Miller และ Urey กำเนิดของสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ปรากฏการณ์สามัญ แต่เป็นการสุ่มเสี่ยงในภาวะอันแปลกประหลาดของเทอร์โมไดนามิกส์ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะขัดขวางการสร้างระเบียบและการสร้างสำเนาตัวเอง ถ้าไม่ใช่ปรากฏการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาเดียวแล้ว โมเลกุลแห่งชีวิตจะต้องมีรูปแบบที่หลากหลาย มีคุณลักษณะต่าง ๆ กัน แต่บรรดาโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบ่งชี้ไปในแนวทางเดียวกันว่า เป็นเผ่าพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน คำถามที่ตามมาก็คือ ถ้าสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งพิเศษเช่นนี้แล้ว เราคาดหวังที่จะจำลองปรากฏการณ์การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร บางทีเราอาจตกอยู่ในสภาวะเช่นเดียวกับนักเล่นแร่แปรธาตุที่หวังพึ่งศิลามหัศจรรย์ก็เป็นได้ แนวคิดที่ว่าสิ่งมีชีวิตมีองค์ประกอบพื้นฐานที่เหมือนกันไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้พยายามศึกษาสิ่งมีชีวิตตามแนวทางนี้ ปริศนาทางชีววิทยาเคียงคู่ขนานกันไปกับปริศนาทางฟิสิกส์เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของอะตอม แล้วในที่สุดองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตและอะตอมก็หันมาบรรจบกัน เมื่อ Crick และ Watson ค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ของโมเลกุล DNA ในปี 1953 นับจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามจำลองปรากฏการณ์ที่เป็นจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต พยายามสร้างซุปดึกดำบรรพ์ตามแนวคิดของดาร์วิน ความพยายามแรกเริ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1950 จากการทดลองอันโด่งดังของ Miller และ Urey นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการทดลองในลักษณะนี้ถูกเรียกว่าการทดลองปฏิกิริยา Miller-Urey โดยสร้างให้บรรยากาศประกอบด้วยแอมโมเนีย มีเทน และไอน้ำ โดยมีออกซิเจนอยู่ในปริมาณน้อยมาก แล้วในกระแสไฟผ่านเข้ามาในบรรยากาศเลียนแบบปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ปรากฏว่ามีสารเคมีอินทรีย์พอกพูนขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และหนึ่งในสารเคมีเหล่านี้คือกรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของกรดนิวคลิอิก ความใฝ่ฝันของนักวิทยาศาสตร์เริ่มใกล้ความเป็นจริง และนับจากนั้นเส้นแบ่งระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตก็เริ่มรางเลือนลงไป
ผลของกระบวนการสังเคราะห์นี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและส่วนประกอบของก๊าซในบรรยากาศ ประเมินกันว่าในช่วงเวลานั้นมีออกซิเจนในบรรยากาศน้อยมาก น้อยกว่าร้อย 0.1 ของปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศโลกปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีคาร์บอนมอนนอกไซด์ (carbon monoxide) และคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide)รวมทั้งไชยาไนด์ (cyanide) บรรยากาศของโลกในยุคนั้นเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่ดูดซับออกซิเจนรวมทั้งมนุษย์ แต่ก๊าชเหล่านี้มีส่วนช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ชีวิต และเป็นส่วนประกอบพื้นฐานในกระบวนการเคมีในร่างกายเรา
| ||
หน้าที่ | ||
อาจารย์ รอฮิม ปรามาท แปล ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณมากครับ |
วิวัฒนาการ 6 บท |
|
บทที่ 1 1/6 กำเนิดและวิวัฒนาการของธรรมชาติ กำเนิดจักรวาล ความคิดของนาย Friedman
นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ทฤษฎี Big Bang
กำเนิดสุริยะจักรวาล กำเนิดโลก การแบ่งชั้นของโลก
ร่องลึกในมหาสมุทร จำนวน 57 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 2 2/6 กำเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดแรก โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์
ชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต การทดลองของเรดิ และหลุยส์ปาสเตอร์
แนวความคิดของอริสโตเติล Polymerization เคลวิน
นักชีวเคมีขาวเยอรมัน จำนวน 56 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 3 3/6 Evolution เมื่อ 3900 ล้านปีก่อน วิวัฒนาการคืออะไร
นักอนุกรมวิธาน ทฤษฎีวิวัฒนาการ นายลามาร์ค นาย ชาร์ล ดาร์วิน
กลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หมู่เกาะกาลาปากอส นายมัลทัส จำนวน 40
แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 4 4/6 กลไกการวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว การแปรผันทางพันธุกรรม
เมนาลิซึมของผีเสื้อกลางคืน การกระจายตัวของประชากรผีเสื้อ
ผู้ถูกล่าและผู้ล่า จำนวน 28 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 5 5/6 หลักฐานทางวิวัฒนาการ ความจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ซากดึกดำบรรพ์
นกกลุ่มที่บินไม่ได้ โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต สัตว์มีกระดูกสันหลัง
ลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอ การคัดเลือกพันธุ์ และความรู้ทางพันธุ์ศาสตร์ จำนวน
39 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 6 6/6 หลักฐานทางวิวัฒนาการ ข้อแตกต่างระหว่างมนุษย์และลิง
สายวิวัฒนาการของมนุษย์ มนุษย์วานร สปีชีส์สุดท้าย ค้นพบฟอสซิลของมนุษย์
การแบ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ จำนวน 37 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
แสง แสงในช่วงที่ตามองเห็น คุณสมบัติคู่ของแสง
การสะท้อนและการหักเห สมการของเลนส์ ความคลาด (aberrations)
สายตาสั้นและยาว กล้องโทรทรรศน์ การแทรกสอด อ.นงลักษณ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้บรรยาย จำนวน 114
แผ่น
คลิกค่ะ
|
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |