งานคุณภาพกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เอกชัย โปร่งปัญญาสกุล
กองวิศวกรรมนิวเคลียร์ ฝ่ายวิศวกรรมเครื่องกล
ปัจจุบันกิจกรรมคุณภาพถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง
ทั้งในวงการอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการบริการ เพื่อให้ได้ผลผลิต
และบริการตรงตามความต้องการ
ที่ผ่านมาเทคโนโลยีสมัยใหม่ โรงงานขนาดใหญ่ ๆได้กำเนิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานปิโตรเคมี โรงแยกก๊าซธรรมชาติ หรือโครงการบินและอวกาศ
กิจการเหล่านี้ต่างมีส่วนช่วยสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของโลกที่ไร้พรมแดน
ที่น่าแปลกความสำเร็จส่วนใหญ่อาศัยกิจกรรมคุณภาพเป็นเป้าหมายหลัก อย่างไรก็ตามข้อกำหนดต่าง
ๆในเรื่องของคุณภาพกลับดูจะเข้มงวดเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ได้บังคับให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยึดถือข้อปฏิบัติตามด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบในเกณฑ์ที่สูง
เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าไว้ที่ไหนก็ได้
ทั้งไม่สามารถจะทดสอบการเดินเครื่องตามอำเภอใจ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย
ความน่าเชื่อถือของการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ความรับผิดชอบในการดำเนินการทั้งหมดของผู้ถือกรรมสิทธิ์จะสัมฤทธ์ผลนั้นเป็นไปได้ทั้งโดยตรงคือเข้าจัดการเองหรือทางอ้อมโดยผ่านข้อกำหนดของสัญญาผู้ส่งมอบหรือผู้ผลิตที่ถูกมอบให้ทำหน้าที่แทน
แต่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยังคงต้องกำหนดกลุ่ม QA ผู้ประสานงาน และผู้ดูแลหรือ Supervisor เจ้าหน้าที่เหล่านี้มีอำนาจหน้าที่และอิสระในการทำงานและปลอดจากข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายและหมายกำหนดการ
นอกจากนี้ในข้อบังคับปฏิบัติของประเทศใดผู้ถือกรรมสิทธิ์ควรเข้า inspect และ audit เพื่อแน่ใจว่ามีความปลอดภัยนิวเคลียร์จริง
แม้จะพบมีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็ตาม
เพราะนั้นอาจเป็นสาเหตุขัดข้องของการเดินเครื่องหรือทำให้มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นได้
การปฏิบัติการประกันคุณภาพเพื่อความปลอดภัยในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ( IAEA) ได้กำหนดไว้ในประมวลวิธีปฏิบัติ
NUSS 50-C-QA (พ.ศ. 2521) และกฎอื่น
ๆ อีก 10 ข้อใน Safety Guide มีการบัญญัติศัพท์คำว่าการประกันคุณภาพ
(Quality assurance-QA) โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่า
เป็นแผนงานและปฏิบัติการอย่างเป็นระบบเท่าที่จำเป็น
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าทุกอย่างต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดและเป็นที่พึงพอใจ
และการควบคุมคุณภาพ (Quality
control-QC) เป็นการลงมือกระทำในงานประกันคุณภาพให้บังเกิดผล
ด้วยวิธีการควบคุมและตรวจวัดคุณลักษณะของรายการ ขบวนการ หรือ Facility ทั้งหลายให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ตั้งขึ้น รายละเอียดดูได้จาก Safety Guide on QA ดังนี้
Code of Practice
50-C-QA Quality
Assurance for Safety in Nuclear Power Plants (1978)
Safety Guides
50-SG-QA1 Preparation
of the Quality Assurance Programme for Nuclear Power Plants
50-SG-QA2 Quality
Assurance Records System for Nuclear Power Plants (1979)
50-SG-QA3 Quality
Assurance in the Procurement of Items and Services for Nuclear Power Plants
(1979)
50-SG-QA4 Quality
Assurance during Site Construction of Nuclear Power Plants
50-SG-QA5 Quality
Assurance during Operation of Nuclear Power Plants
50-SG-QA6 Quality
Assurance in the Design of Nuclear Power Plants
50-SG-QA7 Quality
Assurance Organization for Nuclear Power Plants
50-SG-QA8 Quality
Assurance in the Manufacture of Items for Nuclear Power Plants (1981)
50-SG-QA10 Quality
Assurance Auditing for Nuclear Power Plants (1980)
50-SG-Qa11 Quality
Assurance in Procurement, Design and Manufacture of Nuclear Fuel Assemblies
หมายเหตุ Safety
Guide on QA เป็นหนึ่งในห้าของประมวลวิธีปฏิบัติความปลอดภัยนิวเคลียร์
ที่ประกอบด้วย การจัดองค์กรของรัฐ การเลือกสถานที่ตั้ง การออกแบบ การเดินเครื่อง
และการประกันคุณภาพ อนึ่ง Safety Guide on QA ในปัจจุบัน(1996)ได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่มีทั้งหมด 14 ข้อกำหนด (50-SG-Q1 - 50-SG-Q14)
หลายประเทศสมาชิกของ IAEA ได้ดำเนินการพิมพ์กฎ ข้อบังคับ
หรือมาตรฐานตนเองขึ้น โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมภายในประเทศ ประกอบหลักการจาก NRC 10 CFR 50 Appendix B และ IAEA 50-C-QC แต่บางประเทศพิมพ์ขึ้นเป็นกฎ
ข้อบังคับและมาตรฐานนานาชาติ
โดยอนุมานว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้มีระบบและมาตรฐานที่คล้ายคลึงกัน
เอกสารดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นข้อกำหนดคุณภาพ
การควบคุมและมักใช้บังคับในสัญญาของโครงการ
ส่วนขอบเขตและขนาดของงานแต่ละโครงการอาจจะแตกต่างกัน
ดังนั้นเอกสารคู่มือการประกันคุณภาพจึงต้องเหมาะกับแต่ละโครงการโดยเฉพาะ
หากเป็นไปได้ควรมีมาตรฐานหรือคู่มือที่เป็นแบบอย่างเพื่อมาใช้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพของโครงการ
และควรแก้ไขให้สอดคล้องข้อกำหนดของลูกค้า
กรณีประเทศที่ริเริ่มนำโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นครั้งแรก
จะต้องมีการพิจารณาอย่างเข้มงวด ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องมี เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับคุณภาพที่กำหนดไว้ของวัสดุอุปกรณ์และบริการ
ตลอดทุกขั้นตอนของการดำเนินการโครงการ
และที่สำคัญจะต้องเข้าใจขอบข่ายการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพทั้งหมด ได้แก่
งานวิศวกรรม การจัดหา และการก่อสร้าง กล่าวคือ งานทางวิศวกรรม
จะเริ่มต้นด้วยการจัดทำ Design
Input ให้เป็นไปตามกฎปฏิบัติทางวิศวกรรมจนออกเป็น
Design Output และส่งมอบงานในลำดับขั้นต่อไป
การจัดหาจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายซึ่งแยกออกเป็น 4 ขอบเขต คือ การควบคุมกิจกรรมการผลิต การควบคุมกิจกรรมการตรวจสอบ
การควบคุมรายการที่ไม่ตรงตามกำหนด และการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง
การสอบทวนการนำโปรแกรมมาใช้ให้เกิดผลและตรวจสอบประสิทธิผลของโปรแกรม
ส่วนการก่อสร้างจะเป็นงานที่ต่อจากงานทางวิศวกรรมและการจัดหา
ในขั้นนี้งานส่วนใหญ่จะมุ่งไปเรื่องการขนย้าย
การจัดการเกี่ยวกับเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องระหว่างตัวบุคคล
เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องมีความรอบคอบ
ดังนั้นการประกันคุณภาพทั้งสามขั้นตอนจึงต้องมีวิศวกร
นักวิทยาศาสตร์ที่ทรงคุณวุฒิและเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น
เพื่อจัดทำและใช้โปรแกรมการประกันคุณภาพอย่างมีประสิทธิผล เมื่อเฉลี่ยจำนวนบุคลากรกลุ่มแรกอยู่ประมาณ
30-50 คน ขณะที่กลุ่มหลังประมาณ 50-70 คน
กฎข้อบังคับประกันคุณภาพในงานก่อสร้าง
หรือเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ใช้พื้นฐานชุดข้อกำหนดความปลอดภัยที่ระบุไว้ในเกณฑ์ความปลอดภัย
มาตรฐาน ข้อปฏิบัติ พิมพ์เขียว และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรม
และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าต้องคำนึงถึงการออกแบบ
การก่อสร้าง การติดตั้ง และการทดสอบ อนึ่งในระหว่างดำเนินโครงการ
จะมีคณะผู้สอบทานทั้งภายในและภายนอก (Internal & External Audit) ดำเนินการตามแผนการสอบทานที่กำหนดไว้
ด้วยบทบาทงานประกันคุณภาพที่ผ่านมา
ได้รับการพิจารณาว่ามีความสำคัญทัดเทียมเท่ากับระบบบริหารงาน
มีการพัฒนาและส่งเสริมขึ้นเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเริ่มต้น
การดำเนินการให้บรรลุผล และช่วยปรับปรุงเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังเช่นสาขา
วิศวกรรมนิวเคลียร์ อิเล็คทรอนิคชั้นสูงและการวิจัยด้านอวกาศ เป็นต้น
และทั้งหมดมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยและความแน่นอนเป็นหลัก
สิ่งเหนือกว่าอีกประการคือผลของการประกันคุณภาพสามารถสร้างความมั่นใจว่าจะบรรลุถึงระดับคุณภาพที่ต้องการ
ด้วยการตรวจสอบให้ตรงกับความเป็นจริง โดยมีเอกสารระบุไว้อย่างถูกต้อง
|
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
หน่วยวัดรังสี[รังสีกับสิ่งแวดล้อม][ผลกระทบจากรังสีต่อร่างกาย] |
|
จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก |
|
|
[ฟิล์มวัดรังสี] |
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต |
2. สนามไฟฟ้า |
5. ศักย์ไฟฟ้า |
6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก
|
|
10. ทรานซิสเตอร์ |
|
12. แสงและการมองเห็น |
|
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ |
14. กลศาสตร์ควอนตัม |
16. นิวเคลียร์ |