5.2 ทฤษฎีโครงสร้างอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด | |||
รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ได้ทำการทดลองยิงอนุภาคอัลฟาเข้าไปในแผ่นทองคำเปลวบาง ๆ ซึ่งอนุภาคอัลฟาเป็นอนุภาคที่มีมวลเป็น 4 เท่าของมวลไฮโดรเจนและมีประจุเป็น 2 เท่าของโปรตอน ดังรูป | |||
|
|||
จากผลการทดลองจะพบว่าเมื่ออนุภาคแอลฟาวิ่งผ่านแผ่นทองคำเปลว ส่วนใหญ่จะทะลุไปตรง ๆ หรือหักเหน้อยมาก แต่จะมีบางส่วนที่หักเหจากแนวเดิมเป็นมุมใหญ่ ๆ หรือสะท้อนกลับทางเดิม | |||
ผลการคำนวณจำนวนอนุภาคแอลฟาที่เบนไปเป็นมุมต่าง ๆ เขาจึงสรุปว่าอนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่เบนไปจากแนวเดิมน้อย แสดงว่าอนุภาคแอลฟาวิ่งไปในที่ว่าง และมีอนุภาคแอลฟาบางตัวที่เบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมโต ๆ แสดงว่าขณะที่อนุภาคแอลฟาเคลื่อนที่เข้าไปในอะตอมนั้นได้วิ่งเข้าไปในสนามไฟฟ้าของประจุบวกที่มีมวลมาก อนุภาคแอลฟาจึงถูกผลักทำให้การเคลื่อนที่เบนไปจากแนวเดิม ส่วนตัวที่สะท้อนกลับออกมาแสดงว่าอนุภาคแอลฟาได้เคลื่อนที่เข้าไปหานิวเคลียสของทองคำเปลวโดยตรง การที่อนุภาคแอลฟาเคลื่อนที่ผ่านแผ่นทองคำเปลวนี้นอกจากจะเกิดแรงผลักในประจุไฟฟ้าบวกในนิวเคลียสแล้ว ยังมีแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคแอลฟากับอิเล็กตรอนเกิดขึ้นด้วย แต่เนื่องจากอนุภาคแอลฟามีมวลมากกว่ามวลของอิเล็กตรอนมาก จึงมีสมบัติการต้านการเคลื่อนที่ได้มาก แรงดึงดูดนี้จึงไม่มีผลต่อการเบี่ยงเบนของอนุภาคแอลฟา | |||
ดังนั้นเขาจึงได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นใหม่ว่า อะตอมมีประจุไฟฟ้าบวกเป็นนิวเคลียสรวมกันอยู่หนาแน่นที่จุดศูนย์กลางของอะตอม รัศมีของนิวเคลียสมีระดับขนาด 10-14 เมตร และรัศมีของอะตอมมีระดับขนาด 10-10 เมตร หรือ 104 เท่าของรัศมีของนิวเคลียส และจะมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ นิวเคลียสด้วยระยะห่างจากนิวเคลียสมาก เมื่อเทียบกับขนาดของนิวเคลียส และระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนจะเป็นที่ว่าง ต่อมาได้มีการค้นพบว่าภายในนิวเคลียสของอะตอม นอกจากจะมีประจุบวกหรือโปรตอนแล้วยังมีนิวตรอนซึ่งเป็นอนุภาคที่มีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้ารวมอยู่ด้วย ดังรูป | |||
โดย ผศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ |
|||
อ้างอิง : http://sol.sci.uop.edu/~jfalward/particlesandwaves/particlesandwaves.html
|
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต | 2. สนามไฟฟ้า |
3. ความกว้างของสายฟ้า | 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน |
5. ศักย์ไฟฟ้า | 6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก | 8.การเหนี่ยวนำ |
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ | 10. ทรานซิสเตอร์ |
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ |
12. แสงและการมองเห็น |
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | 14. กลศาสตร์ควอนตัม |
15. โครงสร้างของอะตอม | 16. นิวเคลียร์ |
ครั้งที่
การเรียนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต