![]() |
ภาพที่1 ดวงอาทิตย์
ไม่แปลกใจเลยที่อารยะธรรมเก่าแก่หลายๆอารยะธรรมให้ความสำคัญกับดวงอาทิตย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติไทย ชาวอินคา และชาวอียิบต์ คงเป็นเพราะดวงอาทิตย์นั้นมีผลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจหลายๆอย่าง ท่านทราบหรือไม่ว่าดวงอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกเรามากที่สุดนี้เกิดขึ้นมาอย่างไร และปัจจุบันนี้เกิดอะไรบ้างขึ้นกับดวงอาทิตย์ แล้วอนาคตข้างหน้าดวงอาทิตย์ยังจะเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ให้ความอบอุ่นแก่มวลมนุษยชาติเหมือนปัจจุบันหรือเปล่า หรือดวงอาทิตย์กำลังจะเป็นระเบิดขนาดยักษ์ที่พร้อมจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในระบบสุริยะจักรวาลนี้ให้สิ้นซาก??? กำเนิดดวงอาทิตย์ บางท่านเมื่ออ่านมาจนถึงตอนนี้คงจะมีข้อสงสัยว่าเราทราบได้อย่างไรว่าดวงอาทิตย์เกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อดวงอาทิตย์เกิดมาแล้วหลายพันล้านปี ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่มีแม้แต่มนุษย์คนแรกอยู่บนโลกเลย??? กระผมต้องขออนุญาต กล่าวนำก่อนว่าดวงอาทิตย์ของเราถือว่าเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์จำนวนแสนล้านดวงในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก และในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเรานี้เองที่ยังมีดาวฤกษ์ที่อายุยังน้อย บางดวงเพิ่งเกิดใหม่ บางดวงอยู่ในวัยกลางของชีวิต บางดวงกำลังจะตาย และบางดวงได้ตายลงไป ดังนั้นถ้าเราพยายามมองดาวฤกษ์หลายๆดวงแล้วนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาเราจะเข้าใจถึงดวงอาทิตย์ของเราที่เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก โดยปกติแล้วดาวฤกษ์เกือบทุกดวงจะมีการเกิดที่คล้ายๆกันคือเกิดจากฝุ่นแก๊สในอวกาศ กลุ่มฝุ่นและแก๊สในอวกาศจะหดตัวเข้ารวมกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างมวล ในระยะเวลาประมาณ 1,000 ปีนับตั้งแต่เริ่มการหดตัวใจกลางของกลุ่มฝุ่นและแก๊สจะมีความหนาแน่นสูงมากจนเข้าใกล้กับความหนาแน่นของดาวฤกษ์ เราเรียกดาวในช่วงนี้ว่า "ดาวในครรภ์ (Protostar)" และขณะที่กลุ่มฝุ่นและแก็สหดตัวลงนี้อุณหภูมิจะสูงขึ้นจนในที่สุด และเมื่อถึงจุดหนึ่งอุณหภูมิที่สูงมากๆนี้เองจะทำให้แก๊สไฮโดรเจนติดไฟแล้วเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ขึ้นตรงจุดนี้นี่เองที่เราถือว่าดาวได้เกิดเป็นดาวฤกษ์อย่างสมบูรณ์ และดวงอาทิตย์ของเราก็มีจุดกำเนิดแบบนี้เหมือนกัน
ภาพที่ 2 กลุ่มฝุ่นและแก๊สในอวกาศที่จะพัฒนากลายไปเป็นดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน ดวงอาทิตย์ของเราถือว่าอยู่ในช่วงกลางของชีวิตครับ อาจจะเกิดคำถามว่าทราบได้อย่างไร คำตอบง่ายคือดูที่สีครับ ดาวที่เกิดขึ้นใหม่นั้นมักจะเป็นดาวที่มีอุณหภูมิสูงทำให้มีสีค่อนไปทางขาวหรือขาวน้ำเงินส่วนดาวที่มีอายุมากๆจะมีสีค่อนไปทางสีแดงเราเรียกดาวพวกนี้ว่า "ดาวยักษ์แดง (Red Giant)" ดาวยักษ์แดงนี้ถือว่าอยู่ในช่วงปลายทางของชีวิตแล้วครับ
ตารางที่ 1 แสดงสีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์
เรามาพิจารณาดวงอาทิตย์ของเราอย่างละเอียดเลยก็แล้วกันนะครับ 1. ลักษณะโดยทั่วไปของดวงอาทิตย์
2. ส่วนประกอบของดวงอาทิตย์
ภาพที่ 3 ส่วนประกอบของดวงอาทิตย์
ภาพที่ 4 แสดงจุดดับบนดวงอาทิตย์
ภาพที่ 6 แสดงชั้นผิวโคโรนาของดวงอาทิตย์ซึ่งจะเห็นเมื่อเกิดสุริยุปราคาเท่านั้น ดวงอาทิตย์ในอนาคต ในอนาคตดวงอาทิตย์จะเผาตัวเองโดยปฏิกิริยาการเปลี่ยนไฮโดรเจน (H) ให้เป็นฮีเลียม (He) โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 70 ล้านปี ไฮโดรเจนบริเวณใจกลางจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมแต่ยังมีไฮโดรเจนเผาใหม่อยู่บริเวณรอบๆใจกลางของดวงอาทิตย์ จากนั้นบริเวณใจกลางของดวงอาทิตย์จะหดตัวอย่างรวดเร็วและจะดึงเอาไฮโดรเจนที่เหลืออยู่บริเวณพื้นผิวเข้ามาแล้วแล้วเผาใหม้ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จนในที่สุดบริเวณใจกลางจะหดตัวอย่างรวดเร็วแต่บริเวณเปลือกนอกจะขยายตัวออกในขณะนี้เองดวงอาทิตย์ของเราจะกลายเป็นดาวยักษ์แดงที่มีขนาดรัศมีโตพอที่จะกลืนกินโลกของเราเข้าไป
ภาพที่ 7 ภาพจินตนาการแสดงถึงตอนที่ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวยักษ์แดงและขยายตัวออกจนเข้าใกล้โลกทำให้น้ำที่มีอยู่ในโลกละเหยกลายเป็นไอ แม้แต่พื้นดินยังหลอมละลายกลายเป็นหินเหลว และช่วงนี้บริเวณใจกลางของดวงอาทิตย์จะร้อนมากๆทำให้เกิดปฏิกิริยาทำให้ฮีเลียม (He) กลายเป็นธาตุที่หนักขึ้นเช่นคาร์บอน (C) ในขณะนี้บริเวณใจกลางจะร้อนมากๆแต่ผิวรอบนอกดวงอาทิตย์จะค่อยๆเย็นลงและด้วยความสมดุลนี้จะทำให้ผิวนอกของดวงอาทิตย์เกิดการระเบิดออกกลายเป็น "เนบิวลา ดาวเคราะห์ (Planetary Nebula)" ส่วนใจกลางจะร้อนและมีความหนาแน่นมากๆ ซึ่งก็จะกลายเป็น "ดาวแคระขาว (White dwarf)" ซึ่งก็ถือว่าเป็นจุดจบของดวงอาทิตย์และระบบสุริยะจักรวาล
|