ต้องยอมรับว่าไม่รู้จริง
ก็ต้องยอมรับว่าไม่รู้
ยังเป็นเรื่องลึกลับดำมืด
เรารู้บ้างในเรื่องก่อนหน้าจุดนั้น
และเรารู้มากพอสมควรในเรื่องที่เกิดที่หลังจุดนั้น
แต่ตรงจุดนั้นพอดีเราไม่รู้
อย่างที่ว่ามาแล้วเรามีแต่ทฤษฎีที่หลากหลายและไม่เป็นที่ยอมรับกันและกัน
อะไรที่เราไม่รู้เรามักจะพูดว่านั่นเป็นคำถามที่ดีมาก
ที่ดีมากเพราะว่าตอบไม่ได้
ลึกลับ
อาจพูดว่านั่นเป็นความลึกลับที่สุดในโลกวิชาการกำเนิดของชีวิตจึงลึกลับที่สุดในทางวิทยาศาสตร์
เราจึงมีแต่ประโยคที่พูดว่า
"ลึกลับที่สุด"
กันเต็มไปหมด
ต่างคนต่างก็พยายามบอกให้คนอื่นเชื่อว่าวินัยหรือคำถาม
หรือปัญญาของกูลึกลับกว่าของมึง
เพราะว่ามันลึกลับที่สุดในโลกไง
ประเด็นสำคัญ ๆ
ที่ทำให้เราไม่สามารถตอบได้ว่าชีวิตมีต้นกำเนิดมาอย่างไรมีอยู่หลายประเด็นทีเดียว
ประเด็นแรกก็คือแม้แต่สิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายเล็กน้อยที่สุด
เอาไวรัสเอชไอวีเป็นตัวอย่างก็ได้มันก็สุดแสนจะซับซ้อนเสียแล้ว
ไวรัสที่มีกรดนิวเคลอิคสามารถรับข้อมูลได้เพียงสามหมื่นบิตส์
(3 x 10 ยกกำลัง 4) มียีนส์ไม่กี่ร้อยยีนส์
(เทียบกับมนุษย์ที่มี 6000
ล้านบิตต์ของข้อมูลมียีนส์ร่วม
300000 ยีนส์)
แต่แม้เพียงขนาดนั้น
ความซับซ้อนของไวรัสก็มากกว่าสายงานประกอบรถยนต์ของโรงงานประกอบรถ
ที่ประเทศญี่ปุ่นทั้งของโตโยต้ากับนิสสันรวมด้วยกัน
ความสามารถผลิตสิ่งเหมือนได้ซ้ำซ้อน
(replicate)
สำหรับชีวิตแล้วเราเอาไปโปะไว้ที่ดีเอ็นเอทั้งหมด
ถ้าการผลิตซ้ำซ้อนมันสุดจะยุ่งยากเช่นว่านั้นมาตั้งแต่ต้น
ระบบที่เป็นการผลิตมันจะเกิดขึ้นมาอย่างทันทีทันใดง่าย
ๆ ได้อย่างไร
อย่าลืมว่าดีเอ็นเอเป็นโค๊ดข้อมูลคำสั่ง
มันไม่ได้ทำเอง ที่ทำคือเอ็นไซม์คือตัวเร่ง
(catalysts) ที่ก็เป็นโปรตีน
แต่โปรตีนมันเองมีขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อดีเอ็นเอส่งให้มันประกอบตัวเองขึ้นมา
มันก็เหมือนไข่กับไก่ที่ใครจะต้องมาก่อนสักคน
ต่อให้โปรตีนอยู่ ๆ
ก็สร้างดีเอ็นเอได้ขึ้นมาเฉย
ๆ มันก็ยังไม่จบ
เพราะว่าดีเอ็นเอจะเอาโปรตีนที่ไหนมาผลิตตัวเหมือนซ้อน
ๆ
ออกมาได้ตลอดเวลาเพื่อหาคำตอบนักวิทยาศาสตร์จึงแบ่งออกเป็นสามค่าย
ค่ายที่หนึ่งคิดว่ามีโปรตีนที่วิวัฒนาการทันทีทันใด
โดยไม่ต้องมีเอ็นไซม์หรือตัวเร่งอะไรเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทำให้ตัวเองกลายเป็นองค์กรที่แบ่งตัวเองได้ขณะเดียวกันทำหน้าที่เป็นโค๊ดข้อมูลได้ด้วย
กลุ่มนี้คิดว่าโปรตีนตัวนั้นอาจเป็นอาร์เอ็นเอ
ทำหน้าที่ทั้งสองอย่างส่วนดีเอ็นเอมาทีหลังหลายร้อยล้านปี
(Manfred Eigen)
ค่ายที่สองคิดว่ามีแต่โปรตีนธรรมดาง่าย
ๆ ที่ค่อย ๆ
ใช้เวลานานมากปรับปรุงตนเองให้มีความสามารถทางพันธุกรรม
สามารถเก็บข้อมูลได้ทีละเล็กละน้อย
จนนาน ๆ
เข้าก็เปลี่ยนเป็นดีเอ็นเอ
(Sidney Fax and also Stuart Kauffman)
ค่ายที่สามคิดว่าชีวิตไม่ได้เริ่มที่โมเลกุลฐานคาร์บอน
แต่เริ่มจากผลึกซิลิคอนในดินเหนียวที่เป็นสารอนินทรีย์
ผลึกที่สามารถสร้างตนเอง
ได้ด้วยการค่อย ๆ
งอกออกมาและนาน ๆ
เข้าก็ดึงเอาสารอินทรีย์เข้ามาเป็นองค์ประกอบจนในที่สุดเหลือสารอินทรีย์ล้วน
ๆ
ซิลิคอนที่ไม่จำเป็นอีกจึงถูกทิ้งไป
(Graham Cairns - Smith)
ความเห็นของนักวิทยาศาสตร์สายอื่นนอกเหนือไปจากนักเคมีและนักชีววิทยาส่วนหนึ่งที่สมควรนำมากล่าว
และอาจกลายเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นเหตุปัจจัยกับการกำเนิดของสรรพสิ่งในจักรวาลรวมทั้งชีวิตในโลกของเรา
ส่วนมากนักคิดนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้คิดและเชื่อมั่นว่าจักรวาลกับโลกมันแยกกันไม่ได้
แท้จริงแล้วโลกมันก็เป็นส่วนที่เล็กมาก
ๆ
จนแทบจะไม่มีความสำคัญในมาตรของจักรวาล
แยกจากกันไม่ได้
จะมาคิดแต่เรื่องบนโลกหาสาเหตุแต่สิ่งที่เรารู้
ซึ่งก็ยังรู้ไม่หมดสิ้นทั้งห่างไกลที่จะหมดสิ้น
เพียงเอาตัวมนุษย์เราเป็นศูนย์กลางความสำคัญของจักรวาลทั้งหมดสำหรับคนที่ใช้สติปัญญาเป็นมันก็ดูพิลึกยังไงชอบกล
ดังนั้นความเห็นของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้จึงล้วนฉีกแนวออกไปโดยชิ้นเชิง
แม้ว่าส่วนมากของนักคิดนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้
ยังคิดหรือเห็นแตกต่างกันอยู่ดี
นั่นก็แน่นอนอยู่แล้วเพราะว่าโลกเองก็ยังรู้ไม่ถึงไหนยังไปคิดออกไปนอกจักรวาลแล้วมันมิเดากันแย่ดอกหรือ
อย่างไรก็ดีใช่ว่าจะเป็นการเดาเสียทั้งหมดทีเดียว
ก็อาศัยหลักการหลักฐานข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เท่าที่รู้
หรือยอมรับกันแล้วมาเป็นฐานคิดในมุมหนึ่งมันก็ไม่ได้แตกต่างมากนักกับที่นักชีววิทยาคิดกัน
ที่ก็มีส่วนหนึ่งเป็นสมมุติฐาน
สมมุติฐานก็ไม่ต่างกับการเดาเท่าไรนักเพียงแต่มีข้อเท็จจริงเล็กน้อย
ๆ
บ้างหรือทฤษฎีที่ยอมรับกันบ้างมาใช้เป็นข้ออ้างอิง
เป็นต้นว่าความเห็นที่บอกว่าการดำรงอยู่
หรือการเกิดขึ้นตลอดเวลาของสรรพสิ่งในจักรวาลและแน่นอนโลกเราด้วยนั้น
ไม่จำเป็นที่มัวคิดกันแต่ในระดับล่าง
ระดับย่อย
ระดับโลกเท่านั้น
มันมีธรรมชาติในระดับเช่นนั้นได้
มันก็ย่อมมีธรรมชาติในระดับที่สูงขึ้นไปตามลำดับได้เช่นเดียวกัน
หรือแม้มันจะมีจะเป็นของมันเองเช่นนั้นมาตั้งแต่ต้นเช่นเดียวกับมีจักรวาลขึ้นมาเช่นที่
เฮ็นริเบิร์กสัน (Henri Bergson)
คิดว่าจักรวาลจะต้องสร้างสิ่งใหม่
ๆ
ที่เป็นอิสระขึ้นมาตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องมีสาเหตุให้ปรากฏในระดับล่าง
(envi'tale)
ซึ่งความคิดเช่นนี้ไปคล้ายกับความคิดของคาร์ล
ป๊อปเปอร์ (Karl Papper)
นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงยิ่งที่เชื่อว่าสรรพสิ่งที่เกิดมาไม่ต้องมีสาเหตุ
และไม่มีการกำหนดผูกขาดให้เป็นเช่นนั้นหรือเช่นนี้
มันล้วนเป็นเช่นนั้นของมันเองมีขึ้นมาเองและไม่สิ้นสุด
|