แต่ไม่มีใครคาดว่าจะใช้วิธีการแยกด้วยไฟฟ้า (electrolysis) ทั้งหมด เขากล่าวว่า “อาจจะใช้วิธีแยกออกจากไอน้ำ (steam reforming) ร่วมกับการแยกด้วยไฟฟ้า (electrolysis) ซึ่งจะทำให้มีแหล่งผลิตไฮโดรเจน ออกสู่ตลาดได้ในเวลาอันใกล้มากขึ้น ส่วนในระยะยาว ต้องทำให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ก้าวหน้า เพื่อใช้ความร้อนเป็นแหล่งผลิตไฮโดรเจนในระดับที่ต้องการใช้”
สุดท้าย พลังงานนิวเคลียร์จะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของระบบการผลิตพลังงาน วิสัยทัศน์ข้อนี้ปรากฏเป็นหลักการข้อหนึ่ง ในข้อเสนอของกระทรวงพลังงานสหรัฐ เรื่องนิวเคลียร์รุ่นที่ 4 (Department of Energy's Generation-IV Nuclear deliberations) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับอีก 10 ประเทศ ในการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์นิวเคลียร์รุ่นที่ 4 เพื่อการวิจัยและพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ระยะต่อไป ซึ่งภาพของพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต จะไม่ได้ถูกมองว่าเป็นแต่เพียงแหล่งในการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น
David Wade วิศวกรนิวเคลียร์ของ Argonne กล่าวว่า “ความก้าวหน้าของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในอนาคต จะสามารถให้ความร้อนในการผลิตไฮโดรเจน เท่าที่เรารู้ พลังงานนิวเคลียร์ เป็นหนทางเดียว ที่ผลิตความร้อนปริมาณมาก โดยไม่ต้องเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมาก แต่ทุกวันนี้ พลังงานนิวเคลียร์ยังมีความร้อนสูงไม่พอ”
อุณหภูมิของสารระบายความร้อนใเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีอุณหภูมิประมาณ 400 องศาเซลเซียส หรือ 750 ฟาเรนไฮต์ แต่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบก้าวหน้ารุ่นใหม่ มีหลายชนิดที่มีอุณหภูมิของสารระบายความร้อนสูงถึง 900 เซลเซียส หรือ 1,650 ฟาเรนไฮต์ ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนา ประมาณ 20 หรือ 30 ปี
เทคโนโลยีอย่างหนึ่ง ที่โครงการนิวเคลียร์รุ่นที่ 4 จะมีการพัฒนาต่อไป คือ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบนิวตรอนเร็ว ระบายความร้อนด้วยโลหะเหลว (liquid-metal-cooled fast reactor) เครื่องปฏิกรณ์แบบนี้ ไม่เพียงแต่ให้ความร้อนออกมาเท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้เกิดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เพิ่มขึ้นใหม่ จากการเปลี่ยนยูเรเนียมธรรมชาติที่ไม่ใช่วัสดุฟิสไซล์ ให้เป็นพลูโตเนียม ซึ่งเป็นวัสดุฟิสไซล์ได้ด้วย
Wade กล่าวอีกว่า “ถ้าใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อให้พลังงานสำหรับการผลิตไฮโดรเจนปริมาณมากในระดับโลก เราจำเป็นต้องผลิตเชื้อเพลิงขึ้นมาใหม่ เนื่องจากแหล่งที่มีอยู่ในธรรมชาติอาจจะหมดไปภายใน 50 ปี”
“เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบนิวตรอนเร็วระบายความร้อนด้วยโซเดียม (Sodium-cooled fast reactors) สามารถให้ความร้อน โดยมีอุณหภูมิของสารหล่อเย็น 600 องศาเซลเซียส หรือ 1,100 ฟาเรนไฮต์ มากพอที่จะใช้เปลี่ยนรูปของไอสำหรับผลิตไฮโดรเจน ประสบการณ์การเดินเครื่องเท่าที่ผ่านมา อยู่ในระดับดีมาก ห้องปฏิบัติการอาร์กอน (Argonne) มีประสบการณ์ในการเดินเครื่อง ของเครื่องปฏิกรณ์ทดลองแบบ Experimental Breeder Reactor II โดยมีความปลอดภัยและวางใจได้มาเป็นเวลา 30 ปี ที่ Argonne-West ในรัฐ Idaho”
“โครงการนิวเคลียร์ของรัสเซีย มีการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์แบบนิวตรอนเร็วระบายความร้อนด้วยตะกั่ว ซึ่งสามารถให้ความร้อนได้ 850 ถึง 900 องศาเซลเซียส (1,560 - 1,650 F) ซึ่งสูงพอที่จะใช้ในเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจน แบบที่ใช้เคมีความในร้อน (thermochemical) ในการแยกออกจากน้ำ ”
|