ได้รับรางวัลโนเบล
หลังจากนั้นคนทั้ง 2
ต้องปฏิบัติงานส่วนที่หนักที่สุดคือ การสกัดแยกสิ้นแร่ออกเป็นธาตุต่าง
ๆ ปิแอร์ปฏิบัติงานที่ประณีตในห้องทดลอง เพื่อศึกษาสารกัมมันตรังสี
ซึ่งรวมทั้งยูเรเนียมและโพโลเนียม (ซึ่งมารีค้นพบเมื่อต้นปีนั้นและตั้งชื่อตามถิ่นกำเนิดของตนคือโปแลนด์)
ขณะเดียวกันมารีต้องสวมเสื้อกันฝุ่นที่ขมุกขะมอมด้วยกรดและฝุ่น
มารีคอยเฝ้าคนพิตช์เบล็นด์ในหม้อใบมหึมาและคอยตรวจตราให้แน่ใจว่าไฟลุกอยู่ตลอดเวลา
งานอันแสนหนักนี้ดำเนินต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง
อีก 4 ปี
จนกระทั่งประสบความสำเร็จในคืนแห่งฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ.
1902 คืนที่มารีเห็น หนอนกระสือเรืองแสงสีฟ้าอันมหัศจรรย์
เป็นครั้งแรก
หลังจากสกัดเรเดียมได้สำเร็จแล้ว
ปิแอร์ ทดลองให้แขนโดนรังสีเรเดียม เขาดีใจมากที่เมื่อเกือบ 8
สัปดาห์ต่อมาปรากฏว่าแขนมีรอยไหม้ขนาดไม่ใหญ่นักเป็นสีเทา ๆ
เมื่อทดลองซ้ำในสัตว์ก็ได้ผลเหมือนกัน
เขาจึงเชื่อว่ารังสีนี้จะรักษามะเร็งได้ด้วยการทำลายเซลล์เนื้องอกให้หมดไป
ในปี ค.ศ.
1903 มารีและปิแอร์รับรางวัลโนเบล
สาขาฟิสิกส์สำหรับการค้นพบกัมมันตภาพรังสีร่วมกับอองรี
เบกเกอเรล หลังจากนั้นอีก 2
ปี
เรเดียมก็กลายเป็นเครื่องมือสำหรับต่อต้านมะเร็งและมีการผลิตออกมาจากโรงงานต่าง
ๆ เกือบทั่วยุโรป
ทั้งสองมีโอกาสที่จะเป็นเศรษฐีเนื่องจากการค้นพบครั้งนี้
แต่มารีกลับตัดสินใจไม่จดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้นพบ
ถ้าการค้นพบของเรามีประโยชน์ทางการค้า
มารีกล่าว ก็เป็นเรื่องบังเอิญ
ซึ่งเราจะต้องไม่ถือโอกาสค้ากำไร เรเดียมจะมีประโยชน์ในการใช้รักษาโรค
ดิฉันไม่อาจหาประโยชน์จากการนั้น
แต่หุ้นส่วนชีวิตของเธอกับไม่ยั่งยืน
เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1906
ปิแอร์ถูกรถม้าชนตายกลางกรุง
ปารีส
ในปี ค.ศ.
1911 มารีได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
สำหรับการค้นพบเรเดียมและโพโลเนียม และการแยกเรเดียมบริสุทธิ์
เธอถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม
1934
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสัมผัสรังสีที่แผ่กระจายออกเป็นเวลานาน

รังสีเรเดียม เมื่อวางผงเกลือเรเดียม
สะเก็ดหนึ่งลงบนแผ่นกระจกถ่ายรูปซึ่งเคลือบน้ำยาอีมัลชันไว้
แล้วนำภาพไปล้าง
เราก็จะได้เห็นรอยสีดำซึ่งเกิดจากอนุภาคอะตอมของเรเดียมที่เปล่งออกมา

การแยกเรเดียม
ปิแอร์และมารีทำงานตามลำพังจนค้นพบเรเดียม เมื่อปี ค.ศ.
1902 มารีลงแรงทำงานหนักเท่าผู้ชาย
ต่อมาจึงจ้างคนงานชายมาช่วยทำงานแยกธาตุเรเดียมออกจากแร่พิตช์เบล็นด์
ซึ่งบรรจุอยู่ในถังขนาดใหญ่ที่ก่อด้วยอิฐ
|