|
|
ตรวจต่อมไทรอยด์ ดังที่อธิบายแล้วโซเดียมจะปนอยู่ทั่วทุกแห่งในของเหลวในร่างกาย แต่มีบางธาตุที่มักจะไม่แผ่กระจายทั่วร่างกาย แต่ส่วนใหญ่จะรวมกันอยู่ที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งโดยเฉพาะเช่น ไอโอดีนจะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นอวัยวะเล็ก ๆ ที่อยู่ที่คอด้านหน้า มีส่วนสำคัญที่บอกสุขภาพของคน ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ดีก็จะบวมขึ้นที่เราเรียกว่า คอหอยพอก (goiter) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคหัวใจได้ ถ้าแพทย์ประสงค์จะทราบว่าไทรอยด์ของผู้ป่วยทำงานผิดปกติหรือไม่ ก็ให้ผู้ป่ายดื่มเครื่องดื่มที่มีไอโอดีนกัมมันตรังสี (1-131) เจือปนอยู่เล็กน้อยเข้าไป และใช้เครื่องไกเกอร์เคาน์เตอร์ไปวัดที่คอผู้ป่วย โดยการวัดความแรงของรังสีในต่อมไทรอยด์ แพทย์ก็จะบอกได้ว่าต่อมไทรอยด์สะสมไอโอดีนปกติหรือไม่ หรือรับมากไปหรือน้อยไป โดยใช้เครื่องวัดรังสีที่สามารถที่จะวัดกัมมันตภาพรังสีปริมาณเล็กน้อยได้ แพทย์อาจจะทำแผนที่ของต่อมไทรอยด์เพื่อแสดงว่าส่วนไหนทำงานดี ส่วนไหนทำงานไม่ดี ถ้าพบว่าไทรอยด์ผิดปกติหรือเป็นมะเร็งแพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยดื่มไอโอดีนกัมมันตรังสีมากขึ้นอีก รังสีจากไอโอดีนกัมมันตรังสีจะทำลายส่วนที่ผิดปกติในไทรอยด์ได้ เราอาจใช้ไอโอดีนกัมมันตรังสีตรวจการเจิรญเติบโตของสมองส่วนที่แสดงว่าเป็นมะเร็ง ในกรณีนี้ไม่ได้ให้ดื่มไอโอดีนกัมมันตรังสีทางปาก แต่ฉีดเข้าไปในเส้นเลือด เพราะว่าเนื้องอกของสมองจะดูดโลหิตไปมากกว่าส่วนที่ปกติ ดังนั้นไอโอดีนกัมมันตรังสีจะไปร่วมอยู่ตรงที่เป็นเนื้องอกที่ผิดปกติมากกว่าส่วนอื่น ๆ ศัลยแพทย์จะใช้เครื่องวัดรังสีตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกนี้ออกมา ในการรักษาเนื้องอกในสมองชนิดหนึ่ง แพทย์ไม่ใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มีอยู่แล้ว แต่จะทำขึ้นข้างในเนื้อร้ายนั้นเอง โดยในตอนแรกเขาฉีดธาตุโบรอนเข้าเส้นเลือดผู้ป่วย เนื้องอกจะสะสมโบรอนได้เร็วกว่าส่วนที่ปกติ และชั่วขณะหนึ่งก็จะมีโบรอนจำนวนมากสะสมในส่วนนี้ หลังจากการฉีดโบรอนเข้าร่างกายประมาณ 10 นาที คนป่วยก็จะถูกนำไปที่เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู จัดวางศีรษะผู้ป่วยตรงส่วนที่จะรักษาให้ตรงกับรูเล็ก ๆ โดยส่วนอื่นถูกกั้นไม่ให้ถูกรังสี จากนั้นก็จะเปิดรูให้นิวตรอนจากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิ่งชน เมื่ออะตอมของโบรอนถูกชนโดยนิวตรอนก็จะให้รังสีอัลฟาออกไปทำลายเซลล์ที่เจริญผิดปกติ ทางเดินของอนุภาคอัลฟาสั้นมากและมันจะหยุดก่อนที่จะไปถึงและทำอันตรายสมองส่วนอื่น ๆ เราได้เห็นเพียง 2-3 ตัวอย่างเท่านั้นจากงานที่ปฏิบัติจริงจำนวนมากมายที่นักชีววิทยาและแพทย์ใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสี ชีววิทยาและการแพทย์เป็นเพียงสาขาวิชา 2 สาขาในจำนวนสาขาวิชาการมากมายที่ใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสีเป็นประโยชน์มาก ในวงการอุตสาหกรรมไอโซโทปกัมมันตรังสีช่วยประหยัดเงินอย่างมาก ผลประโยชน์จากการวิจัยโดยใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสีในทางชีววิทยาและทางการแพทย์นั้นมิอาจจะตีค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ ในการเกษตร การเพาะเมล็ดพืชที่อาบรังสี การทดลองที่จะผลิตพืชผลและสัตว์ที่ดีกว่า และการทำลายแมลงที่ทำลายพืชและสัตว์โดยใช้รังสีกำลังนำผลที่ดีมาให้ ทางด้านฟิสิกส์ เคมี การพัฒนาโลหะและในแขนางวิชาวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ไอโซโทปกัมมันตรังสีช่วยทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องธรรมชาติของสสาร
| |||||||||||||||||||||||