400 ปีกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ |
||
ปีที่
|
Joseph John Thomson นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้พบเป็นครั้งแรกว่า electron คือ subatomic particle (ขนาดเล็กกว่าอะตอม) จากการที่เขาคิดว่าประจุจะเป็นหน่วยประจุย่อยที่คำนวณจากกฎการแตกตัวด้วยไฟฟ้าของ Faraday จริง มวลของอนุภาค cathode ray จะเป็นเศษส่วนเล็ก ๆ ของไฮโดรเจนอะตอมที่เล็กที่สุดและเรียกว่า electron Ernest Rutherford นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้พบว่ารังสีที่มีประจุบวกจะเรียกว่า alpha rays และรังสีเบากว่าที่มีประจุลบเรียก beta rays ซึ่งยังคงใช้การเรียกชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน Ronald Ross แพทย์ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบพาราสิตที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ที่จำแนกโดย Laveren คือ ยุงก้นปล่อง (anopheles mosquito) เพื่อสู้กับโรคมาลาเรียจึงต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่อง การค้นพบนี้ Ross ได้รับรางวัลโนเบลทางสรีรวิทยาและการแพทย์ในปี ค.ศ. 1902 Karl Ferdinand Braun นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้พบเครื่อง oscilloscope จากการดัดแปลง cathode ray เพื่อให้เกิดจุดสีเขียวของฟลูออเรสเซนด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ ผลักอนุภาคให้ไหลไปตามสนามแม่เหล็ก ซึ่งในปัจจุบันเครื่องนี้คือ จอทีวี Rudolf Diesel นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel engine) จากการจุดชนวนไออากาศผสมด้วยการใช้แรงอัดจากความร้อน เขาใช้เชื้อเพลิงที่มีจุดเดือดสูงเช่น kerosene ราคาถูกไม่ไวไฟ และปลอดภัยกว่าน้ำมันเบนซิน
Marie และ Pierre Curie สามีภรรยานักเคมีชาวฝรั่งเศส ได้ค้นพบธาตุที่เรียกว่า Polonium และ radium ที่มีรังสีที่รุนแรงกว่ายูเรเนียม การค้นพบครั้งนี้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลร่วมกับ Becquerel ในสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1911 William Hampson นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาการผลิตอากาศเหลวที่มีปริมาณมากพอสมควร โดยแบ่งให้ Ramsay และ Travers บางส่วนเพื่อกลั่นแยกอย่างระมัดระวังในส่วนของ argon ทำให้ค้นพบธาตุที่มีสถานะก๊าซใหม่ดังนี้ neon (ภาษากรีก หมายถึง ใหม่), Krypton (ปิดบัง) และ xeono (แปลกหน้า) จึงทำให้ธาตุทั้งห้า (neon, krypton, xenon, helium, argon) ถูกเรียกว่าก๊าซเฉื่อย (inert gases)
Simon Lake วิศวกรเครื่องกลชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เรือดำน้ำที่สามารถออกทะเลได้สำเร็จ และให้ชื่อว่า Argonaut 1 ภายในปีเรือดำน้ำนี้ก็ได้แล่นจาก Norfolk, Virginia ถึง New York ถือเป็นการเริ่มต้นของเรือดำน้ำสมัยใหม่
Andre-Loius Debierne นักเคมีชาวฝรั่งเศส ได้พบธาตุใหม่ที่ชื่อว่า actinium (ภาษากรีก หมายถึง รังสี) จากยูเรเนียมที่มีมากกว่า polonium และ radium
Max Karl Ernst Ludwig Planck นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้พบพลังงานเล็กน้อยของ quanta (ภาษาลาติน หมายถึง เท่าไร) จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับความถี่คลื่นแสง (ความถี่ คือ 1 หารด้วยขนาดคลื่นแสง) เกิดค่าที่น้อยมากเรียก Plancks constant ซึ่งแทนความหยาบของพลังงาน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเรียกว่าทฤษฏี Quantum ที่ได้รับการพิสูจน์ก่อนปี ค.ศ.1900 จัดเป็น classical physics และหลังปี ค.ศ.1900 จัดเป็น classical physics และหลังปี ค.ศ.1900 จัดเป็น modern physics การพบครั้งนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1918 Owen Willans Rechardson นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้พบปรากฏการณ์ที่ว่าโลหะที่ได้รับความร้อนจะให้ electron ออกมาด้วยความเร็วพร้อมกระแสไฟฟ้า การพบครั้งนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1928 Hugo Marie De Vries นักพฤกษศาสตร์ชาวดัทช์ ได้พบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของต้นพริมโรสที่ไม่เคยมีในรุ่นก่อน ๆ จึงเรียกการพบนี้ว่า mutation (ภาษาลาติน หมายถึง การเปลี่ยนแปลง) Karl Landsteiner แทพย์ชาวออสเตรียม ได้ค้นพบชนิดของกลุ่มเลือด (blood type) ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ O, A, B และ AB จากการตกตะกอนของเลือด การให้เลือดจะปลอดภัยถ้าผู้ให้และผู้รับเลือดในกลุ่มเดียวกัน ในกรณีฉุกเฉินเลือด A จะให้ได้เฉพาะ A และ AB, B ให้ B และ AB , AB ให้ AB เท่านั้น ส่วน O สามารถให้ได้ทุกกลุ่ม จึงเป็นผู้ที่ทำให้การให้เลือดมีความปลอดภัยมากขึ้น การพบครั้งนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยาในปี ค.ศ.1930
Guglielmo Marconi วิศวกรไฟฟ้าชาวอิตาลี ได้ทำการส่งคลื่นวิทยุจากทางใต้ของประเทศอังกฤษ โดยใช้ลูกบอลลูนยกเสาอากาศให้สูงที่สุดที่จะทำได้ พบว่าสัญญาณได้รับที่ Newfoundland เขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์วิทยุ
Robert Richet นักสรีรวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้ค้นพบปรากฏการณ์ที่เรียกว่า anaphylaxis (ภาษากรีก หมายถึง ป้องกันมากเกินไป) จากการที่นำแอนติเจน (โปรตีนแปลกปลอมที่สามารถกระตุ้นภูมิต้านทาน) ฉีดให้สัตว์และสัตว์ตาย จากนั้นมาแพทย์ได้ถูกเตือนในการรักษาด้วยวิธี serum therapy ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ การพบครั้งนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์และสรีรวิทยาในปี ค.ศ.1913 Richard Adolf Zsigmondy นักเคมีชาวเยอรมันซึ่งเกิดที่ออสเตรีย ได้ค้นพบกล้อง Ultramicroscope จากการส่งลำแสงผ่านสารละลาย colloid และดูการกระจายของแสงในมุมขวาที่ลำแสงผ่านกล้อง ด้วยวิธีนี้สามารถเห็นอนุภาคของสาร colloid ในขณะที่กล้องธรรมดาไม่เห็น จึงให้ชื่อกล้องนี้ว่า Ultramicroscope การพบครั้งนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 1925
|
ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ดร. ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล ฟิสิกส์ราชมงคลขอบคุณครับ
ครั้งที่
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์