พลังงานทดแทน
กองสารนิเทศ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กฟผ.
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานคืนรูปที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ มีปริมาณมากเพียงพอสนองความต้องการของมวลมนุษย์ ทั้งยังสะอาด ไม่ก่อปฏิกิริยาใดอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งได้มีการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับสำหรับการใช้งานในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องพัฒนาต่อไปจนกว่าจะคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์
เซลล์แสงอาทิตย์
เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตยเป็นพลังงานไฟฟ้า
ส่วนใหญ่ทำจากสารกึ่งตัวนำจำพวกซิลิคอน
เยอรมันเนียมหรือสารอื่นที่ให้ปรากฏการณ์การเกิดกระแสไฟฟ้าอันเนื่องมาจากแสง (Photovoltaic Effect) เมื่อเซลล์นี้ได้รับแสงอาทิตย์จะเกิดการไหลในวงจร
ในทางทฤษฎี เซลล์แสงอาทิตย์สามารถให้
ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 22 %
ปัจจุบันมีการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งานด้านต่างๆอย่างแพร่หลาย
ในต่างประเทศมีโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์หลายแห่ง เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป
และญี่ปุ่น ซึ่งมีการทดลองและใช้งานกันอย่างกว้างขวาง
การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ
คมนาคม ทางทะเล
ทางบก
ทางอากาศ |
ประภาคาร ทุ่นร่องน้ำ สัญญาณจราจร โคมไฟถนน โทรศัพท์ฉุกเฉิน ดวงไฟบอกถึงสิ่งกีดขวาง ดวงไฟนำร่องเครื่องบินขึ้นลง |
สื่อสาร |
สถานีวิทยุ เครื่องวัดพยากรณ์อากาศ กล้องตรวจความปลอดภัย |
อวกาศ |
ดาวเทียม |
กสิกรรม |
ปั๊มน้ำเพื่อการชลประทาน พัดลมห้องอุ่น พัดลม อบธัญพืช |
ปศุสัตว์ |
รั้วไฟฟ้ากันสัตว์หนี ปั๊มน้ำดื่มน้ำใช้ |
ประมง |
อุปกรณ์กระตุ้นการแพร่พันธุ์ ห้องเย็นเก็บปลา โคมไฟล่อปลา |
การแพทย์ |
ตู้เย็นเก็บยา โคมไฟในสถานีอนามัย |
บันเทิง |
โคมไฟแค้มป์ วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ โคมไฟบ้านพักตากอากาศ เครื่องบิน
เรือยนต์ และรถยนต์ของเล่น |
ระบบไฟฟ้า |
ใช้รวมกับไฟฟ้าตามอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงพยาบาล หมู่บ้านห่างไกล
โรงไฟฟ้าสาธิตต่อเข้าระบบ |
ภายนอกอาคาร |
โคมไฟที่ป้ายรถเมล์ ตู้โทรศัพท์ ป้ายประกาศ |
ภายในอาคาร |
เครื่องคิดเลขที่ใช้ในสำนักงาน |
การทดลองนำระบบเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งาน
กำลังผลิต (กิโลวัตต์) |
สถานที่ตั้ง |
การใช้งาน |
แหล่งพลังงานสำรอง |
7000 |
|
จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบใหญ่ |
- |
2000 |
Saijo
ญี่ปุ่น |
จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบใหญ่ |
- |
1200 |
SMUD
สหรัฐฯ |
จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบใหญ่ |
- |
1000 |
SCEC
สหรัฐฯ |
จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบใหญ่ |
- |
600 |
|
หมู่บ้านทดลอง |
- |
300 |
Pellworm
เยอรมัน |
สถานบันเทิง |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
100 |
|
โรงเรียน |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
100 |
|
โรงเรียน |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
100 |
|
จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในเกาะ |
- |
80 |
|
หมู่บ้าน |
เครื่องปั่นไฟดีเซล |
65 |
Tremiti Islands
อิตาลี |
โรงกลั่นน้ำจืด |
- |
63 |
Chevetogne
เบลเยียม |
สระว่ายน้ำ |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
60 |
California
สหรัฐฯ |
การสื่อสาร |
เครื่องปั่นไฟดีเซล |
50 |
Fota Island
ไอร์แลนด์ |
ฟาร์มโคนม |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
50 |
Nice
ฝรั่งเศส |
สนามบิน |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
50 |
Mont Bouquet
ฝรั่งเศส |
เครื่องส่งวิทยุและโทรทัศน์ |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
50 |
Aghia Rournali Crete
กรีซ |
หมู่บ้าน |
เครื่องปั่นไฟดีเซล |
50 |
Terschelling Island ฮอลแลนด์ |
โรงเรียน |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
45 |
Giglio Island
อิตาลี |
ห้องเย็นและห้องเก็บอากาศบริสุทธิ์ |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
44 |
Paomia Rondulinu
ฝรั่งเศส |
หมู่บ้าน |
เครื่องปั่นไฟดีเซล |
35 |
La Guyane
มหาสมุทรอินเดีย |
หมู่บ้าน |
เครื่องปั่นไฟดีเซล |
30 |
Marchwood
อังกฤษ |
จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบใหญ่ |
- |
30 |
Hoboken Antwepen เบลเยี่ยม |
โรงผลิตไฮโดรเจน |
ไฟฟ้าจากระบบใหญ่ |
ราคาของเซลล์แสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
ส่วนใหญ่ทำมาจากผลึกซิลิคอนซึ่งมีขบวนการ การผลิตที่ซับซ้อนมาก
จึงมีผลให้ต้นทุนค่อนข้างสูง แต่ด้วยเหตุที่เซลล์แสงอาทิตย์มีขนาดเล็กกระทัดรัด
ต่อกันเป็นแผง มีขนาดกำลังผลิตตั้งแต่ 10 วัตต์ขึ้นไปและสามารถนำมาประกอบให้ได้กำลังผลิตตามความต้องการ
จึงทำให้เซลล์แสงอาทิตย์มีความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้งานตามชนบทที่บริการของรัฐเข้าไปไม่ถึง
หรือตามถิ่นทุรกันดาร ซึ่งการเดินสายไฟฟ้าหรือขนส่งน้ำมันจะสิ้นค่าใช้จ่ายสูงมาก
เซลล์แสงอาทิตย์มีความเหมาะสม ทางเทคนิคดังกล่าว
และมีแนวโน้มว่าเหมาะสมในเชิงเศรษฐศาสตร์
จากการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2532 พบว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ปริมาณการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 160 % ขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง เหลือประมาณ
หนึ่งในสิบ สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของเซลล์แสงอาทิตย์คือ
หากผลิตในปริมาณมาก ราคาจะต่ำลง
และจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต ขณะนี้พบว่า
เทคโนโลยีการผลิตเซลล์ชนิด อะมอร์ฟัสซิลิคอน(ชนิดไม่มีรูปผลึก)
และการผลิตเซลล์เป็นชั้นๆ แบบต่อเนื่อง จะสามารถพัฒนาให้มีราคาถูกลงได้ในอนาคต
ปัจจุบันต้นทุนของเซลล์แสงอาทิตย์โดยทั่วไปนั้นประมาณ 100-150 บาทต่อวัตต์ คาดว่าราคาจะลดลงเหลือ 50 บาทต่อวัตต์ภายใน
ปี พ.ศ. 2548
และอาจลดลงได้มากกว่านั้นต่อๆไปจึงมีแนวโน้มว่าเซลล์แสงอาทิตย์จะผลิตไฟฟ้า
ในราคาที่สามารถแข่งขันกับโรงไฟฟ้าประเภทอื่นได้
เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย
ในประเทศไทย คณะทำงานเซลล์แสงอาทิตย์
ในคณะอนุกรรมการประสานงานการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีละสิ่งแวดล้อม
เป็นหน่วยประสานงานและส่งเสริมข้อมูลการใช้เซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าให้กว้างขวางขึ้น
สำหรับด้านอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศ
มีบริษัทนำเข้าเฉพาะแผ่นเซลล์ แล้วนำมาต่อขนานหรือ อนุกรมเข้าด้วยกัน
ประกอบขึ้นเป็นแผงออกแบบให้มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาด 80 วัตต์ และยังมีบริษัทนำเข้าเซลล์แสงอาทิตย์สำเร็จรูปมาจำหน่ายด้วย
การศึกษาและวิจัยพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์
มีการดำเนินงานในหลายหน่วยงาน เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี และวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย
ปัจจุบันในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานที่ได้ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นใช้งานในลักษณะต่างๆ
รวมแล้วประมาณ 2,138 กิโลวัตต์ ดังรายละเอียดในตารางด้านล่าง (ข้อมูลรวบรวมถึงปี 2541)
ลักษณะงาน/ผู้ใช้ |
กำลังผลิต (กิโลวัตต์) |
|||||||||||
ทม. |
กฟผ. |
กห. |
ศธ. |
อก. |
สธ. |
มท. |
พพ. |
กฟภ.. |
ทศท. |
พอสว. |
อื่นๆ |
|
ไฟฟ้าหมู่บ้าน |
10 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สื่อสาร |
|
8 |
|
|
|
|
|
|
|
312 |
|
30 |
สูบน้ำ |
3 |
|
150 |
|
|
|
347 |
|
|
|
|
|
สถานีเติมประจุแบตเตอรี |
2 |
|
|
|
|
|
688 |
222 |
|
|
|
|
ประถมศึกษาพื้นที่ห่างไกล |
|
|
|
65 |
|
|
|
|
|
|
|
|
สาธารณสุขพื้นที่ห่างไกล |
|
|
|
|
|
6 |
|
|
|
10 |
5 |
|
ไฟสัญญาณฯ |
8 |
10 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
10 |
ระบบผลิตไฟฟ้าร่วม/ต่อเข้า |
|
44 |
|
|
|
|
|
|
160 |
|
|
|
เบ็ดเตล็ด เช่น แสงสว่าง /ทีวี |
8 |
10 |
|
|
15 |
|
|
|
|
|
|
15 |
ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
15 |
รวมย่อย |
31 |
72 |
150 |
65 |
15 |
6 |
1,035 |
222 |
160 |
322 |
5 |
70 |
รวมทั้งสิ้น |
2,153 |
ทม |
= |
ทบวงมหาวิทยาลัย |
มท |
= |
กระทรวงมหาดไทย |
กฟผ |
= |
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
พพ |
= |
กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน |
กห |
= |
กระทรวงกลาโหม |
กฟภ |
= |
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค |
ศธ |
= |
กระทรวงศึกษาธิการ |
ทศท |
= |
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย |
อก |
= |
กระทรวงอุตสาหกรรม |
พอสว |
= |
มูลนิธิแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราฯ |
สธ |
= |
กระทรวงสาธารณสุข |
อื่นๆ |
= |
อื่นๆ(รวมโครงการอีสานเขียว) |
สำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)
ได้ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เพื่อใช้งานในกิจการของ กฟผ.
ปัจจุบันได้ติดตั้งใช้งานไปแล้วประมาณ 70 กิโลวัตต์ โดยได้จัดหา
เซลล์แสงอาทิตย์จากบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ทั้งในเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
มาทดลองผลิตไฟฟ้า สำหรับใช้กับวิทยุสื่อสาร สัญญาณไฟกระพริบ
ไฟแสงสว่างสำหรับที่พักเจ้าหน้าที่สำรวจ เครื่องบันทึกข้อมูล เครื่องวัดแผ่นดินไหว
เป็นต้น ต่อมา กฟผ.ได้ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับพลังงานชนิดอื่นๆ เช่น พลังน้ำ
พลังลม ผลิตพลังงานไฟฟ้าและส่งเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ)
งานสาธิตการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ในปี พ.ศ. 2535 กฟผ. ได้ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 180 แผง กำลังผลิต 16 กิโลวัตต์
ที่หมู่บ้านสหกรณ์ 2 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่ จำนวน 80 ลูก ซึ่งต่อเข้าด้วยกันให้มีขนาดความจุ 480 แอมแปร์-ชั่วโมง
จ่าไฟเข้าระบบสายส่งขนาด 22 กิโลวัตต์ 3 เฟส ของ กฟภ. โดยผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า
นอกจากนี้ กฟผ.
ได้สาธิตการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์โดยไม่ใช้แบตเตอรี่ในระบบของ
บ้านแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 44 แผง รวมกำลังผลิต 2.5 กิโลวัตต์ บนหลังคาบ้าน
เซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดจะผลิตไฟฟ้ากระแสตรงในช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า(Inverter) ให้เป็นกระแสสลับขนาด 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์
ผ่านระบบป้องกันแล้วจึงนำมาใช้ภายในบ้าน กระแสไฟฟ้าส่วนที่เกินจะส่งขายเข้าระบบของ
กฟภ. โดยผ่านมิเตอร์ซื้อไฟฟ้า
สำหรับการคิดค่าพลังงานไฟฟ้าจะคำนวณจากพลังงานฯที่ผ่านมิเตอร์ซื้อไฟฟ้าหักลบออกจากพลังงานฯที่ผ่านมิเตอร์ขายไฟฟ้า
ระบบนี้เหมาะสำหรับบ้านพักทั่วไปที่มีพื้นที่หลังคาบ้านตั้งแต่ 24 ตารางเมตรขึ้นไป
งานสาธิตการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังน้ำ
เมือ่ปี พ.ศ. 2529 กฟผ. ได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์
ในบริเวณโรงไฟฟ้าพลังน้ำคลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว บนพื้นที่ 550 ตารางเมตร
ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 480 แผง รวมกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป้นกระแสสลับโดยตรง
หรือจะเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่ จำนวน 360 ลูก ซึ่งต่อเข้าด้วยกันให้มีขนาดความจุ 410 แอมแปร์-ชั่วโมง
แรงดัน 240
โวลต์ ก่อนที่จะทำการแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแสสลับ ส่งเข้าเชื่อมโยงกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด
20
กิโลวัตต์ ซึ่งต่อเป็นระบบผลิตไฟฟ้าร่วม แล้วจึงส่งเข้าระบบสายส่งไฟฟ้าขนาด 22 กิโลวัตต์ 3 เฟส ของ กฟภ.
งานสาธิตการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังลม
งานศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับกังหันลมที่แหลมพรหมเทพ
จังหวัดภูเก็ต ได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จนถึง พ.ศ. 2533 กฟผ.
ได้เชื่อมระบบสาธิตการผลิตไฟฟ้าร่วมของกังหันลมขนาด 18.5 กิโลวัตต์ กับเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 5 กิโลวัตต์
เข้ากับระบบสายส่งขนาด 33 กิโลวัตต์ 3 เฟส ของ กฟภ. โดยผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า
กังหันลมดังกล่าวเป็นแบบต่อได้โดยตรงกับระบบสายส่ง
ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ต่อผ่านชุดแบตเตอรี่และเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2534
โดยติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นเป็น 180 แผง กำลังผลิตเป็น 8 กิโลวัตต์ และปรับปรุงกังหันลมขนาดเล็กอีก
3 ชุด
เพื่อร่วมผลิตไฟฟ้าเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่จำนวน 120 ลูกซึ่งต่อเข้าด้วยกัน มีขนาดความจุ 300 แอมแปร์-ชั่วโมง
แรงดัน 240
โวลต์ โดยที่กังหันลมมีกำลังผลิตรวม 22 กิโลวัตต์
ปลายปี พ.ศ. 2535 ได้ติดตั้งกังหันลมขนาด 10 กิโลวัตต์
เพิ่มเข้าไปในระบบอีก 2 ชุด ทำให้มีกำลังผลิตต่อเข้าระบบสายส่งรวมเป็น 50 กิโลวัตต์
และในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2539 กฟผ.ได้ติดตั้งกังหันลมขนาดกำลังผลิต 150 กิโลวัตต์
ทำให้มีกำลังผลิตต่อเข้าระบบสายส่งรวมทั้งหมด 200 กิโลวัตต์
พลังลม
ลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่สะอาดและไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก
มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานลมมานานแสนนานในการอำนวยความสะดวกสบายแก่ชีวิต
และการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมก็ยังคงดำเนินอยู่ตราบจนทุกวันนี้
งานศึกษาและทดลองใช้พลังงานลมผลิตไฟฟ้าได้รับการบรรจุเป็นแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนของ
กฟผ. ประมาณ 10 ปีมาแล้ว ในขั้นแรก กฟผ. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับพลังงานลมทั่วประเทศ
โดยได้รับความร่วมมือจากกรมอุตุนิยมวิทยา
พบว่าความเร็วลมในประเทศไทยโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คือต่ำกว่า 4 เมตร/วินาที
บริเวณที่มีความเร็วสูงสุดอยู่แถวชายฝั่งและเกาะต่างๆในอ่าวไทย และทางภาคใต้
สถานที่น่าสนใจในการทดลองใช้พลังงานลม คือ แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต
ซึ่งมีความเร็วเฉลี่ย 5 เมตร/วินาที
กฟผ.
ร่วมมือกับสถาบันเทคดนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยสนับสนุนทุนวิจัยออกแบบสร้างกังหันลมและนำไปติดตั้งทดลอง
ปรากฏผลว่ามีปัญหาเกี่ยวกับระบบส่งกำลังและความแข็งแรงของใบกังหัน และเมื่อ
กฟผ.ทดลองออกแบบสร้างกังหันแบบล้อจักรยาน
นำไปติดตั้งใช้งานที่ชายฝั่งทะเลบริเวณบ้านอ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ก็พบว่ามีปัญหาเรื่องระบบส่งกำลังเช่นกัน
ในปี พ.ศ. 2526 กฟผ.
ได้ร่วมมือกับหน่วยราชการจังหวัดภูเก็ต จัดตั้งสถานีทดลองใช้งานขึ้นในจังหวัด เพื่อรวบรวมข้อมูลนำไปวิเคราะห์ทางเทคนิคและเศรษฐศาสตร์
โดยนำกังหันลมผลิตไฟฟ้าซึ่งสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคามิตรภาพ
ติดตั้งในบริเวณแหลมพรหมเทพ จำนวน 4 ชุด ในขนาด 18.5, 2, 1
และ 0.83
กิโลวัตต์ พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์บันทึกข้อมูล Digital Logger และ Strip Chart Recorder
ไว้อย่างครบถ้วน
ไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นนำมาใช้ในบริเวณสถานีทดลอง
โดยใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่ติดตั้งไว้
ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่ากังหันลมที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในสถานีนี้ใช้งานได้ดีพอสมควร
แต่มีปัญหาเรื่องชิ้นส่วนบางชนิด เช่น ใบกังหันและตลับลูกปืนชำรุด
และยังมีปัญหาด้านการจัดซื้ออะไหล่จากต่างประเทศในบางกรณี
เมื่อการทดลองใช้พลังงานลมผลิตไฟฟ้าปรากฏผลเป็นที่พอใจ
ในปี พ.ศ. 2531 กฟผ. จึงกำหนดแผนงานเชื่อมโยงระบบกังหันลม
เพื่อผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจำหน่ายของ กฟภ. เพื่อการใช้งานจริง
และเพื่อศึกษาหาทางพัฒนาการใช้พลังงานลมกับระบบด้วย และด้วยความร่วมมือจาก กฟภ.
การจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 นับเป็นการนำไฟฟ้าจากพลังงานลมมาใช้งาน
โดยผ่านระบบจำหน่ายเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2535 กฟผ. ทำการติดตั้งกังหันลมเพิ่มขึ้นอีก 2 ชุด ขนาดกำลังผลิตชุดละ
10
กิโลวัตต์ เชื่อมโยงเข้าระบบฯ เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ในบริเวณแหลมพรหมเทพ กฟผ.
ได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจาดเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาดกำลังผลิต 5 กิโลวัตต์
เพื่อใช้งานร่วมกับกังหันลมและจะเชื่อมโยงเข้ากับ ระบบจำหน่ายของ กฟภ. ในเวลาต่อไป
พลังความร้อนใต้พิภพ
ความร้อนใต้พิภพเป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่เกิดและเก็บอยู่ใต้ผิวโลก
สังเกตตำแหน่งได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ภูเขาไฟระเบิด และการเกิดบ่อน้ำร้อนหรือน้ำพุร้อน
พลังความร้อนใต้พิภพเป็นหนึ่งในแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาผลิตกระแสไฟฟ้าได้
กฟผ.ร่วมกับคณะทำงาน ได้แก่
กรมทรัพยากรธรณี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เริ่มดำเนินการสำรวจศักยภาพของการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
บริเวณอำเภอสันกำแพง และ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2521
และได้รับความร่วมมือจากองค์กรเพื่อการจัดการด้านพลังงาน ประเทศฝรั่งเศส
ซึ่งให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ผลการสำรวจพบว่า
น้ำร้อนจากหลุมเจาะระดับตื้นในแหล่งฝาง
มีความเหมาะสมต่อการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบ 2 วงจรขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์
ในปี พ.ศ. 2532 กฟผ.ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบ 2 วงจร ขนาดกำลังผลิต
300
กิโลวัตต์ ที่อำเภอฝาง เป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรก
โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากกรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมการพลังงานทหาร
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะของโรงไฟฟ้า
เป็นโรงไฟฟ้าระบบ 2 วงจร ซึ่งโดยทั่วไปใช้กับแหล่งพลังงานความร้อนที่มีอุณหภูมิปานกลาง
หลักการทำงาน คือ นำน้ำร้อนไปถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงาน (Working Fluid) ที่มีจุดเดือดต่ำ จนกระทั่งเดือดเป็นไอ
แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันเพื่อขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ผลิตไฟฟ้าออกมา
โรงไฟฟ้าขนาดกำลังผลิต 300
กิโลวัตต์ที่ฝางนี้ ใช้น้ำร้อนจากหลุมเจาะระดับตื้น มีอุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส
ปริมาณการไหล 16.5 22ลิตร/วินาที
มาถ่ายเทความร้อนให้แก่สารทำงาน โดยใช้น้ำที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส ปริมาณการไหล 72-94 ลิตร/วินาที
เป็นตัวหล่อเย็น กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ประมาณปีละ 1.2 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ถูกส่งเข้าระบบของ
กฟภ. เพื่อจ่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไป
ผลพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้า
น้ำร้อนที่นำไปใช้ในโรงไฟฟ้า
เมื่อถ่ายเทความร้อนให้กับสารทำงานแล้วอุณหภมิจะลดลงเหลือ 77 องศาเซลเซียส สามารถนำไปใช้ในการอบแห้งและห้องเย็นสำหรับเก้บรักษาพืชผลทางการเกษตรได้
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถานีทดลองพืชสวน ฝาง กรมวิชาการเกษตร
ได้ทำการวิจัยการใช้ประโยชน์ในห้องอบ และห้องเย็น
โดยสร้างห้องอบและห้องเย็นขึ้นใช้งาน
กฟผ. ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบดูดละลาย
นำน้ำร้อนที่ออกจากโรงไฟฟ้ามาทำความเย็นสำหรับห้องเย็นเก็บรักษาพืชผลและห้องทำงาน
สำหรับน้ำที่เหลือใช้ ยังสามารถนำไปใช้ในกิจการกายภาพบำบัดและการท่องเที่ยว
ซึ่งเป็นโครงการที่กรมป่าไม้จะนำมาใช้ต่อไป
ท้ายที่สุด
น้ำทั้งหมดซึ่งมีสภาพเป็นน้ำอุ่น จะถูกปล่อยลงไปสู่ลำน้ำธรรมชาติ ซึ่งในแต่ละปี
น้ำที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าดังกล่าว มีปริมาณประมาณ 5 แสนลุกบาศก์เมตร
เป็นการเพิ่มปริมาณให้แก่เกษตรกรรมในฤดูร้อนได้อีกทางหนึ่ง
เซลล์เชื้อเพลิง
เซลล์เชื้อเพลิงเป็นเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
ที่อาศัยขบวนการทางไฟฟ้าเคมี ระหว่างไฮโดรเจนและอ๊อกซิเจน ซึ่งให้ไฟฟ้าและน้ำร้อน
ไฮโดรเจนได้มาจากต้นพลังงานหลายชนิด เช่น ก๊าซธรรมชาติ เมธานอล
และก๊าซที่ได้จากถ่านหิน ส่วนอ๊อกซิเจนนั้นได้มาจากอากาศ
เซลล์เชื้อเพลิงแบ่งตามชนิดของสารพาประจุไฟฟ้า
(Electrolyte) เป็น 4 ประเภท คือ
1.
เซลล์เชื้อเพลิง
แบบกรด ฟอสฟอริค(Phosphoric Acid Fuel Cell-PAFC) เป็นเซลล์เชื้อเพลิงที่อุณหภูมิ
ในการงานของเซลล์อยู่ในระดับต่ำประมาณ 200 องศาเซลเซียส
และเป็นรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ก้าวไกลกว่ารูปแบบอื่น
2. เซลล์เชื้อเพลิงแบบเกลือคาร์บอเนตหลอมเหลว (Molten Carbonate Fuel Cell- MCFC) สามารถใช้ต้นพลังงานทั้งจากถ่นหินและก๊าซธรรมชาติ โดยอุณหภูมิ ในการทำงานของเซลล์อยู่ระหว่าง 600-650 องศาเซลเซียส คาดว่าจะเป็นเซลล์เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพสูงถึงกว่าร้อยละ 50
3.
เซลล์เชื้อเพลิงแบบอ๊อกไซด์แข็ง
(Solid Oxide Fuel Cell-SOFC) มีลักษณะคล้าย MCFC แต่อุณหภูมิในการทำงานสูงกว่าคือ ประมาณ 1,000 องศาเซลเซียส
จะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการกัดกร่อน ความเสื่อมของแคโทดหรือของแผ่นสารพาประจุไฟฟ้า
เพราะใช้สารพาประจุไฟฟ้าชนิดของแข็ง คาดว่าอายุการใช้งานจะนานกว่าประเภทอื่น
4.
เซลล์เชื้อเพลิงแบบต่างๆ
(Alkaline Fuel Cell-AFC)
ใช้ปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นสารพาประจุไฟฟ้า
และใช้ไฮโดรเจนและอ๊อกซิเจนบริสุทธิ์เป็นต้นพลังงานข้อดีของเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้คือ
สามารถปฏิบัติการได้ภายใต้อุณหภูมิปกติระดับอุณหภูมิห้องมีราคาถูก
และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งพลังงานที่พกพาสะดวก
การผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์เชื้อเพลิง
ประเทศที่มีความก้าวหน้ามากในการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงในปัจจุบัน
คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
หลายบริษัทในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงแบบกรด ฟอสฟอริค
โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เพื่อที่จะให้สามารถใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้นี้
การทดสอบได้กระทำในขนาดกำลังผลิต 40 และ 200 กิโลวัตต์
โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ จากรัฐบาลและสถาบันทางการศึกษาหลายแห่ง
บริษัทไฟฟ้ารายใหญ่ทุกแห่งของญี่ปุ่นขระนี้
ล้วนเร่งการค้นคว้าพัฒนาและทดลองใช้งานโรงไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงอย่างจริงจัง จนนับว่าประสบผลสำเร็จน่าพอใจ
เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงที่วิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบครั้งแรกเริ่มขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. 2524
โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่าประเทศ(Ministry
of International Trade and Industry - MITI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน
(Moonlight Project) ปัจจุบัน MITI ได้ให้การสนับสนุนโครงการเซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริคไปแล้วประมาณ 20 โครงการ
ในจำนวนนี้มี 6
โครงการที่ผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมและพลังงานใหม่ (New Energy and Industrial Technology Development
Organization-NEDO)
โครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงที่ได้ติดตั้งทดสอบเสร็จสิ้นในญี่ปุ่นและได้ผลน่าพอใจ
คือการใช้เซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริคมาใช้ในลักษณะผลิตร่วม ขนาด 200 กิโลวัตต์ ณ
โรงแรมพลาซ่า ในเมืองโอซากา และขนาด 200 กิโลวัตต์ซึ่งใช้เมธานอลเป็นต้นพลังงาน ณ
เกาะโตกาชิกิโน ในโอกินาวา
สำหรับโรงไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริคที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คือขนาด 11,000 กิโลวัตต์ กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบ
การผลิตไฟฟ้ามีลักษณะผลิตร่วมโดยใช้ประโยชน์จากน้ำร้อนที่ได้มาจากการทำความเย็นในระบบดูดละลายของโรงไฟฟ้าโกอิ
ประเทศญี่ปุ่น โรงไฟฟ้านี้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นต้นพลังงาน
เริ่มเดินเครื่องเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2534
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงแบบเกลือคาร์บอเนต
หลอมเหลว เป็นลำดับถัดไป มีการวางแผนการพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าในอนาคต
โดยคาดว่าจะสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ ภายหลังจากที่เซลล์เชื้อเพลิงแบบกรด
ฟอสฟอริคประสบผลสำเร็จมาแล้วประมาณ 5 ปี
ส่วนการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงแบบอ๊อกไซด์แข็งนั้น
เนื่องจากอุณหภูมิที่เซลล์จะทำงานอยู่ในระดับสูงมากคือประมาณ 1,000
องศาเซลเซียส เป็นปัญหาที่ยังต้องแก้ไขและใช้เวลาเพื่อจะพัฒนาอีกระยะหนึ่ง
ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาเซลล์ขนาดเล้ก
เพื่อทดสอบในห้องปฏิบัติการเป็นส่วนใหญ่
การวิจัยและพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงในประเทศไทย
กฟผ.ได้ตกลงร่วมมือกับ NEDO ในโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นต้นพลังงาน
โดยติดตั้งเซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริค ขนาด 50 กิโลวัตต์ ที่บริเวณโรงไฟฟ้าบางปะกง
จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อทดลองและศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ในอนาคต
ใช้เวลาดำเนินการทดลอง 6 ปี
การทดสอบเริ่มตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2531
โดยมีการวิเคราะห์ก๊าซเป็นประจำทุกเดือน
และนำเครื่องทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยามาติดตั้งทดสอบเป็นเวลา 5 เดือน
ผลการทดสอบได้ถุกนำไปวิเคราะห์และใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 50 กิโลวัตต์
ซึ่งได้นำมาติดตั้งในบริเวณดังกล่าวในเดือน กรกฎาคม 2535
และเริ่มผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน
รายละเอียดโรงไฟฟ้าสาธิตเซลล์เชื้อเพลิง
กำลังผลิต 50 กิโลวัตต์
ต้นพลังงาน ก๊าซธรรมชาติ
ชนิดของเซลล์เชื้อเพลิง กรดฟอสฟอริค
ลักษณะเด่น เปลี่ยนไฮโดรเจนที่ได้จากก๊าซธรรมชาติเป็นไฟฟ้าโดยตรงโดยไม่มีการเผาไหม้
ประสิทธิภาพสูง
การทำงานเงียบและสะอาด
สรุป
กฟผ.ได้ศึกษาค้นคว้าและติดตามพัฒนาการด้านพลังงานทดแทนมาโดยตลอดและตั้งแต่ต้นปี
พ.ศ. 2539 กองพัฒนาพลังงานทดแทน
สำนักงานวิจัย และพัฒนา ได้ผลิตเครื่องทำน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์สำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย
ในขนาด 150
ลิตรต่อวัน สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกไม่เกิน 4 คน และขนาด 300 ลิตรต่อวัน
สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกมากว่า 4 คน โดยรับประกันคุณภาพของแผงรับแสงอาทิตย์เป็นเวลา
5
ปีนับเป็นพัฒนาการขั้นต้นในการนำพลังงานทดแทนมาให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
ในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งประชากรโลกส่วนใหญ่สนใจและห่วงใยผลกระทบต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมทุกด้านเช่นนี้
การค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับพลังงานทดแทน
เพื่อนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยไม่มีผลในการก่อมลภาวะ
เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับองค์การซึ่งมีหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ทั่วประเทศเช่น
กฟผ.เนื่องจากพลังงานหลักซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันเช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
หรือถ่านหิน เป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่นับวันจะหมดไป
หากการพัฒนาพลังงานซึ่งไม่มีวันหมด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมฯ มีความก้าวหน้าจนถึงขั้นผลิตกระอแสไฟฟ้าได้มากกว่าเท่าที่ต้องการแล้ว
ความกังวลเรื่องการขาดแคลนพลังงานในการผลิตไฟฟ้าในอนาคตก็จะหมดไป
|
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
หน่วยวัดรังสี[รังสีกับสิ่งแวดล้อม][ผลกระทบจากรังสีต่อร่างกาย] |
|
จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก |
|
|
[ฟิล์มวัดรังสี] |
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต |
2. สนามไฟฟ้า |
5. ศักย์ไฟฟ้า |
6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก
|
|
10. ทรานซิสเตอร์ |
|
12. แสงและการมองเห็น |
|
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ |
14. กลศาสตร์ควอนตัม |
16. นิวเคลียร์ |