เป้าหมายหรือที่ไป
วิทยาศาสตร์กายวัตถุนิวโตเนี่ยนคลาสสิค
และส่วนหนึ่งโดยทฤษฎีของดาร์วิน
(Charles Darwin)
ต่อมาโดยสแตนลี่ย์มิลเล่อร์
อธิบายที่มาและกำเนิดของชีวิตบนความบังเอิญ
ที่ซ้ำซ้อนเป็นหมื่นเป็นแสนล้านความบังเอิญ
ดังนั้นจึงคิดว่าชีวิตไม่มีเป้าหมาย
ไม่มีที่ไป
บังเอิญให้มาเกิดเมื่อตายแล้วก็จบกัน
ทั้ง ๆ
ที่ตั้งแต่ต้นแม้หลายร้อยปีมาแล้ว
เมื่อวิทยาศาสตร์กายภาพถูกค้นพบและนำมาใช้ใหม่
ๆ
เป้าหมายของชีวิตก็มีให้สังเกตได้อย่างชัดเจน
แต่ก็ไม่มีใครสนใจเพราะไปยึดมั่นกับความบังเอิญ
ดังที่คล๊อดเบอร์นาร์ดได้รำพึงไว้
(Claude Bernard)
ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19
ว่า "ด้วยความจริงที่เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า
มันได้มีแผนแบบและเป้าหมายที่เขียนเอาไว้ล่วงหน้าสำหรับทุก
ๆ คนและชีวิตอื่นใดทุก ๆ
ชีวิต
แผนแม่แบบของการพึ่งพาอาศัยพลังธรรมชาติ
และเมื่อพิจารณาร่วมกับชีวิตอื่น
ๆ
ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันแล้ว
มันเหมือนกับว่ามีสิ่งที่มองไม่เห็นชี้นำให้แต่ละชีวิตต้องเดินไปตามทางนั้น
และมีเป้าหมายที่ทุกชีวิตต้องไปที่นั่น
หรือที่ย๊าค
โมนอด์ (Jaques Monod)
นักชีววิทยารางวัลโนเบลที่แม้ว่าจัดว่าเป็นรีดัคชั่นนิสต์ที่แยกย่อยสรรพสิ่งออกจากกันก็ยังยอมรับว่าชีวิตมีที่ไปมีเป้าหมาย
เขากล่าวว่า "ลักษณะเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจนว่า
เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตทุกชนิดอย่างไม่มียกเว้น
ก็คือความมุ่งหมายหรือโครงการที่จะต้องไปถึงให้ได้
แสดงออกด้วยโครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างนั้น
ๆ
"
ทำไมจึงไม่เห็นกันมาก่อน
ชีวิตทุกชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาคุณสมบัติ
มีการเผยสิ่งใหม่ ๆ
ออกมาซับซ้อนหลากหลายและเพิ่มทวีอย่างมีความหมายเป็นขั้นเป็นตอนมาตลอดและที่สำคัญคือว่า
ทำนายไม่ได้ในอนาคตมันจะวิวัฒนาการเป็นอะไรหรืออย่างไรต่อไป
ทั้งหมดบ่งชัดว่ามีแผนแม่แบบมีเป้าหมายที่ไม่มีใครรู้ทั้งหมด
ของชีวิตไม่มีคำว่าบังเอิญ
และตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือความเร้นลับของการสรรพสร้างรูปพรรณสัณฐานของชีวิต
|