400 ปีกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ |
||
ปีที่
|
Hans Lippershey (ca.1570-1619) นักตัดแว่นชาวดัชซ์ได้ค้นพบกล้องโทรทัศน์ ซึ่งภาษากรีกหมายถึง เห็นแต่ไกล โดยบังเอิญจากการนำเลนส์ 2 ชิ้น วางห่างจากกัน จากนั้นมองผ่านทั้งสองเลนส์ ทำให้มองเห็นยอดหลังคาโบสถ์ใกล้มากขึ้นแต่ยอดหลังคาคว่ำลง เขาจึงนำเลนส์ทั้งสองชิ้นมาว่างห่างกันในท่อด้วยระยะที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นการค้นพบกล้องโทรทัศน์ขึ้นเป็นครั้งแรก
Galileo Galilei นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีได้ยืนยันการพบของ Democritus ว่าทางช้างเผือกประกอบด้วยดวงดาวจำนวนนับไม่ถ้วน ขณะเดียวกันเขายังพบว่าบนดวงจันทร์ประกอบด้วยหลุม ภูเขา และบริเวณมืด ๆ ที่คาดว่าเป็นทะเล
Galileo Galilei ได้พบว่ามีดวงจันทร์ 4 ดวงหมุนรอบดาวพฤหัส (Jupiter) ซึ่งต่อมาเรียกว่า satellite (ภาษาลาติน หมายถึง ดาวบริวาร) นอกจากนี้เขายังพบว่าดาวศุกร์ (Venus) จะปรากฏเต็มดวงเช่นดวงจันทร์ตาม heliocentrism พร้อมกับพบจุดบนดวงอาทิตย์ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าจุดดับบนดวงอาทิตย์ (sunspots)
William Oughtred (1574 -1660) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษผู้ค้นพบ slide rule ที่ใช้สำหรับการคำนวณของวิศวกร
Jan Baptista van Helmont (1579 -1677) แพทย์ชาวเยอรมันผู้ใช้คำว่า gas โดยพบจากการเผาไม้และรู้ว่าเป็น คาร์บอนไดออกไซด์
William
Harvey (1578 1657)
แพทย์ชาวอังกฤษ ผู้เขียนตำราเกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือดคนแรก
และต่อมาหนังสือดังกล่าวได้กลายเป็นตัวแทนของการเริ่มต้นระบบ
Evangelista Torricelli นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ผู้สร้างเครื่องบารอมิเตอร์เครื่องแรก
Otto von Guericke นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้ผลิตเครื่องปั๊มอากาศ (air pump) และการวัดความหนาแน่นของอากาศได้คนแรก รวมทั้งเป็นผู้ที่ชี้ให้เห็นว่าเทียนจะไม่ติดไฟ และสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ในสุญญากาศได้
Blaise
Pascal นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ให้น้องเขยนำบารอมิเตอร์
2 อัน ขึ้นไปบนภูเขาและพบว่าบนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล
ความดันอากาศจะลดลง โดยอากาศจะลดความหนาแน่น นอกจากนี้ Pascal
ยังได้พบ Pascals principle ที่เป็นพื้นฐานของแรงดันไฮดรอลิก
Christiaan Huygens นักดาราศาสตร์ชาวดัชท์ ผู้ค้นพบนาฬิกาลูกตุ้ม (pendulim clock) ซึ่งจัดเป็นเครื่องบอกเวลาชิ้นแรกที่สามารถบอกเวลา นาที ได้ดีกว่า และละเอียดเพียงพอในการใช้ประโยชน์ของนักวิทยาศาสตร์
Jan Swammerdam นักธรรมชาติวิทยาชาวดัทช์ ผู้ค้นพบเม็ดเลือดแดงจำนวนล้านๆ เซลล์ ในเลือดซึ่งทำหน้าที่ในการนำพาสารเคมีที่ใช้ดูดซึมออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ปอด ซึ่งหน้าที่นี้ตอนแรกไม่รู้จนกระทั่งมารู้ในภายหลัง
Robert Boyle นักเคมีฟิสิกส์ชาวไอริช ได้พบว่าปริมาณของก๊าซจะแปรผันกลับกับแรงดันและตั้งเป็นกฎเรียกว่า Boyle's law
Robert Hooke นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้พบสิ่งสำคัญจากชิ้นส่วนบางๆ ของไม้คอร์กภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่ประกอบด้วยช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าบางๆ เรียงต่อกันเรียกช่องเหล่านี้ว่า เซลล์ (cells) (ซึ่งภาษาลาติน หมายถึง ห้องเล็กๆ ) แต่เนื่องจากสิ่งที่ดูเป็นเนื้อเยื่อที่ตายแล้วเขาจึงพบว่าแต่ห้องเซลล์เปล่าๆ Francesco Maria Grimaldi นักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียน ได้สังเกตและพบว่าหากปล่อยลำแสงให้ผ่านช่องเลนส์แคบๆ 2 อัน โดยปล่อยให้ลำแสงตกบนที่ว่างเปล่าแถบลำแสงที่ออกมาจะกว้างกว่าช่องเลนส์ที่ผ่านเล็กน้อย เขาเชื่อว่า ลำแสงมีการโค้งตัวเองที่ขอบช่องเลนส์ก่อนออกจึงเรียกว่า Diffraction ซึ่งเป็นที่มาของคลื่นแสง
Isaac Newton นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ปล่อยให้ลำแสงผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม (prism) และให้ลำแสงตกลงบนกระดาษขาว พบว่ามีแถบแสงที่เรียกว่า สเปกตรัม เรียงกันจาก แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม และม่วง หากนำแก้วสามเหลี่ยมอันที่ 2 มาวางไว้ทิศตรงข้าม จะได้ลำแสงสีขาวเหมือนเดิม ทำให้เข้าใจว่าแสงสีขาวที่เห็นเป็นการรวมของหลายๆสีที่แตกต่างกัน
John Wallis นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ตั้งกฎ conservation of momentum กล่าวไว้ว่า แรงขับเคลื่อนทั้งหมดเป็นระบบปิดไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยไม่มีแรงขับเคลื่อนจากภายนอกเข้าสู่มวลและไม่มีแรงขับเคลื่อนภายในมวลออกสู่ภายนอก Isaac Newton ได้ประดิษฐ์ กล้องสะท้อนแสง (Reflecting telescopes) ด้วยการใช้กระจกโค้งแทนเลนส์โค้ง โฟกัสแสงโดยการสะท้อน ทำให้ภาพขยายและชัดเจนขึ้น |
ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ดร. ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล ฟิสิกส์ราชมงคลขอบคุณครับ
ครั้งที่
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์