ฟ้าผ่าเกิดจากการถ่ายเทของประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ เมื่อมีลมพัดผ่านผิวพื้นดิน หรืออาคาร จะทำให้ลมซึ่งประกอบด้วโมเลกุลของแก๊สชนิดต่าง ๆ ได้รับอิเลคตรอนจากการขัดสี และพาอิเลคตรอนไปยังก้อนเมฆในอากาศ ทำให้บริเวณพื้นดินมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกขณะเดียวกันบริเวณด้านล่างของก้อนเมฆจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ แต่เนื่องจากก้อนเมฆซึ่งประกอบด้วยโมเกลุลของไอน้ำจึงเป็นตัวนำ ไฟฟ้าได้ดีกว่าอากาศ จึงทำให้อิเลคตรอนที่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆจะเหนี่ยวนำให้เกิดประจุไฟฟ้าบวกขึ้นที่ด้านบนของก้อนเมฆ จนในที่สุด ทำให้บริเวณด้านบนของก้อนเมฆมีประจุไฟฟ้าบวกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และบริเวณด้านล่างของก้อนเมฆจะมีอิเลคตรอนเคลื่อนที่ไปรวมกันอยู่มากเมื่อนานขึ้นประจุลบจะเกิดมากขึ้น ประกอบกับที่ผิวโลกก็จะเกิดประจุไฟฟ้าบวกขึ้นทั้งนี้เพราะสูญเสียอิเลคตรอนไป จึงทำให้เกิดแรงดูดระหว่างประจุบวกที่ผิวโลกกับอิเลคตรอนที่ด้านล่างของก้อนเมฆ จึงทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จากด้านล่างของก้อนเมฆลงสู่พื้น และในการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนลงสู่พื้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจึงเกิดแรงผลักอากาศให้แยกออกจากกันอย่างรวดเร็วและเมื่อออากาศเคลื่อนที่มากระทบกันจะเกิดเสียงดังขึ้น และมีประกายไฟเกิดขึ้นด้วย
|
ลมซึ่งประดอบด้วยโมเลกุลของแก๊สชนิดต่าง ๆ เมื่อพัดด้วยความเร็วสูงจะททำให้เกิดการขัดสีกับผิวพื้นโลกและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงทำให้โมเลกุลของลมได้รับอิเลคตรอน และไปถ่ายเทให้กับด้านล่างของก้อนเมฆ |
|
ถ้าบนพื้นโลกซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกและมีต้นไม้สูงอย
จะทำให้สนามไฟฟ้าระหว่างอากาศข้างบนและยอดไม้มีค่ามากกว่าบริเวณอื่น
ๆ (เพราะระยะทางใกล้) เส้นแรงไฟฟ้าจะอยู่กันอย่างหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น
ๆ จึงทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่ลงสู่พื้นโลกบริเวณนั้น
ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาให้ความสนใจในวิชาฟิสิกส์ ด้วยความปราถนาดี จากประจียด ปฐมภาค