รากเหง้าของชีิวิต ธาตุชนิดหนึ่งที่โลกได้รับจากห้วงอวกาศได้แก่ คาร์บอน คาร์บอนเป็นรากเหง้าและแก่นสำคัญของชีวิต เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่กระจายอยู่ในทุกส่วนของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้อะตอมของคาร์บอนเกี่ยวร้อยกันเป็นห่วงโซ่และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับอะตอมชนิดอื่น ๆ สร้างเป็นเคมีอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ DNA จนถึงเล็บมือ อะตอมอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอะตอมคาร์บอนได้แก่อะตอมซิลิคอน (silicon) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของแร่หลากหลายชนิด มันสามารถเกาะเกี่ยวกับอะตอมชนิดอื่น ๆ สร้างขึ้นเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ได้เช่นเดียวกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวงจรอิเล็กทรอนิกส์มีพื้นฐานมากจากคุณสมบัติข้อนี้ของซิลิคอน และดูจะเป็นเรื่องบังเอิญที่ในขณะนี้สมองซิลิคอนกำลังเป็นคู่แข่งทางด้านความสามารถทางปัญญากับสมองมนุษย์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
มีอุกกาบาตและดาวหางเป็นจำนวนมากที่เต็มไปด้วยอะตอมคาร์บอน บางส่วนสร้างเป็นสารประกอบคาร์บอนที่มีส่วนสำคัญในการสร้างชีวิต ดังนั้นดาวหางและอุกกาบาตจึงเป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตมาจากห้วงอวกาศ กล่าวถึงที่สุดแล้ว ชีวิตมีรากเหง้ามาจากการเกิดขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ยุคบิ๊กแบงที่เอกภพเริ่มการขยายตัวออกมา อุกกาบาติและดาวหางที่พุ่งเข้าชนโลกในยุคที่ชั้นบรรยากาศของโลกยังไม่ก่อตัวหนาแน่นพอที่จะเผาไหม้มันจนหมด ยังมีบทบาทสำคัญในการปรับสภาพของโลกให้เหมาะสมกับการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิต มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่าการก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเองล้วน ๆ เพราะยังมีกลไกที่ทำหน้าที่ปรับสภาพพื้นผิวของโลก และการอุทิศตัวบริจาคองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ของชีวิต เปรียบได้กับเบ้าหลอม วัตถุดิบ และเพลิงที่ช่วยกันหล่อหลอมสร้างชีวิตขึ้นมาชีวิตเกิดขึ้นเพราะโลกมีบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซชนิดต่าง ๆ และมีน้ำ ในช่วงการก่อตัวของโลกเต็มไปด้วยความอลหม่านและรุนแรง บรรยากาศในยุคต้น ๆ จึงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต่อเมื่อแกนกลางของโลกมีความมั่นคง ภูเขาไฟ ปล่อง และช่องต่าง ๆ จึงได้ส่งผ่านก๊าซชนิดต่าง ๆ และน้ำขึ้นมาเป็นส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก บรรยากาศถูกดึงดูดไว้ด้วยแรงดึงดูดของโลก ได้รับความร้อนและทำปฏิกิริยากับรังสีจากดวงอาทิตย์ โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่พอเหมาะสำหรับการเกิดปฏิกิริยาอันนำไปสู่การสังเคราะห์โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตขึ้นจากคาร์บอน น้ำ ไนโตรเจน และธาตุอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ความน่าพิศวงไม่ได้อยู่ที่องค์ประกอบต่างๆ ของชีวิตซึ่งมีอยู่มากมายบนโลก แต่กลเม็ดสำคัญอยู่ที่วิธีการที่สิ่งเหล่านี้รวมตัวกันบนพื้นผิวโลก ซึ่งนับเป็นยุคแห่งเคมีชีวภาพดึกดำบรรพ์อย่างแท้จริง หลักฐานของกระบวนการเหล่านี้ปรากฏอยู่น้อยมาก ที่เก่าแก่ที่สุดได้แก่หลักฐานร่องรอยบนหินที่อิชัว (isua) กรีนแลนด์ ซึ่งมีอายุย้อนหลังไปประมาณ 3 พัน 8 ร้อยล้านปี ทำไมหินที่นี่จึงมีอายุยืนยาวขนาดนี้ยังเป็นปริศนา หินบนพื้นผิวโลกส่วนใหญ่มีการแปรรูปตามกาลเวลา จากความร้อนและการเคลื่อนของเปลือกโลก การกัดเซาะและแตกออกเป็นชิ้นส่วนย่อย ๆ รอวันที่ถูกแรงอัดและปฏิกิริยาตามธรรมชาติทำให้กลายสภาพเป็นหินอีกครั้ง อาจเป็นเพราะโชคที่ทำให้หินที่นี่ยังคงสภาพเดิมอยู่ได้ โดยรอดพ้นจากวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลงนับพันล้านปี
| ||||
หน้าที่ | ||||
อาจารย์ รอฮิม ปรามาท แปล ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณมากครับ |
วิวัฒนาการ 6 บท |
|
บทที่ 1 1/6 กำเนิดและวิวัฒนาการของธรรมชาติ กำเนิดจักรวาล ความคิดของนาย Friedman
นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ทฤษฎี Big Bang
กำเนิดสุริยะจักรวาล กำเนิดโลก การแบ่งชั้นของโลก
ร่องลึกในมหาสมุทร จำนวน 57 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 2 2/6 กำเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดแรก โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์
ชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต การทดลองของเรดิ และหลุยส์ปาสเตอร์
แนวความคิดของอริสโตเติล Polymerization เคลวิน
นักชีวเคมีขาวเยอรมัน จำนวน 56 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 3 3/6 Evolution เมื่อ 3900 ล้านปีก่อน วิวัฒนาการคืออะไร
นักอนุกรมวิธาน ทฤษฎีวิวัฒนาการ นายลามาร์ค นาย ชาร์ล ดาร์วิน
กลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หมู่เกาะกาลาปากอส นายมัลทัส จำนวน 40
แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 4 4/6 กลไกการวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว การแปรผันทางพันธุกรรม
เมนาลิซึมของผีเสื้อกลางคืน การกระจายตัวของประชากรผีเสื้อ
ผู้ถูกล่าและผู้ล่า จำนวน 28 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 5 5/6 หลักฐานทางวิวัฒนาการ ความจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ซากดึกดำบรรพ์
นกกลุ่มที่บินไม่ได้ โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต สัตว์มีกระดูกสันหลัง
ลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอ การคัดเลือกพันธุ์ และความรู้ทางพันธุ์ศาสตร์ จำนวน
39 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
บทที่ 6 6/6 หลักฐานทางวิวัฒนาการ ข้อแตกต่างระหว่างมนุษย์และลิง
สายวิวัฒนาการของมนุษย์ มนุษย์วานร สปีชีส์สุดท้าย ค้นพบฟอสซิลของมนุษย์
การแบ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ จำนวน 37 แ่ผ่น
คลิกค่ะ
|
|
แสง แสงในช่วงที่ตามองเห็น คุณสมบัติคู่ของแสง
การสะท้อนและการหักเห สมการของเลนส์ ความคลาด (aberrations)
สายตาสั้นและยาว กล้องโทรทรรศน์ การแทรกสอด อ.นงลักษณ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้บรรยาย จำนวน 114
แผ่น
คลิกค่ะ
|
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |