การทำงานของเลเซอร์

|

ระดับพลังงานของอะตอมแบบ
2 ระดับ
|
การทำงานของเลเซอร์พิจารณาระดับพลังงาน (energy level) ของอะตอม (หรือโมเลกุล)
2 ระดับ คือ อิเล็กตรอนในอะตอมนั้นมีพลังงาน E1 และ
E2 โดยที่ E1< E2 ดังแสดงในรูป
ถ้าอิเล็กตรอนในอะตอมอยู่ที่ระดับพลังงานที่ต่ำกว่าคือ E1 เมื่อมีโฟตอนที่มีพลังงาน
hf
= E2 - E1 มาตกกระทบอะตอม
โฟตอนจะถูกดูดกลืน แล้วอิเล็กตรอนในอะตอมจะถูกกระตุ้น
(excite) จากระดับพลังงาน
E1 ให้ไปอยู่ที่ระดับพลังงานที่สูงกว่าคือ E2
ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การดูดกลืนพลังงาน (absorption)
ดังแสดงในรูปข้างล่าง
|

การดูดกลืนพลังงาน การปล่อยโฟตอนโดยธรรมชาติ
|
|
|
|
อิเลคตรอนในอะตอมจะอยู่ที่ระดับพลังงาน E2 ชั่วขณะหนึ่ง แล้วสลายกลับมาอยู่ที่ระดับพลังงาน
E1 ตามเดิม โดยการปล่อยโฟตอนออกมา
ในทางกลับกัน ถ้าอิเล็กตรอนในอะตอมอยู่ที่ระดับพลังงาน E2
มันจะหวนกลับมาสู่ระดับพลังงานที่ต่ำกว่า E1 และปล่อยโฟตอนหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา
การปล่อยโฟตอนโดยวิธีนี้เป็น การปลดปล่อยโฟตอนแบบธรรมชาติ โฟตอนที่ปล่อยออกมาจะมีทิศทางไม่แน่นอน
ดังรูป

การปล่อยโฟตอนแบบธรรมชาติ
(spontaneous emission)
อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1917 ไอน์สไตน์
ได้พบว่าการปล่อยโฟตอนมีได้ 2
แบบ คือ นอกจากแบบธรรมชาติที่เรารู้จักกันดีแล้ว
ยังมีอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่าการปลดปล่อยโฟตอนแบบกระตุ้น โฟตอนที่ปล่อยออกมาจะมีทิศทางแน่นอน
และมีความเข้มสูง เพราะจำนวนโฟตอนที่ปล่อยออกมาจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

การปล่อยโฟตอนแบบกระตุ้น
(stimulated emission)
ถ้าอะตอมเมื่อตอนเริ่มต้น (intial state) อยู่ที่ระดับพลังงาน E2
และมีโฟตอนจากภายนอกที่มีความถี่ มากระตุ้นอะตอม ในที่สุดอะตอมจะกลับสู่ระดับพลังงาน E1 และขณะเดียวกันจะปล่อยโฟตอนออกมา
1 ตัว ซึ่งรวมกับตัวเดิม 1 ตัว กลายเป็นมีโฟตอน 2 ตัว ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการปล่อยโฟตอนแบบกระตุ้น
หลักสำคัญในการปล่อยโฟตอนแบบกระตุ้น มี 2 ประการ คือ
ประการแรก
พลังงานของโฟตอนตัวที่
2 ที่เกิดจากการกระตุ้นจะมีพลังงานเท่ากับโฟตอนตัวแรกที่มากระตุ้น (stimulating
photon) ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยโฟตอน นั่นคือ ความถี่ (หรือความยาวคลื่น)
ของโฟตอนทั้งสองเท่ากัน และใน.... ประการที่
2 โฟตอนทั้งสองจะมีเฟสเดียวกัน
คือ อาพันธ์
(coherent) กัน

<<ย้อนกลับ ถัดไป>>
|