ทฤษฎีของชาร์ลส์ดาร์วิน
การค้นคว้าธรรมชาติและชีวิตอย่างละเอียดลึกซึ้งของชาร์ลส์
ดารวินและความกล้าหาญของเขาที่ได้เสนอทฤษฎีของชีวิตเป็นไปตรงกันข้ามกับความเชื่อศรัทธาของคนทั่วไป
ขัดกับคำสอนของศาสนาอย่างตรงกันข้ามในปี
1859
นับได้ว่าเป็นการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต
เป็นการวางรากฐานทางชีววิทยาให้เกิดขึ้นอย่างมั่นคง
แทบว่าจะเทียบได้กับ
การค้นพบของไอแซคนิวตัน
(Isaac Newton)
เรื่องสสารและการเคลื่อนที่และพิสูจน์กฎแห่งแรงโน้มถ่วง
ที่ได้วางรากฐานทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์กายภาพเมื่อหนึ่งร้อยห้าสิบปีก่อนหน้านั้น
ความยิ่งใหญ่อัจฉริยะของบุคคลทั้งสองเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติที่แท้จริง
แม้ว่าความรู้ที่ทั้งสองได้วางรากฐานมีอยู่มากในปัจจุบันว่าไม่เป็นความจริงทั้งหมด
หรือแม้บ้างที่ไม่จริงเลย
นั่นก็เพราะวิวัฒนาการของความรู้เครื่องมือและประสบการณ์มีมากขึ้นไปตามวันเวลา
ทั้งหมดไม่ได้ทำให้ความเป็นมหาอัจฉริยะของทั้งสองคนเปลี่ยนแปลงไปแม้แต่น้อย
สำหรับทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติของดาร์วินนั้น
ในด้านของวิวัฒนาการนับว่าเป็นทฤษฎีที่ดีที่สุด
และยิ่งนับวันที่ความก้าวหน้าในด้านโมเลกุลชีววิทยา
และพันธุกรรมศาสตร์มีความลึกซึ้งกว้างขวางขึ้นเท่าไร
ทฤษฎีก็ยิ่งเข้มแข็งเป็นจริงยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะก็ในด้านของหลักการที่สำคัญ
ๆ ในระดับของโมเลกุลเช่น
ในเรื่องของมิวเตชั่น
อย่างไรก็ตามในด้านที่เป็นเรื่องของความบังเอิญ
(randam variation)
ความบังเอิญอะไรที่ทำให้ความสามารถในการปรับองค์กรตนเองมั่นคงซับซ้อน
และมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องลึกซึ้งและเป็นขั้นตอนสูงขึ้นอย่างมหัศจรรย์
เหลือความเป็นไปได้ในเมื่อหลักการและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นจริง
มิวเตชั่นแทบทั้งหมดเป็นวิวัตการย้อนกลับ
เป็นอันตรายหรือเลวลงกว่าเดิมทำให้เกิดความไร้ระเบียบจลาจลมากกว่าความเป็นระเบียบและดีงามนอกจากนี้ด้วยทฤษฎีนี้
การตีความทางวิทยาศาสตร์ว่าวิวัฒนาการตามธรรมชาติให้โอกาสต่อการอยู่รอดของเผ่าพันธ์ที่ดีกว่า
ผู้ที่แข็งแรงกว่าหาอาหารได้เก่งกว่าเท่านั้นที่รอด
แข็งแรงและหาอาหารกับดีกว่าฉลาดกว่าเป็นคนละประเด็น
ถ้าไม่เช่นนั้นป่านนี้โลกคงจะเต็มไปด้วยไดโนเสาร์
จะเห็นได้ว่าทฤษฎีนี้ไม่คำนึงความหมายและความพิสดารซับซ้อนของกระบวนการ
ถ้าเช่นนั้นทำไมต้องมีมนุษย์ที่อ่อนแอด้วยในด้านพละกำลังแต่ผู้ที่อ่อนแอกลับเอาชนะสิ่งมีชีวิตอื่น
ๆ ได้แทบทั้งหมด
มิน่าเล่าที่ทฤษฎีของชาร์ลส์ดาร์วินจึงไม่อธิบายว่าทำไมจึงยังคงมีอะมีบาอยู่ตั้งพัน
ๆ ล้านปี
ทำไมบางตัวมันจึงเปลี่ยนแปลงไปวิวัฒนาการไปแต่บางตัวก็ไม่เป็นเช่นนั้น
ทำไมยังมีแมงกะพรุนกุ้งและปลาและความหลากหลายของชีวภาพ
และก็เช่นเดียวกันทฤษฎีก็ยังไม่คำนึงถึงองค์รวม
และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในโลกและจักรวาลในด้านกระบวนการของหน้าที่ของการพึ่งพากันอย่างขาดไม่ได้
ทำให้บางส่วนที่สำคัญของทฤษฎีขาดความหมายไกลความรอบด้านลงไป
นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่มักเป็นนักปรัชญาด้วย
จึงรับการอธิบายตามทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติไม่ได้ทั้งหมด
เซอร์ เฟรด ฮอยล์ศาสตราจารย์และผู้ก่อตั้งฟิสิกส์ทฤษฎีแห่งมหาวิทยาลัยเค็มบริดจ์จึงสรุปว่า
การสับเปลี่ยนยีนส์พันธุกรรมอย่างสลับซับซ้อนในกระบวนการวิวัฒนาการทางชีววิทยานั้น
สุดท้ายแล้วอยู่ภายใต้การกำหนดและการควบคุมของอภิมาปัญญาที่บริหารทั้งหมด
จากภายในจักรวาลเพื่อจักรวาลเองทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบของจักรวาล
ทั้งที่เป็นหนึ่งเดียวกันหรือเชื่อมโยงต่อเนื่องกันระหว่างสรรพสิ่ง
และจักรวาลเข้าไปด้วย และเฟรด
ฮอยด์ก็ไม่ได้พูดว่าอภิมหาปัญญานั้นอยู่ภายนอกจักรวาลหรือว่าเป็นใครเป็นอะไร
จึงเป็นได้ว่าในทางชีววิทยากายภาพ
เมื่อพูดถึงเหตุปัจจัยของการเป็นชีวิตต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตแล้ว
ที่พูดมาข้างบนทั้งหมดนั่นก็เหมือนกับไม่ได้พูดอะไรเลย
ที่ว่าวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปจนแทบจะถึงที่สุดแล้วนั้น
ลองตอบให้ชัดเจนทางวิทยาศาสตร์มาซิว่าชีวิตเกิดมาได้อย่างไร
|