|
หนังวิทยาศาสตร์หลายๆเรื่อง ท่านจะได้เห็น พระเอกถืออาวุธเหมือนไฟฉาย สามารถยิงไฟฟ้าออกไปที่ผู้ร้าย ทำให้ผู้ร้าย ชะงักหรือ ชักดินชักงอไป
เครื่องช๊อตไฟฟ้า ให้แรงดันไฟฟ้าสูง แต่กระแสไฟฟ้าที่ได้ต่ำ คนที่ดูหนังและเป็นผู้ใหญ่หน่อย คงคิดว่า ไม่มีหรอกอาวุธชนิดนี้ มีแต่จินตนาการในหนังเท่านั้นแหละ ส่วนเด็กๆ ก็คงคิดฝันไปว่า มีอาวุธชนิดนี้กันแล้ว ซึ่งก็เป็นความจริง ปัจจุบัน ตำรวจ และคนเดินถนนทั่วไป สามารถพกพาเครื่องช๊อตไฟฟ้าได้เหมือนกับ พกไฟฉาย ซึ่งไม่มีใครทราบเลย ติดตัวไปไหนต่อไหนได้ เมื่อมีผู้ไม่หวังดี บุกรุกเข้ามาใกล้ ท่านเพียงยกอุปกรณ์นี้ จี้หรือยิงไปที่เขา เขาจะหยุดชะงัก และหยุดในทันที ฟิสิกส์ราชมงคลจะเปิดเผยเครื่องช๊อตไฟฟ้า ซึ่งมีหลายแบบและหลายรุ่น ในหน้าถัดไป คลิกค่ะ |
|||
|
ศักย์ไฟฟ้า ผมชี้ตั้ง
เหตุการณ์มหัศจรรย์กลางสวนสาธารณะ Sequoia ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นเมื่อหญิงสาวคนหนึ่ง
ถูกบันทึกด้วยภาพถ่าย
ในลักษณะผมฟูเยียดตรงขึ้นแทบทุกเส้นบนศีรษะ
หลังจากที่เจ้าหล่อนและน้องชาย ศักย์ไฟฟ้า |
|||
ในโครงผลึกของสสาร นิวเคลียสที่มีประจุเป็นบวกเรียงตัวอยู่ชิดกันมาก ศักย์ไฟฟ้าที่เกิดจากนิวเคลียสแต่ละตัวจะรวมกันโดยใช้หลักการรวมกันของคลื่น (Superposition principle) เมื่ออิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในโครงผลึก มันจะถูกกักไว้ภายใน เปรียบเทียบได้กับลูกปิงปองที่ถูกเหวี่ยงเข้าไปไว้ในกล่อง คลิกครับอ่านต่อ | ||||
|
||||
|
จากรูป จุดประจุ q
มีค่า 1x10-6 คูลอมบ์
ถามว่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด A และ B
ในรูป (ก)
และ (ข)
มีค่าต่างกันอยู่เท่าใด |
สนามไฟฟ้าเป็นแนวคิดในเชิงนามธรรม (มองไม่เห็น ได้แต่คิด) เราสร้างห้องทดลองนี้ขึ้นมา เพื่อให้คุณได้สัมผัสกับสนามไฟฟ้า และศักย์ไฟฟ้า ของจุดประจุ หลายๆขนาด วิธีการทดลองเพิ่มประจุ : กดปุ่ม Add a charge และเลื่อนเมาส์ไปบนส่วนสีขาว กดเพื่อวางตำแหน่งของประจุ กล่องข้อมูลจะปรากฎขึ้นมุมบนซ้าย ให้คุณกำหนดจุด x และ y พร้อมกับ ขนาด และชนิดของประจุว่าจะเป็นบวกหรือลบ กด Okay จุดล่างซ้ายเป็นตำแหน่ง [0,0] และจุดบนขวา [10,10] คุณสามารถวางประจุที่ใดก็ได้บนพื้นสีขาว หน่วยของประจุมี 2 แบบคือ หน่วยพื้นฐาน (elementary charge) กับ หน่วย คูลอมบ์ (Colomb) หน่วยพื้นฐานคือจำนวนอิเล็กตรอน ( อิเล็กตรอน 1 ตัว มีประจุ 1.66 x 10-19 คูลอมบ์ ) เช่น 1 หมายถึงอิเล็กตรอนจำนวน 1 ตัว และ 2 หมายถึง 2 ตัวเป็นต้น ประจุหน่วยคูลอมบ์เป็นปริมาณที่ใหญ่กว่าหน่วยพื้นฐานมาก ดังนั้นถ้าคุณใส่ประจุมี 2 หน่วยนี้อยู่ในบริเวณเดียวกัน ประจุในหน่วยคูลอมบ์จะมีผลกับสนามไฟฟ้า และศักย์ไฟฟ้า โดยหน่วยพื้นฐานไม่มีผลอะไร ถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดของประจุ เช่น ประจุลบให้ใส่สัญญลักษณะ - หน้าประจุ ประจุบวกเป็นสีแดง ประจุลบเป็นสีน้ำเงิน คลิกเข้าสู่การทดลอง ศักย์ไฟฟ้า
ศักย์ไฟฟ้า
ถ้าไม่สามารถทดลองได้ ให้
Download
ศักย์ไฟฟ้ากับร่างกายของมนุษย์
ร่างกายของคนเราเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี แต่ไม่ใช่ตัวนำไฟฟ้าที่สมบูรณ์ ผิวหนังของร่างกายทั้งหมดเทียบได้กับพื้นผิวสมศักย์ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของผิวหนัง เนื่องจากการออกกำลัง หรือ หายใจ ล้วนแต่ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนตำแหน่ง และทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น ในกรณีการเต้นของหัวใจ ขณะที่หัวใจหดและขยายตัว สามารถวัดความต่างศักย์ได้ประมาณ 1 มิลลิโวลต์ แสดงผลโดยใช้เครื่องเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า electrocardiograph ย่อเป็น EKG สัญญาณปรากฎดังรูป
เครื่อง EKG a) วัดการหดและการขยายตัวของหัวใจ b) การวางตำแหน่งของขั้วไฟฟ้า
ภาพการกระเพื่อมของสัญญาณที่ได้จากเครื่อง EKG |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องศักย์ไฟฟ้า ( อ.วัชระ) |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องศักย์ไฟฟ้า (อ. สุรพล รักวิจัย) |
- ศักย์ไฟฟ้าของประจุที่กระจายอย่างต่อเนื่อง - ความสัมพันธ์ระหว่างสนามและศักย์ไฟฟ้า
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง พลังงานศักย์ไฟฟ้า (อ.ปิยพงษ์ สิทธิคง ) Pdf 244k |
เครื่องกำจัดฝุ่น และเถ้าถ่าน ทำงานได้ถึง 99 % โดยใช้แรงดันไฟฟ้ากว่า 30,000 โวลต์ หลักการทำงานของมันเป็นอย่างไร ตัวอย่างของเลือดภายใต้สนามไฟฟ้า ผลึกของเลือดกระจายออกไปในแนวรัศมี ตามทิศทางของสนามไฟฟ้า ใช้สีย้อมแสดงความต่างศักย์ (น้ำเงิน = 150 โวลต์ เขียว = 120 โวลต์ เหลือง 90 โวลต์ และแดง 50 โวลต์ ) จุดศูนย์กลางมีความต่างศักย์เป็นศูนย์ a) เลือดปกติ b) เลือดของผู้ป่วยโรค Osteosarcoma (เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงมีจุดกำเนิดจากเซลล์กระดูก ) c) เลือดของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด พลังงานศักย์ของจุดประจุ กำหนดให้จุดประจุบวกอยู่ที่จุดกำเนิด และประจุอื่นห่างออกไปเป็นระยะ r ถ้าเป็นประจุชนิดเดียวกันจะผลักกัน PE> 0 แต่ถ้าเป็นประจุต่างชนิดกันจะดูดกัน PE < 0 |
![]() |
ศักย์ไฟฟ้า จำนวน
17 แผ่น
ของ ดร. สมพงษ์ เลี่ยงโรคาพาธ
คลิกครับ
![]() |
![]() |
ศักย์ไฟฟ้า จำนวน
23 แผ่น
ของ อ. ดร. สมชาย
เกียรติกมลชัย
คลิกครับ
![]() |
ศักย์ไฟฟ้า
สนามแรงโน้มถ่วงกับความต่างศักย์ไฟฟ้า งานต่อหน่วยประจุ
ความสัมพันธ์ของสนามไฟฟ้าและเกรเดียนต์ของศักย์ เส้นสมศักย์
ศักย์ไฟฟ้าจากจุดประจุ ศักย์ขั้วคู่ไฟฟ้า
ทอร์กของขั้วคู่ไฟฟ้า การหาสนามไฟฟ้าจากศํกย์
ของมหาวิทยาลัยสุรนารี จำนวน 26 แผ่น
คลิกค่ะ
|
|
ศักย์ไฟฟ้า แรงไฟฟ้ากับแรงโน้มถ่วง
พลังงานศักย์ไฟฟ้า วิธีคำนวณศักย์ไฟฟ้าจากสนามไฟฟ้า
ศักย์ไฟฟ้าจากจุดประจุ ประจุบนวงแหวน และจานกลม ของ
อ. นพฤทธิ์ จินันทุยา จำนวน 45
แผ่น คลิกค่ะ
|
(วิธีทำ ให้ ใส่ชื่อ สกุล เลือกวิชาที่สอบ และจำนวนข้อ แต่ต้องไม่เกินจากที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดไว้ 10 ข้อ เวลาเลือกจำนวนข้อ ให้เลือก 5 และ 10 ข้อไม่เกินจากนี้ เป็นต้น เมื่อทำเสร็จสามารถดูคะแนนจากรายละเอียดผู้ทำข้อสอบได้ทันที
1. โจทย์ฝึกประสบการณ์จำนวน 40 ข้อ ของ อาจารย์ ช่วง ทมชิตชงค์ 2. ศักย์ไฟฟ้าจำนวน 20 ข้อ ของ อาจารย์ ช่วง
แบบทดสอบแบบลากและวางจำนวน 12 ข้อ ของ อาจารย์ ช่วง ทมชิตชงค์ |
เรียนฟิสิกส์ออนไลน์ (เสียงภาษาอังกฤษ) มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษทุกตัวอักษร พร้อมทำแบบฝึกหัด
ศักย์ไฟฟ้า (Eletric Potential) |
บทความเพิ่มเติม 1. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน กระแส และความต้านทาน 4. พลังงานศักย์และศักย์ทางไฟฟ้า 6. ปืนไฟฟ้า (ไฟฟ้าแรงสูง) |
![]() |
![]()
|
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 2 | คู่มือการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์ 2 | คู่มือปฏิบัติการ ฟิสิกส์ 2 |
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต | 2. สนามไฟฟ้า |
3. ความกว้างของสายฟ้า | 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน |
5. ศักย์ไฟฟ้า | 6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก | 8.การเหนี่ยวนำ |
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ | 10. ทรานซิสเตอร์ |
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ |
12. แสงและการมองเห็น |
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | 14. กลศาสตร์ควอนตัม |
15. โครงสร้างของอะตอม | 16. นิวเคลียร์ |
ครั้งที่
การเรียนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต