ระบบแห่งรูปพรรณสัณฐาน
ระบบหรือความเป็นรูปพรรณสัณฐาน
(morphogenesis)
ของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตที่จะต้องเป็นเช่นนั้น
หรือมีรูปเช่นนี้เป็นความเร้นลับอย่างที่สุดอย่างหนึ่งของกระบวนการทางชีววิทยา
และเป็นกระบวนการที่สนับสนุนเป้าหมาย
และที่มาที่ไปของชีวิตทุกชีวิตลองคิดดูที่ไข่ที่ผสมพันธุ์แล้ว
ก็คือเซลล์ที่เพียงแตกต่างกับเซลล์ทั่วไปด้วยโครโมโซมที่ได้มาจากพ่อกับแม่คนละสาย
แทนที่จะเป็นคู่สายของตนเองดั้งเดิม
และจากสายโครโมโซมทั้งสองของเซลล์ที่ผสมกันเป็นไข่เติบโตเป็นตัวอ่อน
เจริญพันธุ์ขึ้นมาตามขั้นตอนเป็นรูปร่างที่สลับซับซ้อนอย่างที่เรียกว่ามหัศจรรย์ก็ยังน้อยไป
การเติบโตอย่างกับว่ามีแบบแปลนพิมพ์เขียว
ทั้งที่เป็นแม่แบบของโครงสร้างของร่างกายทั้งหมด
และความสัมพันธ์ของตำแหน่งของแต่ละส่วนแต่ละองค์กรย่อย
เหมือนกับแปลนบ้านทั้งหมดมีรูปร่างเปอร์สเป็คตีฟรอบ
ๆ
อย่างไรมีห้องกี่ห้องที่แต่ละห้องอยู่ตรงไหนอย่างไรและก็ยังมีแบบแปลนย่อยลงไปอีกว่าห้องแต่ละห้องนั้น
ต้องมีขนาดเท่านั้นเท่านี้มีพื้นเป็นไม้เป็นกระเบื้องมีหน้าต่างกี่หน้าต่าง
จากนั้นก็ยังมีแบบที่ย่อยละเอียดลงไปอีกว่า
กระเบื้องหรือไม้หรือสีที่มามีขนาดจำนวนหรือชนิดอย่างไรจึงจะไม่ขาดไม่เกินอย่างพอดี
พิมพ์เขียวของรูปแบบสัณฐานของร่างกายสิ่งมีชีวิตก็เหมือนกันที่จะต้องมีแผ่นพิมพ์สีเขียวแม่แบบทั้งหมด
ที่ควบคุมจัดสัดส่วนลักษณะของร่างกาย
หัวจะต้องอยู่สูงสุดบนลำตัว
มีขาสองขาอยู่ข้างล่างทุกส่วนอยู่ในตำแหน่งที่เฉพาะ
จะต้องประกอบให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่เฉพาะ
ส่วนที่เป็นแบบย่อยลงมาก็รับผิดชอบแต่ละส่วนแต่ละอวัยวะและองค์กรร่างกายลดหลั่นกันลงมา
ดูแลควบคุมขนาดปริมาณและขอบเขตของแต่ละชิ้นส่วนที่เฉพาะ
เป็นเนื้อเยื่อเป็นอวัยวะเป็นส่วนต่าง
ๆ
ของร่างกายได้อย่างพอเหมาะพอดี
ไม่ขาดไม่เกินสมบูรณ์อย่างที่สุด
แน่นอนเรารู้ว่านั่นคือเป้าหมายของการเจริญพันธุ์ของชีวิตแต่ละชีวิตเป็นธรรมชาติของการเจริญเติบโต
แต่ทว่าทั้งหมดนั้นมันมีอะไรควบคุม
และบริหารให้มันเป็นไปตามแม่แบบพิมพ์เขียวใครเขียนแม่แบบที่ว่านั้น
และทั้งหมดนั้นมันมีกลไกของการสรรสร้างมาอย่างไร
มีอยู่ช่วงหนึ่ง
ก็ไม่นานมานี้ที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามีคำตอบให้กับทั้งหมด
คิดว่ารู้เรื่องชีวิตทั้งหมดเมื่อนักโมเลกุลชีววิทยาได้ค้นพบกรดนิวเคลอิคพบดีเอ็นเอและยีนส์
เมื่อมีการค้นพบการบริหารข้อมูลทางพันธุกรรม
แต่ตอนนี้เรารู้ว่าที่คิดว่ารู้เท่านั้นมันไม่พอและเอามาอธิบายทั้งหมดไม่ได้
จริง ๆ
แล้วส่วนมากอธิบายไม่ได้
ยกตัวอย่างดีเอ็นเอมันก็ไม่ได้ทำอย่างอื่นมากกว่าเป็นโค๊ดให้สร้างโปรตีนได้
ดูแลทั้งขนาดและจำนวน
คือสร้างอิฐสร้างตะปูผลิตสีได้
แต่จนบัดนี้ก็ไม่พบว่าดีเอ็นเอหรือยีนส์เป็นคนเขียนคำนวณแบบหรือดีไซน์ให้เป็นรูปไหนลักษณะใดหรือมีการวางแผนให้อิฐหินดินทรายและไม้ตะปู
ที่กองอยู่ที่โรงงานเหล่านั้นเดินทางไปยังตำแหน่งเป้าหมาย
และเข้ารูปเป็นห้องเป็นประตูหน้าต่างได้อย่างไร
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในมาตรรวมของตำแหน่งความสัมพันธ์และสัดส่วนหรือรูปขนาดเป็นร่างกายทั้งหมด
รวมทั้งเป็นอวัยวะแต่ละอวัยวะ
ดังนั้นการอาศัยแต่โค๊ดหรือดีเอ็นเอไม่เกี่ยวกับการเขียนและคำนวณแบบแปลน
พิมพ์เขียวของร่างกายทั้งหมด
และความสัมพันธ์ของกันและกันได้เลย
จึงไกลจากความสมบูรณ์จึงอธิบายไม่ได้
ยกตัวอย่างกลุ่มเซลล์ที่มุ่งไปที่ตำแหน่งที่จะเป็นลูกตากับกลุ่มเซลล์ที่มุ่งไปที่ตำแหน่งของหู
เซลล์พวกนี้มันรู้ได้อย่างไรว่าใครกี่ตัวจะไปตรงไหนจำนวนเท่าใด
และใครจะไปเป็นลูกตา
ใครจะเป็นหู
ที่สำคัญคือใครเป็นคนควบคุมให้ยีนส์ให้ดีเอ็นเอทำงานให้เป็นไปตามแผน
หากคิดว่าดีเอ็นเอคือผู้บริหารระบบองค์กรของชีวิตทั้งหมด
ก็มีคนพยายามคิดว่ามันมีหัวหน้ายีนส์
(mostergenes metaplan)
ที่ทำหน้าที่วางแผน
ก็ต้องถามต่อไปว่าแล้วมันเป็นโมเลกุลอะไรอยู่ที่ไหน
ก็มีคนคิดต่อไปอีกว่ามันก็คงซ่อนอยู่ที่สายโซ่ดีเอ็นเอนั่นแหละ
ประเด็นมันก็คือหากเป็นกรณีเช่นนั้นก็แปลว่าหัวหน้าดีเอ็นเอในเซลล์ที่อยู่ตำแหน่งนั้น
ๆ เช่น
ลูกตาหรือหูหรือตำแหน่งใดก็ตาม
มันควบคุมการเจริญเติบโตของระบบองค์กรของชีวิตทั้งหมดหรืออย่างไร
ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหัวหน้าใหญ่ดีเอ็นเอมันอยู่ในสายดีเอ็นเอของเซลล์ทุก
ๆ ตัว
มีสิ่งใดเล่าที่ไปกระตุ้นให้มันเปิดเผยออกมาจากที่ซ่อน
หรือว่ามันมีอีกตัวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังเป็นหัวหน้าที่ใหญ่กว่าผู้ทำหน้าที่กระตุ้นอีกที
ถ้าเช่นนั้นมันก็ต้องมีหัวหน้าที่ใหญ่กว่าตัวกระตุ้นอีกตัว
และอีกตัวและอีกตัวที่ซ่อนอย่างซับซ้อนอยู่เบื้องหลังต่อ
ๆ ไปเรื่อย ๆ
อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
มันก็เกินไป
ดังนั้นบางคนจึงพยายามอธิบายว่ามันอาจมีสนามคลื่นอนุภาคคอยบังคับให้ดีเอ็นเอทำงาน
อันนี้เข้าท่า
มีประเด็นอยู่ว่าสนามคลื่นอนุภาคที่ว่านั้นมันอยู่ที่ไหนและทำงานอย่างไร
|