400 ปีกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ |
||
ปีที่
|
Hermann Ludwig Ferdinand von Helmholtz นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้สรุปไว้ว่ากฎการอนุรักษ์พลังงานยังปรากฏอยู่ พลังงานบนโลกไม่สามารถถูกสร้างและไม่สามารถถูกทำลาย จำนวนพลังงานจะยังคงที่ นอกจากนี้กฎข้อนี้ยังคงเป็นกฎข้อแรกของ thermodynamic Thomas Wiltbeger Evans ทันตแพทย์ชาวอเมริกัน ผู้ค้นพบและใช้ ซิลเวอร์ อมัลกัม (silver amalgam) ในการอุดฟัน
Baron Kelvin นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้พบ absolute scale ใหม่ของอุณหภูมิที่สร้างขึ้นโดยจะยึด absolute zero ที่จุด O ไม่มีอุณหภูมิเป็นลบ มีหน่วยเป็นเซลเซียสเพื่อว่าจุดเยือกแข็งจะอยู่ที่ 273.15O A (Absolute) ต่อมานักวิทยาศาสตร์จึงใช้เป็น 273.15O K (K คือ Kelvin)
Rudolf Julius Emanuel Clasius นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้พบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานว่า พลังงานบางส่วนมีการสูญเสียขณะได้รับความร้อนและความร้อนไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาในรูปพลังงานได้อย่างสมบูรณ์ มีผลให้พลังงานที่มีอยู่ในจักรวาลกำลังจะถูกสลายด้วยความร้อนและปริมาณการใช้ประโยชน์ที่กำลังลดพลังงานคงที่ เขาได้ตั้งกฎข้อที่ 2 ของ thermodynamic ว่าจำนวนอัตราส่วนของปริมาณความร้อนจะเพิ่มขึ้นเสมอในจักรวาล และวันหนึ่งเมื่อถึงจุดสูงสุดพลังงานก็ไม่เหลือให้ใช้ ทั้งหมดก็จะพบกับวิกฤต
Elisha Graves Otis นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์ลิฟต์ที่มีความปลอดภัยจากการตกเมื่อสายเคเบิลขาดเป็นครั้งแรก
Luigi Palmieri นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ได้ประดิษฐ์เครื่องตรวจสอบแรงสั่นสะเทือนที่ประกอบด้วยท่อแนวนอนปลายปิดและบรรจุปรอทไว้ภายใน เวลามีแรงสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยปรอทจะเลื่อนไปมา นอกจากนี้มีเหล็กชิ้นเล็ก ๆ ลอยอยู่ ถ้ามีการเคลื่อนไหวก็สามารถอ่านค่าประมาณการเกิดแผ่นดินไหวได้ เครื่องดังกล่าวเรียกว่า Seismograph Alexander Parkes นักเคมีชาวอังกฤษ ได้พบสาร Pyroxylin ที่ไม่สามารถใช้ในทางการค้าได้ แต่เป็นการค้นพบการสังเคราะห์พลาสติกเป็นครั้งแรก
Louis Pasteur นักเคมีชาวฝรั่งเศส ได้นำไวน์มาตรวจสอบพว่าว่า มียีสต์ 2 แบบที่จะผลิตกรดแลคติก จึงค่อย ๆ ใช้ความร้อนจนถึงที่ 50OC แล้วหยุดและเก็บไว้ พบว่าความร้อนที่ให้ใช้การได้ กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า Pasteurization และปี ค.ศ.1862 เขาได้ตีพิมพ์ทฤษฎีการก่อโรคของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแพทย์สมัยใหม่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1885 ได้ให้วัคซีนสำหรับป้องกันพิษสุนัขบ้าเป็นครั้งแรกแก่เด็กชาย Joseph Meister ผู้ถูกสุนัขบ้ากัด การให้วัคซีนได้ผลเด็กชายรอดจากอาการพิษสุนัขบ้า
Charles Robert Darwin นักชีววิทยาชาวอังกฤษ ได้เป็นผู้ตั้งทฤษฎีการวิวัฒนาการโดยการคัดเลือกจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีผู้ขัดแย้งมากมาย และปี ค.ศ.1871 Darwin ได้เป็นผู้พบหลักการวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยชี้ให้เห็นว่ามีอวัยวะหลายอย่างของคนมีการเปลี่ยนแปลงมาจากสัตว์ เช่น ส่วนปลายกระดูกสันหลังของคนน่าจะเกิดจากการหดตัวของหางสัตว์ เป็นต้น
Anders Jonas Angstrom นักฟิสิกส์ชาวสวีเดน ได้เป็นผู้ค้นพบไฮโดรเจนในดวงอาทิตย์ และหน่วยของการวัดคลื่นแสงที่ยังคงใช้อยู่ ได้แก่ angstrom Richard Jordan Gatling นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์ปืนที่สามารถยิงได้ 6 ลูกภายในนาที ซึ่งจัดเป็นปืนกลชิ้นแรก Felix Hoppe Seyer นักชีวเคมีชาวเยอรมัน ได้วิเคราะห์โปรตีนจากเลือด เขาได้ตกผลึกและให้ชื่อว่า haemoglobin โดยเมื่อมีการจับกัน ออกซิเจน จะกลายเป็น oxyhaemoglobin
John Tyndall นักฟิสิกส์ชาวไอริช ได้ค้นพบว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเล็กน้อยและไอน้ำในอากาศจะทำให้อุณหภูมิรอบ ๆ ผิวโลกสูงขึ้น ซึ่งจะคล้ายคลึงกับ greenhouse ที่แสงสามารถผ่านเข้าทางกระจกทำให้ภายในอุ่นขึ้นแต่ความร้อนถ่ายเทได้ยาก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ภายใน greenhouse อุ่น ซึ่งเป็นผลมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการระเหยของน้ำ เรียกภาวะนี้ว้า greenhouse effect หากกิจกรรมของมนุษย์ยังคงเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ภาวะ greenhouse effect ก็จะเกิดมากขึ้น
Gregor Johann Mendel นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้พบว่าเพศเมียและเพศผู้จะสร้างขึ้นเท่า ๆ กัน มีสององค์ประกอบที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตคือเรื่องสายพันธุ์และสิ่งที่จะเกิดกับผลที่ได้ถ้าเป็นลักษณะเด่น (dominant) ก็จะแสดงออกมาแต่ถ้าเป็นลักษณะด้อย (recessive) จะไม่แสดงออกแต่ก็ยังคงอยู่ ซึ่งอาจจะแสดงออกในรุ่นต่อไป แต่ถ้าเป็นลักษณะด้อยทั้งหมดก็จะแสดงออกเป็นลักษณะด้อย กฎในการสืบทอดสายพันธุ์นี้ต่อมาในภายหลังจึงเรียกว่า พันธุกรรม (genetics) Linus Yale ช่างกุญแจชาวอเมริกันได้จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ cylinder lock ด้วยระบบการผลักให้เป็นแนวเวลาเปิดล็อค ตัวกุญแจมีขอบเป็นรูปฟันปลาเพียงพอต่อการผลักให้เป็นแนว ทำให้ไม่ง่ายต่อการปั๊มเลียนแบบ
Thomas Cilfford Allbutt แพทย์ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เทอร์โมมิเตอร์ขนาดเล็กมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว สำหรับวัดอุณหภูมิคนไข้ ใช้เวลาวัดไม่เกิน 5 นาที
|
ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ดร. ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล ฟิสิกส์ราชมงคลขอบคุณครับ
ครั้งที่
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์