  
ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้า |
เครื่องผลิตไฟฟ้า 1 เครื่อง ของโรงไฟฟ้า สามารถผลิตไฟฟ้าส่งมาสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ ระดับหนึ่ง เมื่อต้องการเพิ่มขึ้นก็จะต้องมีเครื่องผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องมีโรงไฟฟ้า หลายแห่ง แต่ละแห่งมีเครื่องผลิตไฟฟ้าหลายเครื่องตามความเหมาะสม มีสายส่งไฟฟ้าเชื่อมโยงไปยังแห่ง ใช้ไฟฟ้าทุกแห่ง และจะต้องก่อสร้างแหล่งผลิตและระบบส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าซึ่งเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการขยายตัวของประชากร และการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ มีทั้งระบบ 1 เฟส แรงดัน 220 โวลต์ ซึ่งใช้ในบ้านอยู่อาศัย และระบบ 3 เฟส แรงดัน 380 โวลต์ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และแรงดันขนาด 69,115,230 และ 500 กิโลโวต์ สำหรับการส่งจ่ายไฟฟ้าภายในประเทศ
เนื่องจากการส่งจ่ายไฟฟ้าจะต้องมีการสูญเสีย ระยะทางไกลมากจะสูญเสียมาก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับแหล่งพลังงานที่จะนำมาใช้หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกด้วย ดังนั้น จึงมีการสร้างแหล่งผลิต ไฟฟ้าในที่ต่างๆ กระจายไปทั่วประเทศ |
การผลิตไฟฟ้ามีสาระสำคัญ 2 ประการคือ |
- กำลังผลิต หมายถึง ความสามารถที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดกำลังผลิต มีหน่วยเป็น "วัตต์" หรือ "กิโลวัตต์ (1,000 วัตต์)" หรือ "เมกะวัตต์ (1,000 กิโลวัตต์)"
- พลังงานไฟฟ้า หมายถึง กำลังผลิตควบคู่กับระยะเวลาที่ทำการผลิตหรือในแง่การใช้ไฟฟ้า ก็หมายถึง ความสิ้นเปลืองไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งก็คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ควบคู่กับระยะเวลาในการใช้ มีหน่วยเป็น "กิโลวัตต์ชั่วโมง" หรือ "หน่วย" หรือ "ยูนิต" ไฟฟ้าไม่ใช่แหล่งพลังงาน แต่เป็นเพียงพลังงานรูปหนึ่งเท่านั้น แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่แท้จริงก็คือ พลังที่นำมาใช้ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนตลอดเวลาหากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหยุดหมุน การผลิตไฟฟ้าจะหยุดไปด้วย
สำหรับพลังที่นำมาใช้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือต้นกำลังที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ปัจจุบันนี้ ได้แก่
- พลังน้ำ จากน้ำในอ่างเก็บน้ำ หรือน้ำจากลำห้วยที่อยู่สูงๆ
- พลังความร้อน หรือ พลังไอน้ำ ซึ่งได้ความร้อนจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านลิกไนต์ และน้ำมันเตา
- พลังกังหันแก๊ส ได้ความร้อนจากก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันมันเตา
- พลังจากเครื่องยนต์ดีเซล อาศัยน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง
- พลังงานธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นพลังงานที่ไม่หมดสิ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น
|
|
หลักการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ |
การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ คือ การเปลี่ยนแปลงสถานะพลังงานของน้ำจากพลังงานศักย์ เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยความแตกต่างของระดับน้ำเหนือเขื่อน และท้ายเขื่อน การเปลี่ยนแปลงสถานะของพลังงานน้ำดังกล่าวมีขบวนการและต้องอาศัยปัจจัย ดังนี้
|
|
|
พลังงานศักย์ --> พลังงานจลท์ --> พลังงานกล --> พลังงานไฟฟ้า
(Potential Energy) -->(Kinetic Energy) --> (Mechanical Energy) --> (Electrical Energy)
เขื่อน --> ท่อส่งน้ำ --> กังหันน้ำ --> เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(Dam) -->(Penstock) -->(Turbine) --> (Generator)
|
|
การแปรสภาพจากพลังน้ำมาเป็นพลังไฟฟ้า โดยอาศัยกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นไปตาม สูตรแสดงความสัมพันธ์ การแปรพลังงานศักย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ดังนี้
P = 9.8 kHQ-------------------kW
เมื่อ P = กำลังไฟฟ้า kW
H= ความแตกต่างระดับน้ำ m
Q= ปริมาณน้ำผ่านเครื่องกังหัน ลบ.ม.ต่อวินาที
k = ประสิทธิภาพ
|
:: โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ :: ( UBOLRATANA HYDRO POWER PLANT) |
- แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
- กังหันแบบคาปลาน 3 ตัว
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดแกนตั้ง 3 เครื่อง
- กำลังผลิตเครื่องละ 8,300 กิโลวัตต์
|
การเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ไม่ใช้วิธีเดินด้วย Automatic การปฏิบัติงานใช้ระบบ Manual ทั้งหมด ซึ่งจะทำได้จาก Switches ต่างๆ ที่อยู่บน Gage panel ของชั้น Generator floor
|
|
ระบบส่งไฟฟ้า |
จากโรงไฟฟ้า ทำการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยแรงดันระดับหนึ่ง แล้วส่งผ่านหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อปรับแรงดันให้สูงขึ้นแล้วส่งเข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้า เริ่มต้นที่ลานไกไฟฟ้าสายส่งไฟฟ้าแรงสูงแล้วไปสิ้นสุดที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยมีศูนย์ควบคุมโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(Northeastern Hydro Power Plant control Center) คอยควบคุมการผลิตและส่งไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงจะมีหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อลดระดับแรงดันไฟฟ้าแล้วส่งให้ฝ่ายจำหน่ายส่งบริการประชาชนต่อไปหรืออาจจะส่งให้โรงงานอุตสาหกรรม หรือส่งต่อไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งอื่นที่มีสายส่งไฟฟ้าเชื่อมโยงกัน แรงดัน 115,000 โวลต์ เชื่อมโยงระหว่างลานไกไฟฟ้าเขื่อนอุบลรัตน์ กันระบบสายส่งไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สถานีชุมทาง (Junction) ที่ปากทางเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ |
|
:: สายส่งไฟฟ้า :: |
แหล่งผลิตไฟฟ้ามักจะตั้งอยู่ห่างไกลจากแหล่งใช้งานเพื่อลดการสูญเสียภายในสายส่งไฟฟ้าที่มีระยะทางไกลให้น้อยลง จึงทำการเพิ่มแรงดันโดยหม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับสายส่งไฟฟ้าแรงสูงของประเทศไทย ประกอบด้วยแรงดันระดับต่างๆ คือ ขนาดแรงดัน 69,115,230 กิโลโวลต์และ ขนาดแรงดันสูงพิเศษ 500 กิโลโวลต์ |
|
:: สถานีไฟฟ้าแรงสูง :: |
เพื่อลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าซึ่งศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าอยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตไฟฟ้า จึงต้องส่งไฟฟ้าด้วยแรงดันไฟฟ้าระดับสูงเมื่อเข้าใกล้แหล่งใช้ไฟฟ้าก็ลดระดับแรงดันลงมาก่อนที่จะส่ง ไปจ่ายให้กับผู้ใช้ต่อไป การลดแรงดันจากระดับสูงลงไปถึงแรงดันระดับหนึ่งที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะนำไปจ่ายถึงผู้ใช้ไฟฟ้านั้นกระทำกันในจุดที่เรียกว่า "สถานีไฟฟ้า แรงสูง" สถานีดังกล่าวจะทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพของไฟฟ้าที่จ่าย และมีหม้อแปลงไฟฟ้าทำหน้าที่ลดแรงดันของไฟฟ้าที่จ่ายออก ซึ่งปกติจะลดลงมาเหลือเพียง 11 หรือ 22 หรือ 33 กิโลโวลต์ แล้วแต่มาตรฐานที่กำหนด หม้อแปลงไฟฟ้าที่ประจำอยู่ตามสถานีไฟฟ้าแรงสูงต่างๆ นั้น มีความสามารถ ในการจ่ายไฟฟ้าที่ปริมาณระดับหนึ่ง โดยเหตุนี้เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นก็จำเป็นต้องติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีพิกัดเพียงพอ |
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Views: 6342
Only registered users can write comments. Please login or register. Powered by AkoComment Tweaked Special Edition v.1.4.6 AkoComment © Copyright 2004 by Arthur Konze - www.mamboportal.com All right reserved |