จิตกับสมอง
คำว่าจิต
ตามที่เข้าใจกันในภาษาใดก็ตาม
เป็นคำที่ให้นิยามยากที่สุดคำหนึ่งและการแบ่งจิตออกเป็นประเภทขั้นหรือระนาบและระดับหรือการแบ่งจิตในระบบอื่น
ๆ
ล้วนไม่มีความหมายที่จะทำให้ทุกคนในโลกสามารถเข้าใจได้เช่นเดียวกัน
คนพูดกับคนฟังนอกจากในวงที่จำกัดจริง
ๆ
แล้วแทบเป็นไปไม่ได้ว่าจะเข้าใจเป็นเอกภาพว่ากำลังพูดเรื่องเดียวกัน
ทั้งหมด
ดูจะมีความสับสนมากขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาหรือผู้ค้นคว้าทางจิตทางวิชาการมากหลาย
แต่ละคนก็ตั้งโรงเรียนของตนเองจำแนกแยกประเภทจิตจนไม่สามารถที่จะหาความเป็นหนึ่งเดียวกันได้
ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าเรื่องของจิตโดยเฉพาะจิตวิญญาณนับได้เป็นเรื่องที่เร้นลับที่สุด
และเป็นเรื่องที่ค้นคว้าได้ยากที่สุด
ที่พอจะทำได้ก็เพียงความเข้าใจที่สอดคล้องกันในหลักการกว้าง
ๆ
ได้ในระดับหนึ่งโดยยึดถือสามัญสำนึกหรือประสบการณ์ที่ทุกคนมีอยู่เท่าเทียมกันเป็นพื้นฐาน
และการอธิบายขยายประกอบของผู้พูดผู้เขียนที่จะต้องให้รายละเอียดพอสมควรว่าคำที่กำลังนำมาใช้ในขณะนั้นหมายถึงอะไร
ถึงแม้กระนั้นทั้งหมดก็คงได้แต่ความสังเขป
ซึ่งในบทนี้ความแตกต่างของทั้งสอง
จิตกับสมอง
จึงอยู่ที่ความแตกต่างระหว่างผลผลิตขององค์กรรวมกับผลผลิตของอวัยวะ
และกระบวนการของแต่ละส่วนของมันอย่างเป็นเอกเทศระหว่างสัญลักษณ์กับวัตถุหรือระหว่างซ็อฟท์แวร์กับฮาร์ดแวร์ซึ่งจิตคือซ็อฟท์แวร์แห่งข้อมูล
ดังคำเปรียบเทียบของพลาโดที่กล่าวว่า
ข้อมูลและความคิดที่ไม่ใช่รูปธรรมต่างหากคือความจริงแท้และเป็นอิสระด้วยตัวของตัวเอง
ที่อยู่เหนือกว่าและเบื้องหลังโลกแห่งวัตถุและรูปธรรม
จิตจึงไม่น่าใช่ที่จะเป็นเรื่องของฟิสิกส์กายภาพที่คอมพิวเตอร์จะทำปัญญาเทียมขึ้นมาได้เช่นเดียวกับจิตมนุษย์ทั้งหมดไม่ว่าเมื่อไรและอย่างไร
นั่นเป็นเรื่องที่สำคัญที่หลายคนอาจไม่ได้คิดถึง
เพราะความแตกต่างของจิตกับสมองอาจบ่งชี้วิสัยทัศน์ของเรา
วิสัยทัศน์ที่อาจกำหนดความอยู่รอดของสังคมโลกเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติ
และมวลสรรพสิ่งเลยทีเดียว
นั่นคือความแตกต่างกันระหว่างคุณค่าความหมายและจุดหมายปลายทาง
กับความบังเอิญไร้ค่าไร้ทั้งที่มาที่ไป
ระหว่างความหน่วงหนักเยี่ยงขุนเขากับความบางเยี่ยงขนนก
นั่นคือความแตกต่างแต่ต้องพึ่งพากันระหว่างจิตกับสมองที่ยกขึ้นมาเป็นหัวข้อของบทนี้
จิตหรือความหมายในที่นี้คือจิตวิญญาณของมนุษย์ที่แยกบทบาทของประสาทสัมผัส
(senses) และความรู้สึก (feelings)
และการตอบสนองอย่างอัตโนมัติอันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของชีวิตที่มีต่อประสาทสัมผัสความรู้สึกนั้น
ๆ ที่เรียกว่าสัญชาตญาณ
(instincts) ออกไปแล้วทั้งหมด
ที่สูงและซับซ้อนกว่านั้นล้วนเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ
(consciousness)
จิตวิญญาณที่นักฟิสิกส์ทุกคนเชื่อว่า
เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาลเป็นองค์รวมที่มีการบริหารโดยกฎของการจัดองค์กรตัวเอง
ด้วยฟิสิกส์ใหม่และแควนตัมเมคานิคส์ที่รวมอนุภาคที่ว่างและเวลาเป็นมิติแห่งองค์รวมที่ต่อเนื่องกัน
ทั้งหมดจึงเป็นคนละเรื่องกับสมองที่เป็นเรื่องของโลกกาย
เป็นวัตถุบริหารด้วยกฎทางฟิสิกส์กายภาพ
การเคลื่อนที่ของสสารที่มีเวลาและที่ว่างเป็นตัวแปรทั้งหมดเป็นเอกเทศแปลกแยกจากกัน
ด้วยข้อจำกัดของขอบเขตและความจำเป็นของรูปกายและด้วยข้อจำกัดขององค์ประกอบโดยรอบของการจัดองค์กรตนเอง
ในโลกที่จำกัดขององค์ประกอบโดยรอบของการจัดองค์กรตนเอง
ในโลกที่จำกัดด้วยรูปกายสิ่งแวดล้อมเช่นนั้น
จิตวิญญาณที่เป็นส่วนละเอียดของจักรวาลกับสมอง
ที่เป็นเปลือกหยาบผลิตภัณฑ์ของโลกกายจึงต้องรวมอยู่ด้วยกันและจำเป็นจะต้องพึ่งพากันทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกิดทีหลังและในรูปแบบที่เหมาะสมกับกายภาพโดยรวมของโลกนี้เท่านั้น
แน่นอนได้เลยว่า
วิทยาศาสตร์โดยเฉพาะฟิสิกส์กายภาพและชีววิทยาที่ยังคงเดินทางบนหลักการของวัตถุและความแปลกแยกจะไม่สามารถเปิดเผยความหมายที่แท้จริงของจักรวาลและชีวิตได้หรือแม้แต่จะเข้าใจปัญหาของมนุษย์และของโลกส่วนมากที่สุดสืบเนื่องจากนั้น
อย่างไรก็ตามด้วยศักยภาพปัญญาของมนุษย์
ด้วยกระบวนทัศน์ทางความรู้ที่ปรับหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ยิ่งขึ้นตลอดเวลา
ด้วยฟิสิกส์แห่งยุคใหม่ที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้
เป็นไปได้ว่ากระบวนทัศน์ใหม่ทางความคิดจะสามารถวางรากฐาน
และกำหนดทิศทางใหม่ให้แก่สังคมโลกให้ผันกลับมาสู่แนวทางที่เป็นธรรมชาติสอดคล้องกลมกลืนกับกระบวนการจัดองค์กรตัวเองและเป็นไปได้ทันกับเวลา
|