|
|
ระฆัง แม้ทั้งสองสิ่งนี้จะได้ชื่อเป็นเครื่องบอกเวลา แต่มันยังแตกต่างจากเครื่องบอกเวลาในยุคต่อมา เพราะแบบเดิมนั้นบอกเวลาของดวงอาทิตย์ ขณะที่นาฬิกาในปัจจุบันของเราบอกเวลาตามระบบสุริยะ(ในหนึ่งปีมีเพียงสี่ครั้งเท่านั้นที่เวลาของนาฬิกาแดดจะตรงกับเวลาของนาฬิกาสมัยใหม่) ยังไม่มีการใช้คำว่า นาฬิกา (clock) จนกระทั่งศตวรรษที่สิบสี่ความหมายของนาฬิกาในยุคนั้นยังไม่ใช่ความหมายที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน แต่หมายถึง ระฆัง (bell) หรือ เครื่องส่งสัญญาณเตือนภัย (alarm) ขณะที่นาฬิกาเรือนแรกไม่มีกลไกอยู่ข้างใน ทว่าสามารถทำหน้าที่บางอย่างของนาฬิกาในปัจจุบันได้แม้จะไม่เที่ยงตรง เช่น นาฬิกาปลุกเรือนแรกซึ่งนับย้อนไปได้ถึงยุคโบราณมีการออกแบบง่าย ๆ เวลาปลุกนั้นก็นำตะปูมาเสียบไว้ในแท่งเทียนไขตรงชั่วโมงที่ต้องการเมื่อเทียนไขลุกไหม้ลงมาถึงจุดที่ตะปูเสียบอยู่ ตะปูก็จะหล่นลงบนถาดสังกะสีข้างล่าง ปลุกผู้ใช้ให้ตื่นขึ้น
นาฬิกาน้ำเป็นอีกหนึ่งวิธีซึ่งคนโบราณใช้ดูเวลา โดยมีหลักการทำงานง่าย ๆ คือ ปล่อยน้ำให้หยดลงในภาชนะ ซึ่งจะค่อย ๆ ทำให้ทุ่นที่อยู่ข้างในลอยขึ้นไปตามขีดบอกเวลา นาฬิกาเรือนเก่าแก่ที่สุดค้นพบในสุสานของ ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ ๑ (Amenhotep I)
| |
หน้าที่
| |
นำมาจากหนังสือ 100 สิ่งประดิษฐ์เปลี่ยนโลก ของ ทอม พิลบิน โดย ญาณิณี พจน์วิบูลย์ ศิริ ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ พิมใจ สวาย และสมอนงค์ เฉลิมกิจ แปล ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคณมากครับ |
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 1 | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาคกลศาสตร์ | หนังสือฟิสิกส์ 1 ภาค ของไหล ความร้อนและคลื่น |