หลักการองค์รวม
ทิศทางจักรวาลทัศน์
รูปแบบหรือกระบวนทัศน์ใหม่ของความคิดความรู้
ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันยิ่งใหญ่ที่มนุษยชาติไม่เคยประสบมาก่อน
กำลังจะเกิดขึ้นหรือได้เกิดขึ้นมาบ้างแล้วตามที่นักคิดนักวิชาการได้กล่าวเอาไว้
ที่ฟริตจ๊อฟ แคปร้า
เรียกว่าการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ใหม่
(The New Paradigm Shift) หรือที่เออร์วิน
ลาชโล
เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่
(The Great Global Transformation)
กระบวนทัศน์ใหม่นี้ก็คือความคิดแห่งองค์รวมที่เป็นเป้าหมายหลักของหนังสือเล่มนี้
การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ว่าอย่างไรจะต้องเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอน
บนความล้มเหลวทางความคิดและปัญญา
ที่ยึดติดอยู่กับหลักการฟิสิกส์กายภาพวัตถุนิยมและความแปลกแยกย่อยย่อ
อันเป็นกระบวนทัศน์ที่อยู่เบื้องหลังที่ผลักดันให้สังคมและธรรมชาติเดินทางไปสู่ความพินาศหายนะดังที่เป็นที่รับรู้ด้วยความวิตกตระหนกของผู้ที่ห่วงใยโลกและมนุษยชาติสรรพสิ่งแวดล้อมทุกคนอยู่ในขณะนี้การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มด้วยฟิสิกส์แห่งยุคใหม่นี้ได้แพร่ขยายสู่วินัยวิชาการสาขาต่าง
ๆ
อย่างหนักแน่นและรวดเร็ว
เป็นต้นว่า
วิชาการทางด้านของแพทย์ศาสตร์
ศาสนจิตวิทยาและปัจจุบันกำลังก้าวล่วงสู่วินัยทางสังคมเศรษฐกิจและวินัยอื่น
ๆ
แม้กระนั้นด้วยความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เพิ่มทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว
กับสัดส่วนที่เป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเช่นนั้น
เราก็เพียงแต่หวังว่าการเปลี่ยนแปลงพาราไดม์บนพื้นฐานของหลักการองค์รวม
จะสามารถเกิดขึ้นเป็นโลกาภิวัฒน์ได้ทันกับเวลาที่เหลืออยู่น้อยเต็มที
แม้ว่าโดยความหมายองค์รวม
จะชี้บ่งความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันของการกำเนิดการดำรงอยู่และวิวัฒนาการที่เป็นธรรมชาติที่เป็นผลที่เคลื่อนไหวของการจัดองค์กรตัวเองของสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งจักรวาล
องค์รวมอันเป็นหลักการหรือกฎที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติ
แต่การนำเอาความรู้ความเข้าใจมาประยุกต์ใช้
เพื่อการดำรงอยู่และวิวัฒนาการของชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสังคมให้ได้นั้นนอกจากอาศัยหลักการแล้วก็ต้องอาศัยแนวทางด้วย
จักรวาลทัศน์คือแนวทางนั้น
จักรวาลทัศน์เป็นทั้งแนวทางและกระบวนการธรรมชาติของจักรวาลขององค์รวมที่เอามาใช้ให้เป็นรูปธรรม
ตรงนี้จึงมีส่วนที่ระดับหยาบและผิวเผินของหลักการความแปลกแยกย่อยย่อ
และหลักการกลศาสตร์กายภาพจะเข้ามามีบทบาทหรือเป็นส่วนประกอบในทางปฏิบัติอยู่บ้างในขอบเขตที่จำกัดเฉพาะเรื่องเฉพาะกาลหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของนิยาม
ดังนั้นในบางส่วนบางตอน
หลักการความแปลกแยกย่อยย่อ
(reductionism)
ที่คิดว่าเป็นเรื่องที่เข้ากันไม่ได้กับหลักการแห่งองค์รวม
อาจมีส่วนช่วยเสริมหลักการองค์รวมอยู่บ้าง
ในด้านของการดำรงอยู่และการวิวัฒนาการของมนุษย์และของสังคมที่เป็นปัจเจกลักษณะ
ในด้านการประยุกต์ใช้ความรู้
และวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องถูกต้องกับการดำรงอยู่
และวิวัฒนาการของมนุษย์และสังคมเช่นนั้น
จึงไม่ใช่และไม่ได้เป็นเรื่องของสัจธรรมความจริงทั้งหมดหรือเป็นเรื่องของชีวิตระดับที่ลึกซึ้งไพศาลและจิตวิญญาณเสียทั้งหมด
และสิ่งที่บริหารระบบของการจัดองค์กรตัวเอง
หรือหลักการที่ควบคุมส่วนหรือระดับต่าง
ๆ
ตั้งแต่ระดับล่างสุดคือระดับของอะตอมและใต้อะตอม
มาจนถึงระดับโมเลกุลและองค์กรที่สูงขึ้นไปตามลำดับ
เป็นชีวิต เป็นมนุษย์
และจิตวิญญาณ
ก็คือกฎระเบียบของส่วนหรือระบบนั้น
ๆ
กฎหรือระเบียบดังกล่าวยังอาจพัวพันมีอิทธิพลต่อกันและกันในระหว่างระบบองค์กรเหล่านั้น
เป็นไปตามลักษณะของเยื่อใยที่เคลื่อนไหวไปด้วยกัน
ดังนั้นอนุภาคเช่นอีเล็คตรอนที่อยู่ร่วมกันในอะตอมต่าง
ๆ
จำนวนมากที่รวมกันในที่แออัดจะมีลักษณะของความไร้ระเบียบจลาจลต่อเนื่อง
ที่ทายไม่ได้กำหนดไม่ได้
แต่ในระดับทั้งหมดขององค์กรจะเป็นไปตามทฤษฎีความไร้ระเบียบที่ลงเอยด้วยความเป็นระเบียบ
(Chaos Theory) เช่นจุดแดง (red spot)
ที่เรามองเห็นบนผิวของดาวพฤหัสประกอบด้วยอีเล็คตรอนที่จลาจลยุ่งเหยิงที่สุด
แต่ทั้งหมดก็เป็นองค์กรในสภาพใกล้สมดุล
(close - to - equilibrium)
ที่เรียกได้ว่าสมบูรณ์ในตัวของมันเอง
ในอีกด้านหนึ่งการทำงานร่วมกัน
ส่งเสริมหรือขัดแย้งที่เมื่อรวมกันแล้วได้สภาพความซับซ้อนที่มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดก็เป็น
เช่นเดียวกับการสร้างชุดที่ตัวเร่งร่วมกัน
(autocatalytic sets of mole - cules)
ดังที่อธิบายไว้ในบทที่สาม
|