Semiconductors
สารกึ่งตัวนำ
สารกึ่งตัวนำ คือ วัสดุที่มีสภาพต้านทาน อยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน และสภาพต้านทานจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือเมื่อเพิ่มปริมาณสารเจือปนที่ใส่ลงไป สารกึ่งตัวนำมีใช้อย่างกว้างขวางในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
Doping : การใส่สารเจือปน
เป็นการใส่สารเจือปนจำนวนน้อยเข้าไปในสารกึ่งตัวนำจะได้สารกึ่งตัวนำชนิด p และ n ขึ้นกับสารเจือปนที่ใช้ เมื่อนำสารกึ่งตัวนำทั้ง 2 ชนิดนี้แตะกันจะได้ไดโอด หรือทรานซิสเตอร์
Diode : ไดโอด
เป็นอุปกรณ์ที่ทำด้วยสารกึ่งตัชนิด p ชิ้นหนึ่ง และชนิด n อีกชิ้นหนึ่งแตะกัน ไดโอดมีความต้านทาน ต่ำมากในทิศทางหนึ่ง (กรณีที่เป็นการไบอัสไปข้างหน้า) และมีความต้านทานสูงมาก (เมื่อไบอัสย้อนกลับ)
Light emitting iode (LED) : ไดโอดส่องแสง
เป็นไดโอดที่มีความต้านทาน สูงกว่าปกติและมีแสงเปล่งออกมาแทนที่จะเป็นความร้อน
Thermistor : เทอร์มิสเตอร์
เป็นอุปกรณ์ที่ทำด้วยสารกึ่งตัวนำมีความต้านทานเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ ใช้สำหรับตรวจวัดทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
จากพจนานุกรมฟิสิกส์ ฉบับภาพประกอบ แปลโดยสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต | 2. สนามไฟฟ้า |
3. ความกว้างของสายฟ้า | 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน |
5. ศักย์ไฟฟ้า | 6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก | 8.การเหนี่ยวนำ |
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ | 10. ทรานซิสเตอร์ |
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ |
12. แสงและการมองเห็น |
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | 14. กลศาสตร์ควอนตัม |
15. โครงสร้างของอะตอม | 16. นิวเคลียร์ |
ครั้งที่
การเรียนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต