400 ปีกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ |
||
ปีที่
|
Thomas Alva Edison นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้รับสิทธิบัตร จากการประดิษฐ์หลอดไฟ ด้วยการส่งกระแสไฟผ่านเส้นลวดทำให้แสงไฟออกมาจากภายในหลอดแก้ว โดยมีการเผาไหม้ตลอด 40 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน และเขายังประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบเครื่องกำเนิดไฟเพื่อส่งกระแสให้หลอดไฟตามที่ต้องการ
Pierre Curie นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบการสั่นด้วยอัลทราโซนิกส์ จากการเกิดปฏิกิริยาของความดันกับศักย์ไฟฟ้าที่เรียกว่า เพียโซอิเล็กทริก (piezoelectric ภาษาอังกฤษหมายถึงความดัน) คุณสมบัติของเพียโซอิเล็กทริกกับคริสตัลมารวมกันจะเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิด sound - electronic เช่น ไมโครโฟน และเครื่องบันทึก
Edouard Joseph Louis-Marie van Beneden นักเซลล์วิทยาชาวเบลเยี่ยม พบว่าจำนวน chromosome ในเซลล์จะมีจำนวนคงที่ในแต่ละสายพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบว่า chromosome ของเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่และอสุจิ) มีเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนปกติในการแบ่งเซลล์ เรียกกระบวนการนี้ว่า meiosis (ภาษากรีก หมายถึง ทำให้เล็กลง) เมื่อเกิดกระบวนการผสมพันธุ์ จำนวน chromosome ก็จะกลับมาเท่ากับจำนวนปกติ โดยมีครึ่งหนึ่งจากแม่อีกครึ่งมาจากพ่อ
Elie Mehchnikoff นักแบคทีเรียชาวฝรั่งเศสเกิดที่รัสเซีย พบว่าเม็ดเลือดขาวสามารถย่อยสลายแบคทีเรีย เมื่อมีการติดเชื้อบริเวณใด เม็ดเลือดขาวจะไปรวมกลุ่มที่บริเวณนั้นและทำหน้าที่กลืนกินแบคทีเรีย ซึ่งเขาเรียกว่า phagocytes (ภาษากรีก หมายถึง การกินเซลล์) ถ้าเม็ดเลือดขาวมีจำนวนน้อยกว่าก็จะทำให้เกิดเป็นหนอง ดังนั้นเม็ดเลือดขาวจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการป้องกันโรคและการติดเชื้อ งานนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลร่วมในสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ ในปี ค.ศ. 1908
Svante August Arrhenius นักเคมีชาวสวีเดน ได้พบทฤษฎีเกี่ยวกับ ionic dissociation ขณะที่เรียนปริญญาเอก โดยทฤษฎีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าอะตอมมีขั้วทางไฟฟ้าอยู่ในโครงสร้างที่เป็นลักษณะสำคัญ งานนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ.1903 Emil Hermann Fischer นักเคมีชาวเยอรมัน ผู้ที่แยกน้ำตาลบริสุทธิ์และพบโครงสร้างของน้ำตาล เป็นที่รู้กันว่าน้ำตาลมี 6 คาร์บอนอะตอมและมี 16 ชนิดตามการจัดตัวของคาร์บอน การจัดเรียงตัวของคาร์บอนที่ต่างกันทำให้แนวของ light polarization หมุนตัว เขาแสดงให้เห็นว่าของน้ำตาลมีอยู่ 2 แบบ คือ ที่เป็นรูปเสมือนซึ่งกันและกัน โดยเรียกว่า D-series และ L-series และนำมาเขียนเป็นสูตร สำหรับน้ำตาลธรรมชาติจะอยู่ในแบบ D-series ขณะเดียวกันเขาได้พบสารที่เรียกว่า purines ประกอบด้วยโมเลกุลที่เป็นคาร์บอน 5 อะตอมและ ไนโตรเจน 4 อะตอม จับเป็นวงสองวง การพบครั้งนี้จัดเป็นกุญแจสำคัญสำหรับสารชีวเคมี ในปี ค.ศ.1902 เขาได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี
Charles Algernon Parsons วิศวกรชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์กังหันไอน้ำ (stream turbine) เป็นครั้งแรก และนำมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มกำลังให้เรือ Lewis Edson Waterman นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้จดสิทธิบัตรปากกา ที่สามารถเก็บกักและเติมน้ำหมึกได้ ทำให้เขียนได้นานมีที่เก็บเป็นเสมือนแหล่งจ่ายน้ำหมึก (Fountain) จึงเรียกว่าปากกาหมึกซึม (Fountain Pen)
Albrecht Kossel นักชีวเคมีชาวเยอรมัน ได้พบสาร purine และ pyrimidines จากโปรตีนร่วมด้วย nucleic acid นอกจากนี้เขาได้พบสาร purine 2 ชนิดที่ต่างกัน คือ adenine และ guanine และพบสาร pyrimidine ที่แตกต่างกัน 3 ชิดคือ uracil, cytosine และ thymine งานนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ.1910 William Stanley วิศวกรไฟฟ้าชาวอเมริกัน ผู้ประดิษฐ์หม้อแปลง (transrormer) สำหรับเปลี่ยนจำนวนโวลต์ให้เป็นจำนวนแอมแปร์ของกระแสไฟฟ้าสลับ
Carl Friedrich Benz วิศวกรชาวเยอรมัน ได้สร้างรถยนต์เป็นคันแรกที่ทำงานด้วยการใช้ก๊าซเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ รถดังกล่าวดูเหมือนจักรยาน แต่มีล้อ 3 ล้อ มีล้อขนาดเล็กอยู่ด้านหน้าและ 2 ล้อใหญ่อยู่ด้านหลัง รถคันนี้สามารถวิ่งด้วยความเร็ว 9 ไมล์ต่อชั่วโมงขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า
Charles Martin Hall นักเคมีชาวอเมริกัน และ Paul Louis Toussaint Heroult นักผสมโลหะชาวฝรั่งเศส ได้พบในสิ่งเดียวกัน คืออลูมิเนียม ที่มีราคาถูก น้ำหนักเบาและแข็ง จึงเหมาะที่จะนำมาใช้กับเครื่องบิน
John Boyd Dunlop นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ได้ทำขอบรถสามล้อของลูกชายด้วยยางรถยนต์ (rubber tire) และได้สิทธิบัตรในปีต่อมา ซึ่งการหุ้มด้วยยางจะดีกว่าไม้หรือเหล็ก นอกจากนี้เขายังประดิษฐ์ยางอัดลม (pneumatic tire) มีการเติมลมให้รอบขอบจนยางสัมผัสพื้นถนนโดยรอบ การทำเช่นนี้จะทำให้ยานพาหนะมีการสปริงและลดเสียงได้อย่างมากมาย ต่อมาได้นำไปใช้กับรถยนต์ และยานพาหนะอื่น ๆ
|
ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ดร. ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล ฟิสิกส์ราชมงคลขอบคุณครับ
ครั้งที่
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์