ความเป็นมาของกองกำลังทางอากาศของประเทศไทย
ในรัชสมัยของสมเด็จพระมงกุฏเกล้าได้มีการนำเครื่องบินจากต่างประเทศมาแสดงการบินในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454ทำให้ผู้บัญชาระดับสูงของกองทัพพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะมีเครื่องบินเพื่อไว้ใช้ในการป้องกันประเทศในอนาคต จึงจัดตั้ง”แผนกการบิน”ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งคัดเลือกนายทหาร 3 นายไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส
นายทหารที่ได้รับคัดเลือกในครั้งนั้นได้แก่ พันตรีหลวงศักด์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธลิขิกร และร้อยโททิพย์ เกตุทัต ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ นาวาเอกพระยาสยานศิลปสิทธ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาตตามลำดับ รวมทั้งได้รับการยกย่องจากกองทัพอากาศให้เป็น”บุพการีของกองทัพอากาศ”
ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้น ก็ได้มีการสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 8 เครื่องเป็นปีก 2 ชั้น Brequet จำนวน 4 เครื่อง และเครื่องบิน Nieupor t อีก 4 เครื่อง ในระยะแรก เราได้ใช้สถานที่บริเวณสนามม้าสระปทุมหรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบันเป็นสนามบิน แต่เนื่องจากความไม่สะดวกนานัปประการ จึงมีการพิจารณาจัดหาสถานที่ตั้งที่เหมาะสมเพื่อสร้างสนามบินใหม่และได้เลือกสถานที่ใน ตำบลดอนเมืองเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งสร้างอาคารโรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2547 กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น “กองบินกองทัพบก”นับแต่นั้นมาบทบาทของกองกำลังทางอากาศก็แสดงศักยภาพและพัฒนาการขึ้นตามลำดับ จากการเข้าร่วมรบกับพันธมิตรในยุโรปช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1ในปี พ.ศ.2460 ทำให้ทางราชการได้ยกฐานะจากกองบินขึ้นเป็น “กรมอากาศยานกองทัพบก”
ในปีพ.ศ. 2465กระทรวงกลาโหมพิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศไม่ได้ใช้เพียงเฉพาะด้านการทหารเท่านั้น แต่ยังมีการใช้ประโยชน์ต่อกิจการด้านอื่นได้อย่างกว้างขวางจึงมีการแก้ไขชื่อจาก กรมอากาศยานทหารบกเป็น “กรมอากาศยาน”และ”กรมทหารอากาศ” ตามลำดับและในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2480ได้ยกฐานะเป็น”กองทัพอากาศ”โดยมีนาวาอากาศเอกพระเวชมันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บังคับบัญชาคนแรก
การบินพาณิชย์ในประเทศไทย
สายการบินพาณิชย์ของประเทศไทยเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณ 50 ปีที่ผ่านมาภายใต้ชื่อ thai airways หรือบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด (บดท.) เพื่อบริการรับส่งผู้โดยสารภายในประเทศและปีนังโดยในยุคแรก เครื่องบินที่ใช้เป็นของกองทัพอากาศหรือกองทัพเรือ ก่อนจะหยุดกิจการไประยะหนึ่งและกลับเริ่มให้บริการพาณิชย์เต็มรูปแบบอีกครั้งในปี พ.ศ.2502
ต่อมาบริษัทเดินอากาศไทยกับสายการบินสแกนดิเนเวียน แอร์ไลน์ ซิสเต็ม (SAS) ได้ร่วมกันก่อตั้ง thai airways international หรือการบินไทย เมื่อปีพ.ศ.2503 ด้วยทุนเริ่มต้นเพียง 2 ล้านบาท โดยเดินอากาศไทยถือหุ้นร้อยละ 70 และ SAS ถือหุ้นร้อยละ 30 เพื่อให้บริการบนเส้นทางการบินระหว่างประเทศ ส่วน บดท.ยังคงให้บริการรับส่งผู้โดยสารภายในประเทศ ปี พ.ศ.2520 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริษัทเดินอากาศไทยซื้อหุ้นทั้งหมดจาก SAS และมอบโอนให้กระทรวงการคลังและจดเป็นบริษัทมหาชนในเวลาต่อมา
ปัจจุบันการบินไทยเป็นสายการบินระดับชาติที่ให้บริการรับส่งผู้โดยสารทั้งสิ้น 72 เมืองใน 33 ประเทศ บน 4ทวีปทั่วโลก การบินไทยมีเครื่องบินให้บริการทั้งหมด 81ลำ ในจำนวนนั้นเป็นเครื่องบินของบริษัท Airbus ในรุ่น 330-300 และ 300-600 และ Boeing ในรุ่น 747-300/400,777-200/300,737-400 และ md-11 รวมทั้ง Aero Alenia Atr-72
ระหว่างที่การบินได้เปิดให้บริการมาเป็นเวลา 8 ปีช่วงปี พ.ศ.2511สายการบินสากลแอร์ก็ได้กำเนิดขึ้นเพื่อบริการรับส่งสินค้าโดยใช้เครื่องบิน 2เครื่องยนต์ 10 ที่นั่งและช่วงสงครามเวียดนาม สายการบินสากลแอร์ได้เซ็นสัญญากับบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล คอนสตรัคชั่นจำกัด (OIC)
ในปี พ.ศ.2529รัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นและเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น สากลแอร์จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นบางกอกแอร์เวย์ โดยบริการผู้โดยสารภายในประเทศเริ่มจากเที่ยวบินสู่ จังหวัดกระบี่ นครราชสีมาและ สุรินทร์ 3ปีต่อมาบางกอกแอร์เวย์ได้สร้างสนามบินสมุย ซึ่งเป็นสนามบินของสายการบินของเอกชนรายแรก ปัจจุบันบางกอกแอร์เวย์มีสนามบินเพิ่มอีก 2แห่งคือสนามบินสุโขทัยและสนามบินตราด ซึ่งสนามบินที่สมุยเป็นสายการบินที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบและโครงสร้างด้วย ทุกวันนี้บางกอกแอร์เวย์มี 15 เที่ยวบินต่อวันในเส้นทาง เกาะสมุย ภูเก็ต สุโขทัย อู่ตะเภา(พัทยา)เชียงใหม่ กระบี่ ระนอง หัวหินและเกาะช้าง นอกจากบินในประเทศแล้วยังมีเที่ยวบินระหว่างประเทศสู่ พนมเปญ เสียมราฐในประเทศกัมพูชา ซีอาน กุ้ยหลิน และ เชียงรุ้งในประเทศจีน หลวงพระบาง ประเทศลาว เว้, ฮอยอาน และดานังประเทศเวียดนามรวมทั้งประเทศสิงคโปร์
ในช่วง 5ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลและบริษัทการบินไทย (จำกัด)มหาชนตระหนักถึงความไม่เหมาะสมของขนาดขององค์กรในการดำเนินกิจการบนเส้นทางการบินสายรองและสายย่อย จึงได้สร้างพันธมิตรกับสองสายการบินเพื่อเข้าดำเนินงานในเส้นทางดังกล่าวแทนการบินไทยจำนวน 15 เส้นทาง
หน้าที่