ภาพพุทธประวัติจากหินสลัก
ยุคก่อนมีพระพุทธรูปในประเทศอินเดีย พ.ศ. ๓๐๐๗๐๐
ถ่ายจากภาพปั้นที่จำลองขึ้นใหม่ เพื่อกิจการแห่งโรงมหรสพทางวิญญาณ
ณ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

พุทธทาสภิกขุ รวบรวมและอธิบาย
ภาพที่ ๒๖ สัญลักษณ์การประสูติ
ภาพเทวี ยืนเหนือดอกบัว ถือดอกไม้ มีฉัตรกั้น มีช้างรดน้ำจากหม้อลงบนศีรษะ.
(จากหินสลัก แบบสาญจี สมัยสุงคะ พ.ศ.
๔๐๐๕๐๐)

คำอธิบายภาพที่ ๒๖
เมื่อได้ศึกษาคำอธิบายของภาพที่
๒๕ มาอย่างทั่วถึงแล้ว การดูภาพที่ ๒๖ นี้ ก็ไม่ต้องการคำอธิบายอะไรมากมาย
นอกจากเรื่องการมีฉัตรกั้นอยู่บนศีรษะของสตรีแบบเดียวกัน แต่ในที่นี้อยู่ในท่ายืนและถืออะไรอย่างหนึ่งในมือขวา
ซึ่งมิใช่ดอกบัว, และยังหาคำอธิบายอันเป็นที่พอใจไม่ได้.
อิริยาบถยืนนั้น ตรงกันกับข้อความในตำนานทั่วไปว่าพระมารดายืนประสูติ,
แต่ในที่นี้ก็ไม่ควรทึกทักเอาว่าภาพนั้นคือภาพพระมารดาโดยตรงอีกตามเคย.
สำหรับฉัตรที่กั้นอยู่ข้างบนนั้น
ตามแบบมาตรฐานของศิลปะยุคเก่าของอินเดีย คือแบบสาญจี ภารหุต มถุรา และอมราวดีแล้ว
ถือเป็นหลักว่า กั้นให้แก่พระพุทธองค์อย่างเดียว ไม่ว่าจะอยู่ในรูปสัญลักษณ์,
หรือรูปของพระองค์จริงในยุคต่อมาของแบบอมราวดีเป็นต้น, ดังนั้นในภาพที่
๒๖ นี้ จะต้องถือว่า ที่ได้ฉัตรนั้นมีสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ ซึ่งจะอยู่ในรูปของความว่าง
หรือของอะไรก็ตาม อยู่โดยแน่นอน.
ภาพนี้ ไม่มีหม้อปูรณฆฏะ
จึงยิ่งไม่มีทางที่จะถูกดึงไปเป็นพระลักษมียิ่งขึ้น. กอบัวนั้น มีใบ ๕
ใบ, มีดอกตูม ๔ ดอก, มีดอกบาน ๗ ดอก, มีฝักบัว ๓ ฝัก, ประกอบกันอยู่อย่างงดงามแบบหนึ่งทีเดียว.
ต่อไปนี้ ไม่มีภาพสัญลักษณ์โดยตรงอีกแล้ว
มีแต่ภาพแสดงเรื่องราวในลักษณะภาพเหมือน มีสัญลักษณ์แต่ส่วนน้อยไปจนตลอดเล่ม.

ภาพพุทธประวัติจากหินสลัก > ภาพที่ ๒๖
|