การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิก
ข้อสำคัญ การทดลองนี้ต้องใช้โปรแกรมShockwave ถ้าไม่สามารถเห็นภาพได้ต้องดาวโลด Shockwave
การทดลองนี้เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างคาบ ความเร่งเนื่อง ความยาวของสปริง มวล และค่าคงที่ของสปริง ของการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค ในห้องทดลองนี้เป็นการเคลื่อนที่ของมวลที่ติดกับสปริง และลูกตุ้มติดกับเชือก แบบธรรมดา (Simple) โดยกำหนดให้มุมของการแกว่งมีค่าน้อย ไม่มีแรงเสียดทานของอากาศ ไม่คิดมวลและแรงเสียดทานของสปริง และในห้องทดลองนี้ไม่สามารถเปลี่ยนค่าแอมพลิจูดของการแกว่งได้
เวลาในห้องทดลองเป็นเวลาการแกว่งที่เป็นจริง ถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจะมีตัวประมวลผลที่เร็วหรือช้าก็ตาม ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณมีตัวประมวลความเร็วต่ำ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของมวลจะปรับเองโดยอัตโนมัติเพื่อให้เป็นเวลาที่แท้จริง ขณะที่ทำการทดลองให้หลีกเลี่ยงการใช้เมาส์
ใบบันทึกผลการทดลอง
มวลติดกับสปริง
กำหนดให้ K = 5 N / m
m(kg) |
t (เวลาที่แกว่งครบ 10 รอบ) วินาที |
T( คาบของการแกว่ง) วินาที / รอบ (ทดลอง) |
T (ทฤษฎี) |
1 | |||
2 | |||
3 |
T(ทดลอง) = t / 10 วินาที / รอบ
T (ทฤษฎี) =
ลูกตุ้มนาฬิกา
กำหนดให้มวล = 1 kg
L (m) |
t (เวลาที่แกว่งครบ 10 รอบ) วินาที |
T( คาบของการแกว่ง) วินาที / รอบ (ทดลอง) |
T (ทฤษฎี) |
T(ทดลอง) = t / 10 วินาที / รอบ
T (ทฤษฎี) =
แบบฝึกหัด
คำถาม
ถ้าไปทดลองบนดวงจันทร์ g = 1.67 m/s2 จงทดลองการทดลองทั้งสอง และบันทึกค่าลงในตารางอีกครั้งหนึ่ง
มีมวลไม่ทราบค่าติดอยู่กับสปริง ที่สั่นด้วยคาบ 2.5 วินาที / รอบ โดยกำหนดให้ค่า k = 5 N/m จงหามวลในหน่วยกิโลกรัม
ปี ค.ศ. 1989 ใกล้ๆ กับซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดแผ่นดินไหวขึ้น วัดการสั่นสะเทือนในมาตราริกเตอร์ได้ 7.1 เป็นสาเหตุของความหายนะอย่างใหญ่หลวง มีคนเสียชีวิต 67 คน บาดเจ็บอีกนับพันคน ภาพบนเป็นทางด่วนยาว 1.4 km ถล่มและหักลงมาทับรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซด์ บี้แบนอยู่ใต้ทางด่วนไปหลายคัน อย่างไรก็ตาม ทางด่วนไม่ได้หักทั้งเส้นทาง หักเพียงบางส่วนเท่านั้น จึงเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมทางด่วนจึงหักเพียงแค่ความยาว 1.4 km นี้ แต่ส่วนอื่นๆ ของทางด่วนกลับไม่เป็นไร มีต่อครับ
ครั้งที่
เรื่องการทดลองเสมือนจริง