การหักเหของแสงผ่านเลนส์
เลนส์ คือ ตัวกลางโปร่งใสที่มีผิวหน้าเป็นผิวโค้ง
ผิวโค้งของเลนส์อาจจะมีรูปร่างเป็นพื้นผิวโค้งทรงกลม ทรงกระบอก
หรือ พาราโบลาก็ได้ เลนส์แบบง่ายสุดเป็นเลนส์บางที่มีผิวโค้งทรงกลม
โดยส่วนหนาสุดของเลนส์จะมีค่าน้อยเมื่อเทียบกับรัศมีความโค้ง
เลนส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เลนส์นูน (Convex lens ) กับเลนส์เว้า
(Concave lens )
เลนส์นูน คือ เลนส์ที่มีตรงกลางหนากว่าตรงขอบเสมอ
เมื่อผ่านลำแสงขนานเข้าหาเลนส์จะทำให้รังสีตีบเข้าหากัน
และไปตัดกันจริงที่จุดโฟกัสจริง ( Real focus ) ดังรูป
มีเลนส์นูนแบบต่าง ๆ ดังรูป
เลนส์นูนสองด้าน ( Double Convex Lens) ดังรูป a
เลนส์นูนแกมราบ ( Plano Convex Lens) ดังรูป b
เลนส์นูนแกมเว้า ( Concavo Convex Lens) ดังรูป c
เลนส์เว้า คือ เลนส์ที่มีตรงกลางบางกว่าตรงขอบเสมอ
เมื่อผ่านลำแสงขนานเข้าหาเลนส์จะทำให้รังสีถ่างออกจากกันและ
ถ้าต่อแนวรังสี จะพบว่ารังสีจะไปตัดกันที่จุดโฟกัสเสมือน ( Virtual
focus ) ดังรูป
มีเลนส์เว้าแบบต่าง ๆ ดังรูป
เลนส์เว้า 2 ด้าน ( Double Concave Lens ) ดังรูป a
เลนส์เว้าแกมราบ ( Plano Concave Lens) ดังรูป b
เลนส์เว้าแกมนูน ( Convexo Concave Lens ) ดังรูป c
ส่วนประกอบที่สำคัญของเลนส์
เลนส์นูน ดังรูป
เลนส์เว้า ดังรูป
อธิบาย
- แกนมุขสำคัญ ( Principle Axis ) ของเลนส์ (
) คือเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางความโค้ง
- จุดโฟกัสของเลนส์นูน ( Principle Focus ,จุด
)
คือ จุดที่รังสีขนานเดิมตีบไปตัดกัน
- Optical Center ของเลนส์ ( จุด O) คือ จุดที่อยู่บนแกนมุขสำคัญ
ซึ่งรังสีเมื่อผ่านเข้าเลนส์และผ่านจุดนี้แล้ว
แสงที่ผ่านออกมาจะมีแนวขนานกับรังสีเดิม
- จุดโฟกัสจริง เป็นจุดที่อยู่บนแกนมุขสำคัญของเลนส์นูน
ลำแสงขนานเมื่อผ่านเลนส์นูนจะหักเหไปตัดกันจริงที่จุดโฟกัส
ซึ่งอยู่ในด้านตรงข้ามกับวัตถุ
- จุดโฟกัสเสมือน เป็นจุดที่อยู่บนแกนมุขสำคัญของเลนส์เว้า
ลำแสงขนานเมื่อผ่านเลนส์เว้าจะหักเหออกจากกัน
โดยมีแนวรังสีเสมือนไปตัดกันที่จุดโฟกัสเสมือน
ซึ่งอยู่ด้านเดียวกับวัตถุ
- ความยาวโฟกัส (f ) คือ ระยะจากจุดโฟกัสถึงจุด Optical Center
ดังรูปด้านบน
วิธีเขียนทางเดินแสงเพื่อหาตำแหน่งภาพของวัตถุ
ของเลนส์ทั้งสอง มีขั้นตอนดังนี้
- จากวัตถุลากรังสีขนานกับแกนมุขสำคัญ
ตกกระทบกับเลนส์ แล้วหักเหผ่านจุดโฟกัส
- จากวัตถุลากรังสีผ่านจุด Optical Center
แล้วต่อรังสีให้ตัดกับรังสีในขั้นตอนแรกตำแหน่งที่รังสีตัดกัน คือ
ตำแหน่งภาพ ดังรูป
ภาพที่เกิดจากการวางวัตถุ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ของเลนส์นูน
ถ้าวัตถุอยู่ที่ตำแหน่งที่ไกลมากหรือระยะอนันต์
จะได้ภาพจริงมีขนาดเป็นจุดอยู่ที่จุดโฟกัสดัง movie
- ถ้าวัตถุอยู่ห่างมากกว่าจุดศูนย์กลางความโค้ง
แต่ไม่ถึงระยะอนันต์
จะเกิดภาพจริงหัวกลับ
ขนาดเล็กกว่าวัตถุ อยู่ระหว่างจุด F และ ซึ่งอยู่คนละด้านกับวัตถุ
ดัง movie
- ถ้าวัตถุอยู่ที่จุด C
จะเกิดภาพจริงหัวกลับที่ตำแหน่ง ขนาดเท่ากับวัตถุ
และอยู่คนละด้านกลับวัตถุ ดัง movie ด้านล่าง
- ถ้าวัตถุอยู่ระหว่างจุด C และจุด F จะเกิดภาพจริงหัวกลับ
ขนาดขยายอยู่นอกจุด ซึ่งอยู่คนละด้านกับวัตถุ ดังmovie ด้านล่าง
- ถ้าวัตถุอยู่ที่จุด F จะทำให้เกิดภาพที่ระยะอนันต์
เพราะรังสีแสงที่ออกมาจะเป็นรังสีแสงขนาน ดัง movie
- ถ้าวัตถุอยู่ระหว่างจุด F กับจุด O
จะพบว่ารังสีรังสีที่ผ่านเลนส์มีการเบนออก
และเมื่อเราต่อแนวรังสีที่หักเหผ่านเลนส์
จะพบว่าเกิดภาพเสมือนขนาดขยาย หัวตั้งอยู่ด้านเดียวกับวัตถุ ดัง
movie
หมายเหตุ
- การให้ภาพของเลนส์นูน มีลักษณะเดียวกับการให้ภาพของกระจกเว้า คือ
เลนส์ให้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน
- การเกิดภาพของเลนส์เว้า
จะเหมือนกับการเกิดภาพของกระจกนูน คือ จะให้ภาพเสมือน หัวตั้ง
และมีขนาดเล็กกว่าวัตถุเสมอ
- สำหรับเลนส์ การที่จะรู้ว่าปริมาณใดเป็นปริมาณจริงหรือเสมือนนั้น
ดูได้จาก ตำแหน่งของปริมาณต่าง ๆ คือ
ถ้าปริมาณนั้นมีตำแหน่งอยู่คนละด้านกับวัตถุ
ก็ถือว่าเป็นปริมาณจริง
แต่ถ้าปริมาณนั้นมีตำแหน่งอยู่ด้านเดียวกับวัตถุ
ก็ให้ถือว่าเป็นปริมาณเสมือน
- ภาพจากเลนส์นูน จะมีทั้งภาพจริงและภาพเสมือน
- ภาพจากเลนส์เว้ามีแต่ภาพเสมือนขนาดเล็กกว่าวัตถุ ดัง movie
สูตรที่ใช้ในการคำนวนสำหรับเลนส์ มีดังนี้
- สูตรหาตำแหน่งภาพ
ความยาวโฟกัส เลนส์นูนเป็นบวก เลนส์เว้าเป็นลบ
ระยะวัตถุ วัตถุอยู่หน้าเลนส์ระยะวัตถุเป็นบวก
วัตถุอยู่หลังเลนส์ระยะวัตถุเป็นลบ
ระยะภาพ ภาพอยู่หลังเลนส์ระยะภาพเป็นบวก
ภาพอยู่หน้าเลนส์ระยะภาพเป็นลบ
- สูตรกำลังขยาย ( ไม่พิจารณาเครื่องหมาย )
การสะท้อนของแสงบนกระจกโค้งนูน
การสะท้อนของแสงบนกระจกโค้งนูน ( Convex mirrors )
จะมีผิวสะท้อนอยู่ด้านนอกของส่วนโค้งของวงกลม ดังรูป
เมื่อเราให้รังสี 2
รังสีที่ขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญตกกระทบบนกระจกนูน จะพบว่า
รังสีสะท้อนจะเบนออกจากกัน เพราะฉะนั้น สมบัติที่สำคัญของกระจกนูน
คือ กระจกนูนกระจายแสง ซึ่งเป็นสมบัติที่ตรงข้ามกับกระจกเว้า
และเมื่อเราต่อเส้นรังสีสะท้อนต่าง ๆ ออกไปยังด้านหลังของกระจก
จะพบว่ารังสีเหล่านี้เสมือนไปตัดกันที่จุดโฟกัส F
และเนื่องจากจุดโฟกัส อยู่หลังกระจกจึงเป็นจุดโฟกัสเสมือน
วิธีการเขียนรังสีเพื่อหาภาพที่เกิดจากกระจกโค้งนูน
ทำได้ดังนี้
-
เขียนรังสีขนานกับแกนมุขสำคัญจากวัตถุไปตกกระทบยังกระจกนูน
แล้วเขียนรังสีสะท้อนและแนวรังสีสะท้อนผ่านจุดโฟกัสเสมือน
- เขียนรังสีตกกระทบกระจกนูนให้ผ่านจุดศูนย์กลางความโค้ง C
จะได้รังสีสะท้อนกลับทางเดิม
ตำแหน่งที่รังสีสะท้อนตัดกันก็คือตำแหน่งของภาพ
ตัวอย่างภาพที่ได้จากกระจกโค้งนูน มีดังนี้
- วัตถุอยู่ที่อินฟินิตี้
รังสีตกกระทบจะขนานกับแกนมุขสำคัญแล้วสะท้อนออก
และกระจายออกเสมือนออกจากจุด F ได้ภาพเสมือนขนาดเล็กที่สุด
อยู่ที่จุด F
- วัตถุอยู่นอกกระจกแต่ไม่ถึงอินฟินิตี้
จะได้ภาพเสมือนหัวตั้ง ขนาดเล็กกว่าวัตถุอยู่ระหว่างกระจกและจุด F
- วัตถุอยู่ติดกระจก
ได้ภาพเสมือนหัวตั้งขนาดเท่ากับวัตถุอยู่ที่เดียวกับวัตถุ
สรุป - จะพบว่าภาพที่เกิดจากกระจกนูน
จะเป็นภาพเสมือนขนาดเล็กกว่าวัตถุเท่านั้น
และการเขียนรังสีแสงเพื่อหาภาพที่เกิดจากวัตถุ ณ
ตำแหน่งต่างก็ใช้หลักการเดียวกับที่กล่าวเอาไว้แล้วข้างต้น
การคำนวนเพื่อหาขนาดและ
ตำแหน่งภาพที่เกิดจากกระจกนูน
จะใช้สมการเดียวกับสมการที่ใช้หาขนาดและ
ตำแหน่งภาพที่เกิดจากกระจกเว้า( ปริมาณเสมือนจะใช้เครื่องหมายลบ
ส่วนปริมาณจริงจะใช้เครื่องหมายบวก ) ดังสมการด้านล่าง
การพิจ ารณาเครื่องหมายในการคำนวนเกี่ยวกับกระจกนูน
ปริมาณต่าง ๆ ที่อยู่หลังกระจกเป็นปริมาณเสมือนทั้งสิ้น
และเมื่อแทนค่าปริมาณเสมือนเหล่านี้ลงในสมการต้องแทนค่าเป็นเลขลบ
ดังนั้นความยาวโฟกัสของกระจกนูนต้องเป็นลบ
การสะท้อนของแสงบนกระจกโค้งเว้า
กระจกโค้งเว้า จะมีผิวสะท้อนอยู่ด้านในของส่วนโค้งของวงกลม ดังรูป
ภาพที่เกิดจากการที่รังสีแสงไปตัดกันจริง ๆ เรียกว่า ภาพจริง (
Real image) เราสามารถเห็นภาพชนิดนี้ได้ โดยนำฉากหรือจอมารับภาพ
ภาพจริงที่เกิดจากกระจกเว้าอาจจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่าวัตถุก็ได้
แต่ภาพจริงจะมีลักษณะหัวกลับกับวัตถุเสมอ เช่น
ภาพที่ฉายออกมาจากเครื่องฉายภาพนิ่ง
ภาพที่เกิดจากการที่รังสีแสงเสมือนกับว่าไปตัดกัน เรียกว่า
ภาพเสมือน ( Virtual imageภาพเสมือนนี้ไม่สามารถนำฉากมารับได้
ภาพเสมือนที่เกิดจากกระจกเว้าจะมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุทุกครั้ง และ
ภาพเสมือนจะมีลักษณะหัวตั้งกับเทียบวัตถุเสมอ
วิธีการเขียนรังสีเพื่อหาภาพที่เกิดจากกระจกโค้งเว้าทำได้ดังนี้
-
เขียนรังสีขนานกับแกนมุขสำคัญจากวัตถุไปตกกระทบยังกระจก
แล้วเขียนรังสีสะท้อนผ่านจุดโฟกัส
- เขียนรังสีตกกระทบผ่านจุดศูนย์กลางความโค้ง C
แล้วให้ไปตกกระทบยังกระจก จะได้รังสีสะท้อนกลับทางเดิม
ตำแหน่งที่รังสีสะท้อนตัดกัน ก็คือ ตำแหน่งของภาพ ดังรูป
จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับภาพที่ได้จากกระจกเว้าดังนี้
- วัตถุอยู่ที่ตำแหน่งไกลมากหรือระยะอนันต์
จะได้ภาพจริงที่จุดโฟกัส
ขนาดเป็นจุด ดังรูป
- วัตถุอยู่ห่างกระจกไกลกว่า C
ได้ภาพจริงหัวกลับขนาดเล็กกว่าวัตถุอยู่ระหว่างจุด Fกับจุด C
ดังรูป
- วัตถุอยู่ที่จุด
Cได้ภาพจริงหัวกลับ ขนาดเท่ากับวัตถุอยู่ที่จุด C
ตำแหน่งเดียวกับวัตถุ ดังรูป
- วัตถุอยู่ระหว่างจุดโฟกัส F กับจุด C
ได้ภาพจริงหัวกลับขนาดขยายอยู่นอกจุด C ออกไปแต่ไม่ถึงระยะอนันต์
ดังรูป
- วัตถุอยู่ที่จุดโฟกัส
ได้ภาพจริงหัวกลับ ( หรือภาพเสมือนหัวตั้ง )
ขนาดโตที่สุดอยู่ที่ระยะอนันต์ ดังรูป
- วัตถุอยู่ระหว่างขั้วกระจกกับจุดโฟกัส F
ได้ภาพเสมือน หัวตั้ง ขนาดขยายอยู่หลังกระจก แต่ไม่ถึงระยะอนันต์
ดังรูป
- วัตถุอยู่ที่ขั้วกระจก
ได้ภาพเสมือนหัวตั้ง ขนาดเท่าวัตถุและ อยู่ที่เดียวกับวัตถุ ดังรูป
การคำนวนเพื่อหาขนาดและ
ตำแหน่งภาพที่เกิดจากกระจกเว้า มีสูตรดังนี้
ระยะจริง คือ ระยะที่เกิดจากรังสีจริงเป็น "+" , ระยะเสมือน คือ
ระยะที่เกิดจากรังสีเสมือนเป็น "-"
การพิ จารณาเครื่องหมายในการคำนวนเกี่ยวกับกระจกเว้า
ปริมาณต่าง ๆ
ที่อยู่หลังกระจกเป็นปริมาณเสมือนทั้งสิ้น
และเมื่อแทนค่าปริมาณเสมือนเหล่านี้ลงในสมการต้องแทนค่าเป็นเลขลบ