตริกซ์ (matrix mechanics) ของไฮเซนเบอร์ก ซึ่งสองแบบนี้พิสูจน์ได้ภายหลังว่าให้ผลเท่ากัน | ||||
6. ทวิภาคของคลื่นและอนุภาค | ||||
แสงมีสมบัติคู่ คือเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาค โดยแสงมีคุณสมบัติของการแทรกสอดและการเลี้ยวเบน แสดงว่าแสงเป็นคลื่น และจากปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริกทำให้ทราบว่าแสงเป็นอนุภาค (โฟตอน) | ||||
หลุยส์ เดอ บรอยด์ (Louis de Broglie) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้แสดงความเห็นว่า ในสสารทั่วไป ถ้ามีคุณสมบัติเป็นอนุภาค ก็น่าจะมีคุณสมบัติเป็นคลื่นด้วย โดยสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นและอนุภาค โดยการหาความยาวคลื่นของสสารได้จากทฤษฎีของไอสไตน์กับทฤษฎีของแพลงค์ ได้ดังนี้ | ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
โดย ผศ.ปรียา
อนุพงษ์องอาจ | ||||
อ้างอิง :
http://sol.sci.uop.edu/~jfalward/particlesandwaves/particlesandwaves.html
|
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต | 2. สนามไฟฟ้า |
3. ความกว้างของสายฟ้า | 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน |
5. ศักย์ไฟฟ้า | 6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก | 8.การเหนี่ยวนำ |
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ | 10. ทรานซิสเตอร์ |
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ |
12. แสงและการมองเห็น |
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | 14. กลศาสตร์ควอนตัม |
15. โครงสร้างของอะตอม | 16. นิวเคลียร์ |
ครั้งที่
การเรียนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต