![]() | |
การสร้างสโตนเฮนจ์ อนุสรณ์สถานอันลึกลับ
จากเบื้องบน ภาพถ่ายทางอากาศของสโตนเฮนจ์อยู่กลางหิมะ วงกลมที่ล้อมรอบกลุ่มหินคือคันและคูดิน ถัดออกไปคือหินฮีลและ แอเวนิว อันเป็นถนนโบราณ ในรูปจะเห็นมีถนนยุคปัจจุบันตัดผ่าน มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่ในแถบตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ใช้พื้นที่โล่งแจ้งของที่ราบซอลสเบอรีในวิลต์เชอร์ เป็นที่ประกอบพิธีกรรมอยู่นานกว่า 800 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการสร้างมูนดินขึ้น 2 วง รวมทั้งแท่งหินที่ตั้งเป็นวงแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์อีก 2 วง ปัจจุบันสถานเหล่าที่นี้เรียกกันว่า สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ย้อนกลับไปเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชมนุษย์ยุคนั้นเริ่มสร้างส่วนที่ใหญ่มโหฬารที่สุดของสโตนเฮนจ์ คือกลุ่มหิน ไตรลิธอน (trilithon) จำนวน 5 กลุ่ม เรียงเป็นรูปเกือกม้าอยู่ตรงกลางวงมูนดิน ไตรลิธอนแต่ละกลุ่มประกอบด้วยหิน 3 แท่ง 2 แท่งแรกหนัก 50 ตัน สูง 6 ม. ตั้งขึ้นคู่กัน แท่งที่ 3 หนัก 7 ตัน พาดอยู่บนหินตั้งทั้งคู่ ในการตั้งแท่งหินขึ้นโดยฝังลึกลงดินนั้น เขาจะใช้เขากวางต่างเสียมและกระดูกหัวใจไหล่วัวต่างพลั่วขุดหลุมลึก 2.4 ม. ให้ด้านหนึ่งเอียงลาดลงก้นหลุมแล้วก็ชักหินแท่งแรกซึ่งหนัก 50 ตันลงไปในหลุมโดยอาศัยลูกกลิ้งไม้ ตอนแรกปลายล่างของแท่งหินจะพาดคาอยู่บนเนินลาดด้านหนึ่งของหลุม จากนั้นคนหลายสิบคนก็ช่วยกันยกอีกปลายของแท่งหินให้ตั้งขึ้น โดยใช้เสายาวเป็นคานงัดและสอดขอนไม้เข้าได้แท่งหินเพื่อช่วยหนุนและเป็นจุดหมุน (fulcrum) ให้เสา เมื่อขอนไม้ที่สอดเข้าได้แท่งหินเพิ่มมากขึ้นแท่งหินที่เอียงอยู่ก็จะค่อยๆ ตั้งขึ้นแล้วไถลลงหลุมขณะที่ลงหลุม หินอาจกระแทกผนังอีกฟากของหลุมอย่างแรงจนถล่มลงได้ เขาจึงต้องปักเสาไม้เป็นแนวเพื่อกันมิให้ดินพังยุบลง เชือกที่ใช้ชักก้อนหินทำจากเส้นหนังสัตว์หรือใยพืชและมิได้เหนียวเสมอกันทั้งเส้น จึงขาดง่ายดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ก้อนหินล้มกลับที่เดิม เขาจึงใช้ไม้ค้ำก้อนหินไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยเสียบปากไม้ค้ำไว้ที่มัดเชือกซึ่งผูกไว้รอบส่วนบนของก้อนหินเมื่อแท่งหินตั้งขึ้นตรงแล้ว คนงานจะอัดดิน ขอนไม้และก้อนหินลงในหลุมที่โคนแท่งหินให้แน่น ผิวด้านบนของแท่งหินตั้งจะราบเรียบ แต่มีส่วนที่เป็นเดือยเล็กๆ โปนออกมา ส่วนนี้เปรียบเสมือนสลักยึดหินก้อนบนและล่างให้ติดกัน ใช้สวมเข้ากับช่องที่อยู่ใต้คานหินที่จะนำมาวางพาดไว้เบื้องบน ขั้นตอนอันตรายที่สุดในการสร้างสโตนเฮนจ์น่าจะเป็นการยกคานหินยาว 6 ม. หนัก 7 ตัน ขึ้นวางพาดบนแท่งหินคู่ การยกคานหินก้อนนี้คงอาศัยกองไม้ซุง คือยกคานหินแล้วสอดซุงเข้าไปทีละปลายสลับกัน ทำให้ปลายทั้งสองสูงขึ้นทีละน้อย ในที่สุดกองไม้ซุงก็จะสูงเท่ากับส่วนยอดของแห่งหินคู่ แล้วจึงใช้คานงัดเอาก้อนหินพาดบนยอดแท่งหินทั้งสอง การก่อกองไม้ซุงนี้ คงต้องใช้ไม้ไม่ต่ำกว่า 250 ตัน ยาวต้นละประมาณ 60 ม.
ยักษ์ล้ม คานหินมหึมานอนอยู่หน้าแท่งเสาหินซาร์เซนที่สูงที่สุด สูงถึง 6.5 ม. และหนักมากกว่า 45 ตัน จากภาพจะเห็นเดือยหินและช่องหินที่ใช้ยึดหินทั้งสองอย่างชัดเจน | |
หน้าที่ | |
นำมาจาก รู้รอบตอบได้ ของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ |
ฟิสิกส์ 1(ภาคกลศาสตร์) ฟิสิกส์ 1 (ความร้อน) ฟิสิกส์ 2 ก
โลหะวิทยาฟิสิกส์ เอกสารคำสอนฟิสิกส์ 1 ฟิสิกส์ 2 (บรรยาย)
แก้ปัญหาฟิสิกส์ด้วยภาษา c ฟิสิกส์พิศวง
ทดสอบออนไลน์ วีดีโอการเรียนการสอน หน้าแรกในอดีต
พจนานุกรมฟิสิกส์ ลับสมองกับปัญหาฟิสิกส์ ธรรมชาติมหัศจรรย์
สูตรพื้นฐานฟิสิกส์ การทดลองมหัศจรรย์
แบบฝึกหัดกลาง แบบฝึกหัดโลหะวิทยา
อะไรเอ่ย ? ทดสอบความรู้รอบตัว (เกมเศรษฐี) คดีปริศนา
ข้อสอบเอนทรานซ์ เฉลยกลศาสตร์เวกเตอร์
คำศัพท์ประจำสัปดาห์ ความรู้รอบตัว
การประดิษฐ์แของโลก ผู้ได้รับโนเบลสาขาฟิสิกส์
นักวิทยาศาสตร์เทศ นักวิทยาศาสตร์ไทย ดาราศาสตร์พิศวง
การทำงานของอุปกรณ์ทางฟิสิกส์ การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
การเรียนการสอนฟิสิกส์ 1 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ 4. การเคลื่อนที่บนระนาบ
5. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน 6. การประยุกต์กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
8. การดลและโมเมนตัม 9. การหมุน
10. สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง 11. การเคลื่อนที่แบบคาบ
12. ความยืดหยุ่น 13. กลศาสตร์ของไหล
14. ปริมาณความร้อน และ กลไกการถ่ายโอนความร้อน
15. กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก
16. คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร 17. คลื่น
18.การสั่น และคลื่นเสียง 19.หน้ากากการเรียน
การเรียนการสอนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. ความกว้างของสายฟ้า 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน
5. ศักย์ไฟฟ้า 6. กระแสไฟฟ้า
7. สนามแม่เหล็ก 8.การเหนี่ยวนำ
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ 10. ทรานซิสเตอร์
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ
12. แสงและการมองเห็น
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 14. กลศาสตร์ควอนตัม
16. นิวเคลียร์ 15. หน้ากากการเรียน
การเรียนการสอนฟิสิกส์ทั่วไป ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
1. จลศาสตร์ ( kinematic) 2. จลพลศาสตร์ (kinetics)
3. งานและโมเมนตัม 4. ซิมเปิลฮาร์โมนิก คลื่น และเสียง
5. ของไหลกับความร้อน 6.ไฟฟ้าสถิตกับกระแสไฟฟ้า
7. แม่เหล็กไฟฟ้า 8. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับแสง
9. ทฤษฎีสัมพัทธภาพกับนิวเคลียร์ 10. หน้ากากการเรียน