การแบ่งประเภทของเลเซอร์ นอกจากธาตุบริสุทธิ์แล้ว เราสามารถสร้างเลเซอร์ได้จากการผสมธาตุหรือสารประกอบของธาตุเหล่านี้ได้อีกมาก แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเลเซอร์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเท่านั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า เราแบ่งประเภทของเลเซอร์ตามชนิดของตัวกลางเลเซอร์ที่ใช้ออกเป็น 4 แบบ ด้วยกันคือ
เลเซอร์แก๊ส ที่รู้จักกันดี เช่น ฮีเลียม - นีออนเลเซอร์ , คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์, ไนโตรเจนเลเซอร์ และซีนอนเลเซอร์ เลเซอร์แก๊สจะใช้วิธีกระตุ้นทางไฟฟ้า เลเซอร์แบบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2
laser)
เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้รับพลังงานจากภายนอก
เช่น โดยพลังงานไฟฟ้าหรือแสง
หรือพลังงานจลน์ของอนุภาคอิเล็กตรอนกำลังสูง (electron beam)
โมเลกุลของก๊าซจะมีระดับชั้นพลังงานของการสั่นที่สูงขึ้น ( ระดับ
E4 ) เมื่อมีการลดระดับพลังงานลงโดยการกระตุ้น
จะทำให้เกิดแสงเลเซอร์ที่มีช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรด คือ 10.6
ในเลเซอร์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีก๊าซไนโตรเจนกับก๊าซฮีเลียมผสมอยู่ด้วย
โดยไนโตรเจนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกระตุ้นพลังงานให้มีระดับชั้นพลังงานของการสั่นสูงขึ้น
ส่วนก๊าซฮีเลียมช่วยในการระบายความร้อน เลเซอร์แข็ง ใช้แท่งวัตถุ เช่น ผลึกทับทิม (ruby) แท่งแก้วนีโอดีเมียม (neodymium - glass) และนีโอดีเมียม - แย๊ก (neodymium - YAG) เลเซอร์แบบนี้จะใช้วิธีกระตุ้นโดยใช้แสงจากหลอดอาร์กอนหรือหลอดซีนอน ซึ่งมีความยาวคลื่นที่เปลี่ยนแปลงได้ในช่วงอัลตราไวโอเลตถึงช่วงที่ตามองเห็น เช่น..... เลเซอร์แบบผลึกทับทิม (Ruby laser) เมื่อปล่อยพลังงานไฟฟ้าผ่านหลอดไฟแฟลชภายในเวลาอันสั้น จะเกิดดิสชาร์จไฟฟ้าทำให้หลอดแฟลชปล่อยแสงแวบสีขาว (white light) กระตุ้นผลึกทับทิมให้มีพลังงานสูงขึ้นที่แถบชั้นพลังงาน E2 , E3 แล้วเกิดการลดระดับพลังงานลงมามาอยู่ที่ E2 เมื่ออะตอมได้รับพลังงานกระตุ้นอีก การเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานจาก E2 → E1 จะได้แสงเลเซอร์ความยาวคลื่น 6943 ํ A เพื่อให้โฟตอนที่ได้ออกมาอยู่ในทิศทางเดียวกัน จะใช้กระจกคู่วางอยู่คนละด้านของผลึกทับทิมให้ขนานกัน กระจกหลังฉาบด้วยเงินจะสะท้อนแสงกลับหมด ส่วนกระจกหน้าจะฉาบเงินบางๆ เพื่อให้แสงผ่านได้บางส่วน เลเซอร์จะเกิดขึ้นเมื่อโฟตอนตัวแรกที่เกิดจากการเปลี่ยนพลังงาน E2 → E1 จะถูกสะท้อนกลับโดยกระจกผ่านเข้าไปในผลึกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดโฟตอนตัวต่อไป และตัวต่อไปก็จะเกิดการกระตุ้นต่อเนื่องอย่างเป็นระเบียบ ทำให้ได้แสงเลเซอร์มีความเข้มสูงผ่านออกมาทางกระจกหน้า เลเซอร์แบบผลึกทับทิมจะให้แสงเป็นพัลส์ที่มีช่วงเวลาสั้นมาก
(< เลเซอร์ของเหลว เช่น ดายเลเซอร์ (dye laser) ใช้สารละลายอินทรีย์ เช่น rhodamine 6 G , chelate , oxazine และ ranthene เป็นต้น เลเซอร์สารกึ่งตัวนำ ก็คือไดโอดซึ่งทำด้วยรอยต่อ พี-เอ็น ที่มีขนาดเล็กมาก เลเซอร์แบบนี้จะให้รังสีในช่วงความยาวคลื่นใกล้อินฟราเรค คือ ประมาณ 800 - 900 nm ตัวอย่างของเลเซอร์แบบนี้ ได้แก่ แกลเลียมอาร์เซไนด์ นอกจากเลเซอร์ 4 แบบ ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีเลเซอร์อีกหลายชนิดที่ได้รับการพัฒนาและค้นพบในภายหลัง เช่น เอกไซเมอร์เลเซอร์ (excimer laser) ซึ่งตัวกลางเลเซอร์ประกอบด้วยอะตอมของแก๊สหายาก (rare gas) เช่น Xe, Ar , Kr และอะตอมของ halogen หรือ halide เช่น Cl, F, Br ตัวอย่างของเลเซอร์แบบนี้ ได้แก่ XeF, XeCl, ArF, KrF ซึ่งให้แสงในช่วงอัลตราไวโอเลต เนื่องจากว่าตัวกลางเลเซอร์อยู่ในสภาวะของแก๊สหรือไอ ดังนั้นจึงอาจจะจัดอยู่ในประเภทเลเซอร์แก๊สได้ นอกจากนั้นยังมีเลเซอร์อื่น ๆ อีกที่ไม่สามารถจัดอยู่ในแบบใดแบบหนึ่งดังกล่าวได้ เช่น เลเซอร์รังสีเอกซ์ และเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระ เป็นต้น สำหรับเลเซอร์ที่ใช้ใในเชิงพาณิชย์และงานประยุกต์ได้แสดงในตารางข้างล่าง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||