ธรรมชาติของชีวิต
คำว่าชีวิตไม่ใช่อธิบายได้ง่าย
ๆ อย่างที่คิด
ที่นำมากล่าวไว้ตั้งแต่บทแรกของหนังสือ
จึงเป็นความหมายของชีวิตตามที่คนทั่วไปเขาเข้าใจกัน
สำหรับคนทั่วไปนั้นมันไม่ใช่เรื่องยากที่จะแยกสิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตออกจากกัน
คนกับหมา
แมวหรือต้นมะม่วง
พุ่มกุหลาบที่คุ้นตาอยู่ในบ้านย่อมเป็นชีวิต
ในขณะที่ก้อนหินก้อนดินและเศษแก้วไม่เป็น
หรือระหว่างมดกับผลึกของน้ำยาเคมีที่ตกลงมานอนที่ก้นขวด
แต่สำหรับประการหลังนั้นนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจเท่าใด
คำว่าชีวิตจึงพึ่งปทานุกรมไม่ได้
เพราะว่าปทานุกรมไม่ว่าฉบับไหนก็จะต้องอธิบาย
อย่างน้อยด้วยหลักการที่เหมือน
ๆ กันเช่นอธิบายว่า
ชีวิตคือองค์กรที่สามารถทำอะไรได้ด้วยตนเองเป็นต้นว่าเคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งไม่ว่าทั้งหมดหรือของส่วนใดส่วนหนึ่ง
หากินได้เจริญเติบโตและสืบพันธุ์ได้
สืบพันธุ์ในที่นี้คือความสามารถในการสร้างสิ่งใหม่ที่ถอดแบบรูปแบบภาพลักษณ์เช่นเดียวกันกับสิ่งเดิมหรือพ่อแม่ขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำอีกได้
แต่ถ้าเป็นเพียงเช่นนั้นผลึกทุกชนิดก็ทำได้
เรื่องผลึกนี่ที่บ้านเรากลายเป็นเรื่องแปลกหรือศักดิ์สิทธิ์
บางคนที่เก็บเอาผลึกที่เข้าใจว่าเป็นโลหะหรือเป็นธาตุเอามาเก็บไว้
ตอนหลังไปตรวจดูปรากฏว่ามันงอกได้ออกลูกออกหลานได้
เป็นเรื่องของความอัศจรรย์ไป
ในทางตรงกันข้ามต้นไม้หรือแม้แต่สัตว์ตัวเล็ก
ๆ
บางชนิดที่ถ้าให้คนธรรมดาดูก็ต้องคิดว่ามันต้องได้ตายไปแล้ว
และไม่มีทางฟื้นขึ้นมาได้อีกแล้ว
มีรายงานว่าตะไคร่น้ำบางชนิดที่นำมาใส่หลอดแก้วจนแห้งผากอยู่ในที่เก็บพิพิธภัณฑ์เป็นร้อย
ๆ ปี
พอเอาออกมาจากหลอดแล้วหยดน้ำใส่ลงไปมันกลับงอกขึ้นมาใหม่ได้
หรือสัตว์ตัวเล็กมากชนิดหนึ่งที่เรียกว่าร็อตติเฟอร์
(rotifer)
คล้ายหนอนตัวกลมแต่ก็คล้ายแมลงด้วย
อยู่ด้วยกันจับกันเป็นกลุ่มที่เอาไปขังไม่ให้น้ำให้อาหารเป็นสิบ
ๆ ปี
แต่พอเอาออกมาแล้วให้น้ำซุปเข้าไปมันก็ฟื้นคืนชีวิตอย่างหน้าเฉยตาเฉย
เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมดหรือแมลงบางอย่างของบ้านเราก็มีคุณสมบัติเช่นว่านี้
ความยากลำบากในการนิยามคำว่าชีวิต
จึงทำให้นักฟิสิกส์กับนักเคมีชีววิทยาสองคนคือเจอรัลด์
ไฟน์เบิร์กจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียกับโรเบิร์ตแชฟปิโรจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค
ร่วมกันเสนอผลงานศึกษามาเขียนลงในหนังสือที่ขายดีเล่มหนึ่ง
(Gerald Feinberg and Robert Shapiro)
ที่สรุปนิยามว่าเป็นการยากที่สุดที่จะแยกสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตออกจากกัน
ระหว่างสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งหมดที่ดูเผิน
ๆ ว่าแยกจากกันได้ง่าย ๆ
แต่ที่จริงแล้วธรรมชาติทั้งหมดที่อยู่บนพื้นผิวเปลือกโลกล้วนพึ่งพาอาศัยกันและกันเกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้งจนแยกจากกันไม่ได้
ดังนั้นระบบนิเวศน์ธรรมชาติหรือเอากันให้กว้างกว่านั้น
แม้แต่เปลือกผิวของโลกทั้งหมดเองก็เป็นสิ่งที่มีชีวิตในรูปใดลักษณะหนึ่ง
ทั้งสองคนถึงได้ตั้งชื่อเปลือกผิวโลกแห่งชีวิตนี้ว่าไบโอเสเฟียร์
(biosphere)
นิยามที่เดี๋ยวนี้นำมาใช้กันคุ้นหูกันอย่างทั่วไป
อีกข้อหนึ่งที่ไฟน์เบิร์กและแชฟปีโรเสนอให้ใช้เป็นสิ่งแยกชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตก็คือ
จะต้องไม่นำเอาส่วนที่ประกอบเข้ามาเป็นองค์กรมาคิด
ไม่นำส่วนที่คิดว่าเป็นตัวกำหนดชีวิตหรือไม่ใช่ชีวิตมาคิด
เป็นต้นว่าสารเคมี
โปรตีนต่าง ๆ
แต่ให้ตั้งหลักการของชีวิตไว้ที่ระบบหรือกฎที่บริหารส่วน
หรือองค์กรที่ประกอบเป็นชีวิตมาคิดแทน
พูดง่าย ๆ
ก็คือหลักการของชีวิตไม่ได้อยู่ที่สสารวัตถุที่เป็นองค์ประกอบ
แต่อยู่ที่ข้อมูล (information)
หลักการอันนี้น่าคิด
เพราะว่าจริง ๆ
แล้วชีวิตมันน่าจะขึ้นกับทั้งสองอย่าง
ทั้งส่วนประกอบที่เป็นสารเคมีเป็นวัตถุและกับข้อมูลด้วย
แม้ว่าว่าไปแล้วข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญกว่ามากยิ่งนัก
เพราะว่าด้วยข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวจึงทำให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรชีวิต
เอามนุษย์เป็นตัวอย่าง
มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ได้
เราที่รู้ว่าเป็นเราไม่ใช่สารเคมีไม่ใช่วัตถุ
แต่เป็นเรื่องของข้อมูล
และการบริหารข้อมูลหรือตัวรู้ข้อมูลคือจิต
ทั้งนี้ไม่ว่าการรับรู้บริหารนั้น
ๆ
มันจะโบราณดึกดำบรรพ์หรือวิลิศมาหราแตกต่างกันประการใดข้อมูลกับตัวรู้ย่อมจะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
ที่ไฟน์เบิร์กกับแชฟปิโรเสนอจึงเป็นเรื่องของการรู้มากกว่าการทำงาน
ตัวรู้มากกว่าส่วนประกอบสสาร
จิตมากกว่ากาย
ที่รู้ว่าเป็นหมากับถ่านก้อน
หนึ่งไม่ใช่อยู่ที่สารเคมี
ซึ่งไม่ว่าดีเอ็นเอหรือธาตุคาร์บอนโดด
ๆ ก็เป็นสารเคมี
ที่ไม่เป็นนิยามของชีวิตที่รับรู้บริหารข้อมูลได้
ในกรณีเช่นนี้
รูปกายไม่ได้ชี้บ่งสิ่งมีชีวิตแต่เป็นเรื่องของสิ่ง
"ไม่มีรูปไม่มีกาย"
|