กล้องโทรทรรศน์วิทยุ และสเปกโทรมิเตอร์ (radio Telescopes and spectrometers) แสงที่มองเห็นได้ ทำให้สามารถแลเห็นเทห์ฟากฟ้าได้เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีเทห์ฟากฟ้าจำนวนมากที่ไม่มีแสงให้เห็น ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นเพราะเทห์ฟากฟ้าเหล่านั้นถูกปกคลุมด้วย ธุลีระหว่างดวงดาว (interstella dust) ที่ดูดกลืนแสงไว้หมดหรือไม่ก็เป็นเพราะเทห์ฟากฟ้าเหล่านั้นอยู่ห่างไกลออกไปจนเกินกำลังที่กล้องโทรทรรศน์เชิงแสง / กล้องโทรทรรศน์เชิงทัศนศาสตน์ (optical telescope) จะส่องแลเห็นได้ ด้วยเหตุนี้เหล่านักดาราศาสตร์จึงได้นำเอาการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation ) บางอย่างที่มีลักษณะคล้ายกับคลื่นวิทยุมาใช้ นอกจากนั้น สเปกโทรมิเตอร์ (spectrometer ) ก็ช่วยให้สามารถศึกษาถึงส่วนประกอบของเทห์ฟากฟ้าต่างๆได้ กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope) ในปี ค.ศ. 1931 ขณะที่วิศวกรผู้หนึ่งกำลังพยายามหาทางปรับปรุงการรับวิทยุให้ดีขึ้น และตัดคลื่นรบกวนที่เกิดขึ้นในการรับวิทยุนั้น ก็พบโดยบังเอิญว่าคลื่นรบกวนที่เกิดขึ้นนั้นมีบางคลื่นมาจากอวกาศ และตั้งแต่นั้นมาเหล่านักดาราศาสตร์ก็ได้ใช้ความรู้ใหม่นี้สำหรับสำรวจฟากฟ้า ยังผลให้มีการสำรวจพบดาวฤกษ์ต่างๆ อีกหลายดวง และลักษณะเฉพาะตัวของเอกภพอีกหลายประการในเวลาต่อมา แสง (light) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรังสี ( radiation) ที่เทห์ฟากฟ้าแผ่ออกมา ความยาวคลื่น (wavelenght) ของรังสีที่แผ่ออกมานั้นยาวไม่เท่ากัน กล้องโทรทรรศน์วิทยุตรวจสอบได้ทุกความยาวคลื่นรวมทั้งคลื่นที่ไม่ได้เป็นส่วนของแสงที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วย กล้องโทรทรรศน์วิทยุเหล่านี้มีขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่กอปรขึ้นด้วยตัวสะท้อน ( reflector) ที่ทำเป็นรูปกระจกเงาเว้าเพื่อรวมแสงให้มีความเข้มสูงไว้ตรงจุดศูนย์กลางจุดหนึ่งซึ่งเป็นที่รับรังสีนั้นไว้ - เรียกอีกอย่างว่า สายอากาศ (antenna) ซึ่งจากที่จุดนั้น สัญญาณก็จะถูกแบ่งส่งไปยังเครื่องขยาย (amplifier) เพื่อทำให้สัญญาณนั้นอยู่ในลักษณะที่จะใช้ศึกษาได้
กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่อารีซิโบ (Arecibo) ของเปอร์โตริโก (perto Rico) มีจานรับสัญญาณรูปโค้งกลมแบบลูกไข่ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 990 ฟุต ( 300 เมตร)
จากหนังสือ ดาราศาสตร์ essential atlas of astronomy เสถียร บุญฤทธิ์ แปล ชมรมเด็ก 2547 ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณครับ หน้าที่ |