โลกไม่ใช่ปิรามิดหรือห่วงโซ่อาหาร
กลับไปที่เจมส์
เลิฟลอ็คอีกที
นักคิดที่เสนอทฤษฎีโลก (Gaia
hypothesis) ที่บอกว่า
แท้ที่จริงแล้วโลกทั้งโลกคือองค์กรรวมแห่งชีวิต
ที่ต้องคิดและเข้าใจเช่นชีวิตอื่นใดทั้งหลายทั้งปวงรวมทั้งตัวของมนุษย์
โลกไม่ใช่ปิรามิดหรือห่วงโซ่ที่จัดหาอาหารและปัจจัยดำรงชีวิตที่อยู่นิ่งเฉย
ๆ
รอให้มนุษย์ที่คิดว่าตัวเองอยู่ภายนอกเข้าไปตักตวงผลประโยชน์โดยที่โลกไม่รู้สึกตัวเท่านั้น
ตรงกันข้ามโลกรู้
เพราะว่าโลกเคลื่อนไหวตลอดเวลาและสนองตอบต่อผลกระทบทุกประการที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือที่ใด
นั่นเป็นธรรมชาติของการรักษาดุลให้พอดี
โลกที่ว่านี้จึงเป็นองค์รวมแห่งชีวิตที่เป็นสิ่งมีชีวิตอย่างแท้จริง
โลกที่มีมนุษย์เป็นส่วนเล็ก
ๆ
ส่วนหนึ่งร่วมอยู่ภายในองค์รวมนั้น
ดังนั้นการแยกตัวเองของมนุษย์จากองค์รวมแห่งชีวิต
การเข้าไปหาผลประโยชน์ด้วยการตักตวงเบียดเบียนองค์รวมอย่างไม่มีขอบเขต
ผลสะท้อนที่สนองตอบจึงเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น
และวันนี้ผลสะท้อนที่กระทบกลับมา
ผลพวงของการพัฒนาสังคมมนุษย์
และพัฒนาคุณภาพที่ดีกว่าของมนุษย์อันไม่มีมาตรการเตรียมการใด
ๆ
ผลพวงของการแยกตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมธรรมชาติแล้วหวลกลับไปตักตวงทำลายล้างสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
เพียงเพื่อความฟุ่มเฟือยที่เปลือกผิวและชั่วแล่นด้วยอวิชชาแม้แต่ความคิดฝันในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่เป็นกระบวนการที่แยกมนุษย์ออกมาต่างหากจากไบโอเสฟียร์และเข้าไปควบคุมบริหารสรรพสิ่งแวดล้อมอื่น
ๆ ทั้งหมดก็เป็นอวิชชา
แทนที่จะใช้สติและปัญญาหันมาพิจารณาตัวเอง
ทั้งหมดแสดงอย่างชัดเจนถึงความไม่รู้อหังการ์และความผิดพลาดซ้ำซ้อน
ความล่มสลายหายนะที่กระทบต่อระบบนิเวศน์โลกจึงเป็นไปอย่างกว้างขวางและล้ำลึก
องค์กรรวมแห่งชีวิตหรือไบโอเสฟียร์
ที่มนุษย์เป็นส่วนได้ก้าวมาถึงจุดที่ผ่านการหวลกลับไปเช่นเดิมไม่ได้อีกแล้วดังเห็นได้ว่า
แม้แต่การวิจัยและทำนายด้วยคอมพิวเตอร์อย่างเป็นหลักการที่สุดของสถาบันทางสังคมที่มีชื่อที่สุดแห่งหนึ่งคือ
สโมสรแห่งโรม (Club of Rome)
ที่ตีพิมพ์และเสนอสหประชาชาติในปี
1972
ได้ให้ผลสรุปไว้สามประการ
คือ
ประการที่หนึ่งความพินาศหายนะระดับโลกที่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยพบเห็น
หรือคาดคะเนได้มาก่อนจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนภายในเวลาหนึ่งร้อยปี
นับจากปี 1972
เป็นต้นไปจะส่งผลทำให้มีการลดจำนวนของประชากรโลกและระบบอุตสาหกรรมโลกลงมาอย่างหนักหน่วงที่สุด
ประการที่สองสภาพที่จะนำไปสู่ความพินาศหายนะและความเจ็บปวดสูญเสียสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ด้วยการรักษาดุลธรรมชาติไว้ให้ได้อย่างยั่งยืน
และประการที่สามจะต้องเริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพกลับสู่ดุลแห่งธรรมชาติอย่างฉับพลันทันทีและให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
นั่นมันร่วมหนึ่งในสี่ศตวรรษมาแล้ว
และในช่วงที่ผ่านมานั้นนอกจากเราไม่ได้ทำอะไรเลยแล้ว
อัตราความสูญเสียสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990
ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้หน้าดิน
น้ำจืดสำรองใต้ดิน
หรือการผลิตก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศล้วนแล้วแต่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างมากทั้งสิ้น
เช่นอัตราสูญเสียของป่าไม้ฝนกลับมาทวีกว่าสองเท่าตัว
ในขณะที่เราเผาซากฟอสซิลน้ำมันที่ใช้ในการพัฒนาผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศในปี
1993 - 1994 เพิ่มเป็น 7
พันล้านตัน (ton of oil eqivqlent)
สูงกว่าปี 1970
กว่าสามเท่าตัวโดยที่อัตราเพิ่มคิดต่อหัวของจำนวนของประชากรโลกกลับไม่ลดลง
ก็ไม่ทราบว่าตัวเลขของปีแห่งความพินาศหายนะตามที่สโมสรแห่งโรมเคยให้ไว้
จะต้องปรับเวลาให้เป็นเมื่อไหร่และอย่างไร
|