magnitude (แมค-นิ-จูด)
คือความสว่างของวัตถุท้องฟ้า ที่กำหนดเป็นค่าของตัวเลข กำหนดใช้ครั้งแรกเมื่อ
สองศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยนักดาราศาสตร์ชาวกรีก ชื่อ ฮิปปราคัส (Hipparchus)
โดยกำหนดไว้ 6 ค่า คือ 1 มีความสว่างที่สุด และ 6 มีความสว่างน้อยที่สุดที่ตามองเห็น
ปัจจุบันทราบว่า
ความสว่าง (magnitude) 1 สว่างมากกว่า 6 ถึง 100 เท่า ดังนั้นแต่ละช่วงของ
ความสว่างห่างกันเท่ากับ รากที่ 5 ของ 100 หรือเท่ากับ 2.512 หมายความว่า
1 สว่างมากกว่า 2 อยู่ 2.51 เท่า และ 1 สว่างมากกว่า 3 อยู่ 5 เท่า
เราสามารถคำนวนความแตกต่าง ของความสว่าง ได้จากสูตร
2.512 ยกกำลัง magnitude
เช่น
ดาวฤกษ์ A ความสว่าง 2.5 และดาวฤกษ์ B ความสว่าง 7.5 ดังนั้น A จะสว่างกว่า
B เท่ากับ
2.512 ^( 7.5-2.5) = 100 เท่า
สำหรับวัตถุที่มีความสว่างมากกว่า
1 จะมีค่าเป็น ศูนย์ และ ติดลบ ยิ่งติดลบมาก ความสว่างก็ยิ่งมาก เช่นดวงอาทิตย์
เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุด มีค่าเท่ากับ 27 ส่วนวัตถุท้องฟ้าที่สว่างน้อยที่สุดเท่าที่บนโลกสังเกตเห็นมีค่าเท่ากับ
+30 ดูเรื่อง absolute magnitude
|